การประชุมสุดยอดของสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ณ กรุงโคเปนเฮเกน ในเดือนธันวาคม ที่สำคัญยิ่ง ใกล้เข้ามาเต็มที
และในวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2552 นักกิจกรรม 13 คน
ได้หยุดการทำงานของรถเครน
ที่โรงงานเยื่อกระดาษและกระดาษที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
โดยนักกิจกรรม 4 คนสุดท้ายยึดรถเครน 1 คัน และอยู่ประจำที่เป็นเวลา 27
ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับเวลาที่การดำเนินการส่งออกของโรงงานถูกหยุดลง
นักกิจกรรม 13 คน สามารถยุติการทำงานของรถเครน 4 คัน
สำหรับส่งออกเยื่อกระดาษ
ของโรงงานเยื่อกระดาษและกระดาษที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ของบริษัท
APP ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของซีนาร์ มาส ในใจกลางป่าฝนอินโดนีเซีย
ซีนาร์ มาส เป็นผู้ขับเคลื่อนภาวะโลกร้อนเป็นอันดับต้นๆ
เพราะมีบทบาททำลายป่าในวงกว้าง การประชุมสุดยอดโลกร้อนกำลังใกล้เข้ามา
และนักกิจกรรม 13 คน จาก 11 สัญชาติ รวมถึงอินโดนีเซีย
และสหรัฐอเมริกา ได้ส่งข้อความอันชัดเจนไปยังผู้นำโลกว่า
พวกเขาต้องป้องกันหายนะโลกร้อน โดยเห็นชอบข้อตกลงที่เป็นธรรม
มีเป้าหมายสูง และมีผลบังคับตามกฎหมาย ณ การประชุมที่โคเปนเฮเกน
ข้อตกลงดังกล่าวต้องบรรจุกองทุนระดับโลกเพื่อหยุดการทำลายป่าในประเทศต่างๆ
เช่น อินโดนีเซีย เข้าไว้ด้วยรายงานสดจากฐานที่มั่นที่ Twitter:
/* begin styles for RSS Feed */ .rss-box-action { margin: 0em;
width: 580px; background-color: #D3FBCA; /* Change above line to
changer background color of the panel */ border: 0px solid #5F74CC;
} .rss-box-action .update_picl {display : none;} .rss-box-action
.rss-items { margin-top:0px; padding:0.25em; 0.25em;
margin-left:0px; color:#0099ff; } .rss-box-action p.rss-title {
padding:0.25em; } .rss-box-action .rss-title { text-decoration:
none; font-family: verdana, sans-serif; font-size: .9em;
background-color:#96DA83; /* change above for color of title box */
color:#003300; font-weight:bold; margin: 0px; padding:0em;
text-align: left; } .rss-box-action .rss-item { font-family:
verdana, arial, sans-serif; font-size: 0.9em; font-weight : normal;
list-style:none; padding-bottom:.25em; } .rss-box-action .rss-item
a { padding-left: 10px; background:
url(http://www.greenpeace.org/resources/gcms/assets/graphics/act-arrow.png)
no-repeat 0 3px; color: #1B6B2C; font-size: .9em; font-weight:
bold; text-decoration: none; } .rss-box-action .rss-item a:hover {
color: #F60; } .rss-box-action .rss-date { font-size: .9em;
font-weight : normal; color: #F60; } .rssheader { width: 580px;
background-color:#238c00; margin-bottom: 0px; color: #FFF;
font-family: verdana; font-size: x-small; }
ข่าวล่าสุดจากบล็อกค่ายผู้พิทักษ์สภาพภูมิอากาศ
การทำลายป่าฝนเขตร้อนและป่าพรุในประเทศอินโดนีเซีย
ทำให้ป่าพรุเหือดแห้งยิ่งขึ้น และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มากขึ้น
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกิดจากการทำลายป่าในอินโดนีเซียนี้
คิดเป็น 20% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ทั่วโลก
ช่วยกันส่งสาสน์ถึงประธานาธิบดียูโดโยโน แห่งอินโดนีเซีย
ให้ยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่า
ไม่ใช่ยับยั้งการรณรงค์ของกรีนพีซในการพิทักษ์สภาวะภูมิอากาศ
การทำลายป่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1 ใน 5
ส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทั่วโลก
ทำให้เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หากต้องการหลีกเลี่ยงหายนะสภาพภูมิอากาศในช่วงชีวิตของเรา
ผู้นำโลกต้องเห็นชอบต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในปริมาณสูงกว่า
นี้มาก ทั้งจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและการทำลายป่า ณ
การประชุมสุดยอดของสหประชาชาติ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในเดือนธันวาคมนี้ ณ กรุงโคเปนเฮเกน
เราเรียกร้องความสนใจของทั่วโลกไปที่อินโดนีเซีย
ในฐานะเป็นตัวอย่างอันสุดโต่งของการทำลายป่าอย่างไม่ลดละ
ความรวดเร็วและระดับของการทำลายป่าที่นั่นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทำไมจึง
เป็นเรื่องสำคัญมากที่นักการเมืองต้องลงมือปฏิบัติเพื่อปกป้องผืนป่าในเดือน
ธันวาคม ตัวเลขล่าสุดระบุว่า
อินโดนีเซียเป็นแห่งหนึ่งที่มีอัตราการทำลายป่ารวดเร็วที่สุด
ทำให้เป็นผู้ก่อมลพิษต่อสภาพภูมิอากาศอันดับที่ 3
(รองจากจีนและสหรัฐอเมริกา)
การปกป้องป่า เท่ากับเราปกป้องชุมชนที่พึ่งพาป่า
สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น อุรังอุตังและเสือ
และระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลกแห่งต่างๆ
นอกจากนี้เรายังปกป้องสภาพภูมิอากาศโลกที่ทุกชีวิตบนโลกจำเป็นต้องพึ่งพา
รวมถึงพวกเราด้วย
อ่านเรื่องราวล่าสุดจากค่ายที่บล็อกของเีรา
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา "ปกป้องป่า กู้วิกฤตโลกร้อน"
และสาเหตุที่เราอยู่ในอินโดนีเซีย