รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติพลังงานในประเทศไทย

หน้า - กรกฎาคม 31, 2552
ในเดือนมิถุนายน 2551 ช่วงที่เราเริ่มรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทย "หยุดถ่านหิน" และก้าวสู่การปฏิวัติพลังงาน เพื่อสร้างอนาคตของประเทศไทยให้อยู่บนพื้นฐานของแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนนั้น เป็นช่วงที่ เราไม่อาจคาดการณ์อะไรได้เลยต่อทิศทางการเมือง ซึ่งทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานผู้โดดเด่นสองท่านคือ พลโทหญิงพูลภิรมย์ ลิมปตพัลลภ และนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ที่ขึ้นดำรงตำแหน่ง และก็ต้องออกไปตามวิถีทางการเมืองในท้ายที่สุด

คุณมาโนชย์ หนึ่งในผู้ผลิตกังหันลมในประเทศไทย

พลังงานลมเป็นพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติที่สะอาดบริสุทธิ์ พื้นที่​ใกล้​ทะ​เลบางแห่งเหมาะเป็นฐานผลิตพลังงานลม อย่างไรก็ตาม​​ยัง​ขาดการสนับสนุนด้านการลงทุน​และ​พัฒนาศักยภาพของเทคโนโลยี​นี้ใน​ประ​เทศ​ ​ทำ​ให้​มีต้นทุนสูง​และ​มีราคา​แพง

แต่ที่เราคาดการณ์ได้นั้นคือเสียงแห่งพลังของคนไทยจำนวนนับร้อยนับพันคนผู้ร่วมลงชื่อเรียกร้องผ่านทางอินเตอร์เน็ตบเรา ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้รัฐบาลไทยยกร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ขึ้น แม้ว่าจะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองก็ตาม

สิ่งที่ทำให้เราประหลาดใจคือข้อมูลที่ได้รับการยืนยันว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ผลักดันแผนการที่มีเป้าหมายอันสูงส่งเพื่อขยายการลงทุน และการวิจัยและพัฒนา ในด้านพลังงานลม ชีวมวล แสงอาทิตย์ และ ภาคพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอื่นๆ แผนการดังกล่าวยังได้รวมเอานโยบายการรับประกันราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน(Feed-in Tariffs) เพื่อทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากภาคเอกชน และยังได้เน้นหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานและประสิทธิภาพทางพลังงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานที่กำลังจะออกจากตำแหน่งไปได้ตั้งเป้าหมาย เพื่อผลักดันให้เป็นไปตามแผนโดย "เร่งรัดแผนแม่บทพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี หรือ REDP ซึ่งมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นในวงกว้างก่อนการนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาประกาศใช้ต่อไป" และ "เร่งรัดการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานในระยะที่ 3 (2548-2554) ที่ได้ปรับเป้าหมายการประหยัดพลังงานจาก 10.8% เป็น 20% โดยเน้นการส่งเสริมการประหยัด จากภาคอุตสาหกรรมและขนส่งเป็นหลัก

นี่เป็นนโยบายที่ถูกต้อง และด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างระมัดระวังก็จะสามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงทางพลังงานของประเทศโดยการลดการนำเข้าพลังงาน และส่งเสริมทรัพยากรพลังงานในประเทศ รวมถึงราคาพลังงานที่สามารถแข่งขันได้เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีคุณูปการต่อการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก

11 กรกฎาคม 2551 - เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ ของกรีนพีซทอดสมอบริเวณที่ตั้งกังหันลม ที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ อยู่ระหว่างการรณรงค์ "หยุดถ่านหิน ก้าวสู่การปฏิวัติพลังงาน" ในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหยุดการขยายโรงไฟฟ้าถ่านหิน และผลักดันพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ซึ่งเป็นทางออกที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจำต้องมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพลังงานทางเลือกในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินตาม 4 ประเด็นหลักของการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย คือ 1) การเร่งรัดแผนแม่บทพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (REDP) 2) เสนอมาตรการที่เป็นแรงจูงใจที่มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการลงทุนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ที่มีศักยภาพ 3) ส่งเสริมพลังงานทางเลือกในระดับชุมชน และ 4) เน้นการสร้าง วินัยในการประหยัดพลังงานให้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะทศวรรษแล้วทศวรรษเล่าของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้น ผลักดันให้พลังงานหมุนเวียนกลายเป็นกระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็นกังหันลม แผงเซลล์สุริยะ โรงไฟฟ้าชีวมวล และ แผงรับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งทำให้ตลาดของพลังงานหมุนเวียนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ โดยในพ.ศ. 2550 การลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกมีมูลค่าเกินกว่าแสนล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อพิจารณาถึงความก้าวหน้าของโครงการพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์ (ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดเล็กมาก - SPPs/VSPPs) เป้าหมายการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า ณ ปัจจุบันที่ 2,061 เมกะวัตต์ ให้เป็น 3,276 เมกะวัตต์ ในพ.ศ. 2554 หรือเพิ่มขึ้นอีก 1,215 เมกะวัตต์ นั้น มีแนวโน้มที่จะขยายเพิ่มขึ้นได้มากกว่านั้น

  • วิสัยทัศน์ของแผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซดังต่อไปนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย และรับประกันความมั่นคงทางพลังงาน
  • ยกเลิกการอุดหนุนทางทางเงินแก่อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและนิวเคลียร์ และนำเอาต้นทุนผลกระทบภายนอกรวมเข้าไปด้วย
  • ตั้งเป้าหมายให้มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย
  • ส่งเสริมให้มีผลตอบแทนที่ชัดเจนและมีเสถียรภาพแก่นักลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน
  • รับประกันว่าจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการเข้าถึงระบบสายส่งของผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
  • ขยายมาตรฐานด้านประสิทธิภาพสำหรับอุปกรณ์ อาคาร และยานยนต์ ที่ใช้พลังงานสิ้นเปลืองทุกชนิด

รายงานการปฏิวัติพลังงาน - การคาดการณ์พลังงานที่ยั่งยืนทั่วโลก ที่ใช้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ประสิทธิภาพ โครงสร้าง และ การขนส่ง

รายงานการปฏิวัติพลังงานเป็นการคาดการณ์พลังงานที่ยั่งยืนทั่วโลก ที่ใช้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ประสิทธิภาพ โครงสร้าง และ การขนส่ง อ่านเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดรายงานด้านล่าง

ดาวน์โหลดแผนการปฏิวัติพลังงาน

บทสรุป (16 หน้า) | รายงานฉบับเต็ม (212 หน้า) |

บทสรุป (ภาษาไทย 4 หน้า)

ข้อมูลที่น่าสนใจ

ภาพไสลด์ทัวร์ "หยุดถ่านหิน"

ภาพสไลด์ "วันรณรงค์ทั่วโลกเพื่อยุติภาวะโลกร้อน 2551"

รายงานต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน True Cost of Coal report"

บทสรุปรายงานต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน

รายงาน "กระจายศูนย์การผลิตไฟฟ้าไทย สู่ระบบพลังงานยั่งยืน"

วีดิโอ "เจ้านิ้วถ่านหิน" (Coalfinger)

เกมปฏิวัติพลังงาน