ต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน

ปัจจุบัน ถ่านหินเกือบร้อยละ 40 ถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก การเผาไหม้ถ่านหินเป็นหนึ่งในตัวการหลักของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจฟื้นคืนได้ และยังเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์และสังคมต่างๆทั่วโลก นี่คือต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นหมายถึงการใช้ถ่านหินที่สูงขึ้นตาม ในระหว่างปี พ.ศ. 2542-2549 การใช้ถ่านหินทั่วโลกเติบโตขึ้นร้อยละ 30 เป็นการเพิ่มขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้

ถ้าเรายังไม่ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหินก็จะเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในกาผลิตไฟฟ้าที่มีมลพิษมากที่สุด และเป็นแหล่งกำเนิดคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าแหล่งพลังงานอื่นๆในโลก ข้อมูลจาก U.S. Energy Information Administrationระบุว่า ในปี พ.ศ.2554 โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณ หนึ่งหมื่นสี่พันสี่ร้อยล้านตัน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดต่อผู้คนและเศรษฐกิจที่โลกที่ไม่เคยได้ประสบมาก่อน ประชาชนหลายล้านคนได้รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและมีผู้เสียชีวิตประมาณ 150,000 คนต่อปีจากผลกระทบนี้

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลเป็นวงกว้างทั่วโลก รวมถึงภัยแล้ง อุทกภัยและการย้ายถิ่นที่อยู่ของประชากรจำนวนมากเนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เราต้องจำกัดให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม) ตามที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC ระบุไว้ในรายงานฉบับพิเศษ Global Warming of 1.5 C

มลพิษจากการเผาไหม้ถ่านหิน

โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งกำนิดมลพิษทางอากาศ

ทำไมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหินจึงสำคัญ ?

ถ่านหินอาจจะเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ถูกที่สุดในตลาด แต่ราคาตลาดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเรื่องราวทั้งหมด ราคาซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เริ่มจากต้นทุนการทำเหมืองและต้นทุนการขายปลีก ไปจนถึงภาษีที่รัฐเรียกเก็บ และรวมถึงกำไร แต่ไม่ได้คำนึงถึงภาษีและต้นทุนที่สูงที่สุดของถ่านหิน นั่นคือ ความเสียหายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากถ่านหิน

Victim Affected by Air Pollution in China. © Lu Guang / Greenpeace
ชาวประมง ลิ่วเหิง จากชุมชนในเมือง Liguo เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงปู ปลา ในแม่น้ำ เวยฉาน และส่งขาย อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ.2557 เกิดภาวะน้ำเสียและมีปลาตายราว 5,000 กิโลกรัม เช่นเดียวกับในปี พ.ศ.2558 ก็มีปูในกระชังที่เลี้ยงไว้ตายไปกว่า 200 กิโลกรัม เนื่องจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าถ่านหินลงสู่แม่น้ำสายนี้โดยตรง © Lu Guang / Greenpeace

ผลกระทบนี้ไม่ได้เริ่มต้นและจบลงเพียงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เป็นกระบวนการทั้งหมดเริ่มจากการทำเหมืองไปจนถึงกระบวนการเผาไหม้เพื่อกำจัดของเสียที่เป็นผลกระทบที่ร้ายแรงอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของคน โครงสร้างสังคมที่อยู่ใกล้กับเหมือง โรงไฟฟ้าหรือบริเวณหลุมฝังกลบของเสีย ทำให้แหล่งน้ำถูกเจือปนไปด้วยสารพิษ อีกทั้งยังปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ มีเทน คาร์บอนดำ (Black Carbon) และสารเคมีเป็นพิษ เช่น ปรอท และสารหนู การรั่วไหลของสารเคมีเหล่านี้จะทำลายประชากรสัตว์น้ำ การเกษตร รวมถึงวิถีการดำรงชีวิต อีกทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพ เช่น โรคฝุ่นจับปอด (Black lung disease)

ผลกระทบร้ายแรงเหล่านี้ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในต้นทุนของถ่านหิน ซึ่งถือเป็น “ต้นทุนภายนอก” ซึ่งมีสังคมเป็นผู้รับภาระอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และบ่อยครั้งโดยกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนที่สุด เช่น ประชาชนหลายพันคนในเมืองจาร์เรีย ประเทศอินเดีย ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆพื้นที่สกัดถ่านหิน ต้องทนอยู่กับสภาพความเป็นอยู่ที่น่ากลัวอันเนื่องมาจากไฟถ่านหินที่ไม่สามารถควบคุมได้ การทำเหมืองในรัฐคูยาเวีย ปอมเมอร์ราเนียร์ (Kuyavia Pomeraniar) ในประเทศโปแลนด์ ส่งผลทำให้ระดับน้ำในทะเลสาบออสโทรวสกี้ (Ostrowskie) ลดลงอย่างรวดเร็ว และยังมีตัวอย่างความเสียหายอื่นๆอีกไม่รู้จบ

ต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหินเป็นสิ่งย้ำเตือนถึงความจำเป็นที่จะต้องลงมือทำเพื่อยุติถ่านหิน

Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน