พิธีสารเกียวโต
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 การเจรจาที่แสนยาวนานและสับสนเป็นเวลา 10 ปี ก็ได้มาถึงจุดสูงสุด โดยพิธีสารเกียวโตได้ถูกประกาศใช้เป็นกฎหมาย ปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรม 35 ประเทศ รวมถึงสหภาพยุโรปมีพันธะผูกมัดตามกฎหมายในการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
พิธีสารเกียวโตคืออะไร
พิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอีกอย่างว่าเป็นสนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศของโลก คือ บันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับเดียวของโลกที่มีเป้าหมายผูกพัน คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นมันจึงเป็นเครื่องมือหลักที่รัฐบาลทั่วโลกต้องใช้เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน พูดให้เฉพาะเจาะจงก็คือ พิธีสารฉบับนี้บังคับให้ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงพอประมาณ คือ 5% โดยเทียบกับระดับในพ.ศ. 2533 ภายในพ.ศ. 2551-2555 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ แต่ละประเทศต้องมีพันธะต่อเป้าหมายของแต่ละประเทศ คือ สหภาพยุโรป (15 ประเทศ) ที่ 8% ญี่ปุ่น ที่ 6% ฯลฯ เป้าหมายของแต่ละประเทศกำหนดขึ้นจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีต
นอกจากเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศที่ผูกพันตามกฎหมายแล้วแล้ว พิธีสารเกียวโตยังครอบคลุมถึงกลไกการค้าอันหลากหลายอีกด้วย การที่ปัจจุบันพิธีสารเกียวโตเป็นกฎหมายแล้ว ทำให้ประเทศต่างๆ ที่กำลังเตรียมการปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ จะนำไปสู่ "ตลาด" คาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการค้าเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ภายในพ.ศ. 2550 และจะมีการดำเนินการ "กลไกยืดหยุ่น" ได้แก่ กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และการนำไปปฏิบัติร่วมกัน (JI)
"กลไกยืดหยุ่น" หรือ "มาตรการยืดหยุ่น" ซึ่งเป็นสาระสำคัญของพิธีสารฉบับนี้ หากถูกยกเลิก จะส่งผลให้ประเทศที่กำลังพัฒนาต่างๆ เต็มไปด้วยโครงการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษ และเป็นพลังงานที่ประเทศอื่นๆ เลิกใช้ไปแล้ว แต่ในทางตรงกันข้าม หากมาตรการยืดหยุ่นนี้ได้รับการปฎิบัติตามตามกฎเกณฑ์ ก็จะส่งผลให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนในประเทศที่พัฒนาแล้ว และหลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิธีสารเกียวโตได้รับความเห็นพ้องในพ.ศ. 2540 ถึงแม้ต้องเจรจาเกี่ยวกับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ ในภายหลังก็ตาม เพื่อให้มีผลบังคับใช้ (กลายเป็นกฎหมาย) พิธีสารเกียวโตกำหนดให้อย่างน้อย 55 ประเทศให้สัตยาบันในพิธีสารนี้ โดยประเทศเหล่านี้เป็นผู้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์อย่างน้อย 55% ได้แก่ ประเทศใน Annex B (ประเทศอุตสาหกรรม) จนถึงปัจจุบัน 129 ประเทศได้ให้สัตยาบันและยอมรับพิธีสารเกียวโต พิธีสารนี้ผ่านความเห็นชอบของหลายประเทศในพ.ศ. 2545 และในที่สุดได้ฝ่าฟันอุปสรรคโดยสหพันธรัฐรัสเซียได้ให้สัตยาบันในปลายพ.ศ. 2547
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีส่วนในการผลักดันพิธีสารเกียวโต โดยรณรงค์ให้รัฐบาลต่างๆ ในภูมิภาคเพิ่มความพยายามในการเชิญชวนให้รัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วรับรองพิธีสารนี้ภายในพ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบสิบปีของการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลก
ประเทศที่สำคัญที่ไม่ให้สัตยาบันในพิธีสารนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ที่ไม่แสดงท่าทีเห็นชอบ หรืออย่างน้อยก็ตราบเท่าที่รัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ บุชอยู่ในอำนาจ ทั้งๆ ที่สหรัฐเป็นผู้ก่อมลพิษก๊าซเรือนกระจกอันดับ 1 ของโลกก็ตาม ส่วนออสเตรเลีย โครเอเชีย และ โมนาโคยังต้องดำเนินการให้สัตยาบันให้เสร็จสิ้น
กลไกการพัฒนาที่สะอาด (มาตราที่ 12)
กลไกการพัฒนาที่สะอาดถูกออกแบบมาเพื่อสร้างเครดิตให้กับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ของประเทศใน Annex I ที่ให้เงินสนับสนุนโครงการของประเทศนอก Annex I ที่ให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ตัวอย่างเช่น แคนาดาที่กำลังให้เงินทุนสนับสนุนโครงการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในจีน และญี่ปุ่นที่ให้เงินสนับสนุนโครงการพลังงานหมุนเวียนในโมร็อคโค โครงการเหล่านี้ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของกลไกการพัฒนาที่สะอาด และนอกจากการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่วัดค่าได้เพื่อให้ขัดกับเกณฑ์พื้นฐานด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจ ประเทศ Annex I จะต้องมีส่วนสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีส่วนในพิธีสารนี้ด้วย
การนำไปใช้ปฏิบัติร่วมกัน (มาตราที่ 3)
การนำไปใช้ปฏิบัติร่วมกันช่วยให้ประเทศอุตสาหกรรมที่มีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถร่วมมือในการบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ตัวอย่างเช่น โครงการประสิทธิภาพทางพลังงานในรัสเซียที่เยอรมันให้เงินสนับสนุน หรือโครงการพลังงานหมุนเวียนในฮังการีที่นอร์เวย์ให้เงินสนับสนุน ซึ่งทำให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น ภายใต้เงื่อนไขบางประการสามารถให้เครดิตแก่ประเทศที่ให้เงินสนับสนุนโครงการลักษณะนี้ โดยหลักทฤษฎี นี่เป็นวิธีที่ประหยัดสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของประเทศอุตสาหกรรม
ข้อมูลเพิ่มเติม
'การดูดซับ' คาร์บอนและหลุมพรางอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
พิธีสารเกียวโตจะ "กู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ" ได้หรือไม่
พิธีสารเกียวโตเป็นก้าวแรกที่สำคัญดังเจตนารมณ์ในตอนแรก เป็นที่ยอมรับกันมาโดยตลอดว่าพิธีสารเกียวโตเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ โดยหากต้องการหลีกหนีจากภาวะโลกร้อนที่อันตราย ทั่วโลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 30% จากประเทศอุตสาหกรรม ภายในพ.ศ. 2563 และลดลง 70-80% ภายในกลางทศวรรษนี้ หากลดน้อยลงกว่านี้จะทำให้ลูกหลานของเราต้องอยู่ในโลกที่ไม่น่ารื่นรมย์และไม่มั่นคงอย่างมาก
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อว่าถึงแม้สนธิสัญญาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศฉบับนี้จะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการหยุดยั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สมบูรณ์แบบ (พิธีตราสารฉบับนี้มีเป้าหมายที่จะให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง เพียง 5% แม้ว่าในการรักษาสมดุลของระบบภูมิอากาศโลก ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึง 60-70% ก็ตาม) แต่สนธิสัญญาฉบับนี้ก็เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพที่สุดในขณะนี้ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในโลกเศรษฐกิจ
การตัดสินใจของรัฐบาล อุตสาหกรรม และ สังคมมนุษย์ในศตวรรษหน้าหรือ 2 ศตวรรษหน้าจะเป็นสิ่งชี้ขาด คุณมีส่วนในการตัดสินใจเหล่านั้นและพวกเราต้องการความช่วยเหลือจากคุณ ดูหน้า ลงมือทำ ของเราว่าคุณสามารถช่วยได้อย่างไร
ข้อมูลเพิ่มเติม
หลุมพรางของพิธีสารเกียวโต
การเจรจาระหว่างประเทศ - แถลงการณ์จุดยืนของกรีนพีซและรายงานที่ไม่ผ่านการแก้ไขจากการประชุมนานาชาติต่างๆ
เนื้อหาของพิธีสารเกียวโต
พิธีสารเกียวโตกลายเป็นกฎหมาย - กรีนพีซสังเกตการณ์การพิจารณาครั้งนี้และเรียกร้องการลงมือทำทั่วโลก