ซัมซุงออกแผนรีไซเคิลกาแลคซี่ โน้ต 7 แล้วหลังจากที่กรีนพีซรณรงค์ทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ - มีนาคม 27, 2560
กรุงโซล, 27 มีนาคม 2560 – ซัมซุงประกาศแผนงานอย่างเป็นทางการ เพื่อรับมือกับกาแลคซี่ โน้ต 7 จำนวน 4.3 ล้านเครื่อง ที่บริษัทฯ ผลิตขึ้นและเรียกคืนทั่วโลกหลังจากมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ความสำเร็จในการรณรงค์นี้เกิดขึ้นเกือบ 5 เดือน หลังจากทั่วโลกออกมารณรงค์เรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการเรียกคืนสินค้า

“ผู้คนทั่วโลกต่างร่วมกันลงชื่อร้องเรียน ส่งอีเมลถึงผู้บริหารของซัมซุง เดินขบวนตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก และในที่สุดซัมซุงก็รับฟังเสียงเรียกร้องนั้น นี่คือประโยชน์แก่ทุกคนที่ออกมาเรียกร้อง และนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราผลิตและกำจัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์”  จูด ลี ผู้ประสานงานรณรงค์อาวุโส กรีนพีซเอเชียตะวันออก กล่าว 

แผนการที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอันมุ่งมั่นของซัมซุงนี้ ถูกประกาศออกมาก่อนการเปิดตัว กาแลคซี่ S8 ในวันที่ 29 มีนาคม ณ กรุงนิวยอร์ก ซึ่งถือว่า กาแลคซี่ S8 เป็นโทรศัพท์ซัมซุงรุ่นแรกที่จะถูกปล่อยออกมาหลังจากกรณีโน้ต 7 โดย กาแลคซี่ S8 จะเป็นบททดสอบแรก ว่าบริษัทฯ จะนำความตั้งใจของตนมาปรับใช้กับโทรศัพท์รุ่นต่อๆ มาอย่างไร ทั้งนี้ เว็บไซต์ของบริษัทฯ ปรากฏข้อความสาธารณะแสดงข้อตั้งใจของซัมซุง กล่าวคือ

  • จะวางจำหน่ายหรือให้เช่าโทรศัพท์เครื่องที่ถูกเรียกคืนมา โดยจะซ่อมแซมพร้อมตกแต่งใหม่ให้เรียบร้อยก่อน
  • จะถอดชิ้นส่วนที่กู้ได้ เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำและโมดูลกล้อง เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำไปวางจำหน่าย และ
  • จะถอดชิ้นส่วนโลหะจากเครื่องด้วย “วิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

บริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่างซัมซุงได้ออกมากล่าวว่า บริษัทฯ จะเข้าร่วมการวิจัยใหม่ ซึ่งสหภาพยุโรปดำเนินการอยู่ โดยมีเป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับสมาร์ทโฟนรีไซเคิล

รายงานของกรีนพีซ สหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับผลกระทบของการผลิตสมาร์ทโฟนตั้งแต่ปี 2550 ตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ระบุว่าการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสมาร์ทโฟน นับว่าใช้พลังงานและทรัพยากรจำนวนมหาศาล และรายงานขององค์การสหประชาชาติ ปี 2557 เสนอว่า ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากผลิตภัณฑ์ไอทีขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ ถูกคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณมากขึ้นทั่วโลกถึง 50 ล้านเมตริกตันหรือจะมากกว่าทุกปี ในปี 2560 รายงานนี้ชี้ให้เห็นถึงของเสียมหาศาลจากทรัพยากร และแหล่งที่มาของมลพิษจากสารเคมีอันตราย

“ในขณะที่เราได้ทราบข่าวนี้ ซัมซุงต้องรีบเผยแพร่ตารางการดำเนินงานที่มีข้อมูลละเอียดมากกว่านี้ ที่บริษัทฯ จะทำเพื่อรักษาคำมั่นสัญญา รวมทั้งความตั้งใจของบริษัทฯ ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตเพื่อให้มั่นใจว่าปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นอีก ” ลี กล่าว 

“โดยเฉลี่ยแล้ว สมาร์ทโฟนในสหรัฐอเมริกา 1 เครื่อง จะถูกใช้งานเป็นเวลาประมาณ 2 ปี และจะถูกทิ้งบนกองขยะ

อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่นับวันขนาดของกองขยะนี้ก็ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืนเท่าที่ควร ซัมซุงและบริษัทไอทีอื่นๆ อย่าง แอปเปิลควรหันมาผลิตโทรศัพท์ที่ง่ายต่อการซ่อมแซม ตกแต่งใหม่ และอัพเกรดลี กล่าว

นักรณรงค์กรีนพีซ สเปน เดินหน้าเข้างานแถลงข่าวของซัมซุงในงาน Mobile World Congress จัดขึ้นที่เมืองบาร์เซโลนา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้บริษัทฯ หาวิธีใหม่ๆ ในการนำโทรศัพท์กลับมาใช้และรีไซเคิล รวมทั้งคิดค้นวิธีใหม่ๆ ในการผลิตโทรศัพท์  

ในเดือนหน้านี้ กรีนพีซเอเชียตะวันออกจะเดินหน้ากดดันกลุ่มเทคโนโลยี เพื่อให้คิดทบทวนถึงผลกระทบต่อโลกอีกครั้ง กาแลคซี่ S8 และโทรศัพท์ขายดีรุ่นต่างๆ จากบริษัทไอที 14 แห่ง จะได้รับคะแนนความนิยม เมื่อนำเสนอลูกค้าเกี่ยวกับโทรศัพท์ที่สามารถซ่อมแซมได้

หมายเหตุ

ภาพถ่ายและวิดีโอสามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่

[1] บทแถลงข่าวของซัมซุง ที่นี่

[2] ตามข้อมูลคำนวณของสถาบัน Oeko-Institut สถาบันวิจัยให้คำปรึกษาและทำวิจัยในประเทศเยอรมนี ระบุว่าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั้งหมด 4.3 ล้านเครื่อง ประกอบไปด้วย ธาตุโคบอลต์กว่า 20 เมตริกตัน ทังสเตนประมาณกว่า 1 ตัน โลหะเงิน 1 ตัน ทองคำ 100 กิโลกรัม และแพลเลเดียมระหว่าง 20 ถึง 60 กิโลกรัม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการและการคำนวณของสถาบัน Oeko-Institut สามารถค้นหาได้ ที่นี่

[3] บทความของกรีนพีซ สหรัฐอเมริกา From Smart to Senseless: The Global Impact of Ten Years of Smartphones สามารถค้นหาได้ ที่นี่

[4] มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nations University), 2558, The Global E-waste Monitor – 2014


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่

  

หมวด
ไม่มีความคิดเห็นพบ เพิ่มความคิดเห็น

โพสต์ความคิดเห็น 

เพื่อแสดงความคิดเห็นคุณต้องลงชื่อเข้า