19 มีนาคม 2562, มะนิลา ฟิลิปปินส์ – วาฬอายุน้อยถูกพบเกยตื้นบริเวณชายหาดในเขตหุบเขาคอมโพสเตลา (Compostela Valley) ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา ผลการชันสูตรพบว่า สาเหตุการเสียชีวิตคือ “ความอดอยากและภาวะขาดน้ำ” (starvation and dehydration) ผลการชันสูตรยังพบต่อว่า วาฬตัวนี้ได้กินพลาสติกเข้าไปถึง 40 กิโลกรัม ซึ่งถือเป็นกรณีการพบพลาสติกในกระเพาะอาหารสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มากที่สุดเท่าที่เคยพบมา

อาบิเกล อากีล่าร์ ผู้ประสานงานรณรงค์กรีนพีซ ฟิลิปปินส์ กล่าวว่า “การที่เราพบสัตว์ทะเลเสียชีวิตเพราะกินพลาสติกเข้าไปถี่ขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นสัญญาณอันตราย ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราพบวาฬ โลมา และเต่าตายในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สิ่งเหล่านี้บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่า มลพิษพลาสติกร้ายแรงแค่ไหนต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสัตว์จำนวนมากที่อาศัยในทะเล เพียงแค่ไตรมาสแรกของปีนี้ มีการพบวาฬ 3 ตัว และโลมา 1 ตัว ที่อ่าวดาเวา(Davao Gulf) เสียชีวิตเพราะการกินพลาสติกเข้าไปด้วย”

สัปดาห์ที่ผ่านมา ฉันไปถ่ายสารคดีเกี่ยวกับมลพิษพลาสติกที่เกาะเวอร์เด้ (Verde Isaland) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เราพบปูติดอยู่ในแก้วพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง มันไม่สามารถจินตนาการได้เลยว่า ในปัจจุบัน มีสัตว์มากมายเพียงใดที่เข้าใจผิดและกินพลาสติกเป็นอาหาร และเราจะพบพวกมันเสียชีวิตบนชายหาดอีกมากเท่าไร พลาสติกเพียงชิ้นเดียวที่พบในกระเพาะของวาฬและโลมาก็เป็นพลาสติกเพียงชิ้นเดียวที่มากเกินพอแล้ว จะต้องมีวาฬ โลมา หรือเต่าทะเลเสียชีวิตอีกมากแค่ไหนกัน พวกเราถึงจะลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหามลพิษพลาสติก?

พวกเราไม่อยากจะเน้นย้ำเลยว่ามีความเร่งด่วนเพียงใดในการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกจากบริษัทที่ควรลดการผลิตพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งลง และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์กับระบบเพื่อลดขยะพลาสติกเลย ในส่วนของรัฐบาลควรยกเลิกการแบนผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และพวกเราทุกคนต้องหันมาตระหนักถึงการใช้ชีวิตแบบทิ้งขว้าง ร่วมกดดันรัฐบาลและอุตสาหกรรมให้เดินหน้าอย่างเด็ดเดี่ยวในการจัดการกับวิกฤตมลพิษพลาสติก เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เพียงแค่สัญญาณเตือนภัย แต่ควรเป็นการเรียกร้องให้ต้องรีบต่อกรกับปัญหาอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และมีการปฏิบัติในวงกว้าง  จากการผลิตสู่การบริโภค สู่การกำจัด พวกเราต้องลุกขึ้นมาจัดการปัญหาด้วยกัน

 

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
– Angelica Carballo Pago, Greenpeace SEA Philippines Media Campaigner: +63 949 889 1332, [email protected]
– Capucine Dayen, Greenpeace USA Global Comms Lead for Plastics: +33 647 971 819, [email protected]
– Greenpeace International Press Desk: +31 (0)20 718 2470 (available 24 hours), [email protected]