เนื้อหาโดยสรุป

  • งานกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ (พ.ศ.2563) เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งเนื่องจากยังคงมีวิกฤตนิวเคลียร์และการแผ่กระจายของรังสีในพื้นที่จังหวัดฟูกูชิมะ
  • สุขภาพของนักกีฬา และประชาชนผู้เข้าร่วมงานกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์นั้นสามารถรับประกันความปลอดภัยได้จริงหรือ?

ในปีนี้ (พ.ศ.2563) นี้ ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ เรื่องนี้เป็นที่น่าตื่นเต้นสำหรับงานกีฬาที่จะเกิดขึ้นรวมถึงผู้คนในประเทศญี่ปุ่นด้วย อย่างไรก็ตามท่ามกลางความตื่นเต้นที่เกิดขึ้นนั้นยังมีวิกฤตนิวเคลียร์ที่กำลังเกิดขึ้นในจังหวัดฟูกูชิมะ 

ทีมงานสำรวจกัมมันตรังสี กรีนพีซ ญี่ปุ่น กำลังเก็บตัวอย่างดินในจังหวัดฟูกูชิมะ ©︎ Shaun Burnie/Greenpeace

ในปี พ.ศ.2559  นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นประกาศว่าสถานการณ์ที่ฟูกูชิมะไดอิชินั้นอยู่ภายในการควบคุม เจ็ดปีต่อมายังคงมีเหตุฉุกเฉินที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และพื้นที่โดยรอบ นอกเหนือจากความท้าทายที่จะต้องจัดการน้ำที่ปนเปื้อนมากกว่า 1 ล้านตันในบริเวณดังกล่าวและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ถึง 880 ตัน ซึ่งยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้และส่งผลกระทบต่อพนักงานและประชาชนในจังหวัดฟูกูชิมะ

ประเด็นเหล่านี้กลายเป็นสาระสำคัญของสารคดีซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่  28 มกราคม2562 ผ่านช่อง HBO ซึ่งเป็นรายการสารคดีสืบสวนสอบสวน ‘Real Sports with Bryant Gumbel’ และเป็นซีรี่ส์วารสารศาสตร์กีฬาที่ได้รับเกียรติมากที่สุดของสหรัฐฯ

การที่ญี่ปุ่นยอมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในขณะปัญหาภัยพิบิตินิวเคลียร์ที่ยังไม่สามารถสะสางได้นั้นหมายความว่าอะไร? และเรื่องนี้บอกอะไรบ้างเกี่ยวกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้คำมั่นที่จะเคารพคุณค่าในด้านความโปร่งใส รวมถึงสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศ? คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ถูกถามในรายการก่อนที่งานโอลิมปิกจะจัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนที่จะมาถึง

ภาพการทำงานของทีมงานสำรวจกัมมันตรังสี กรีนพีซ ญี่ปุ่น ©︎ Shaun Burnie/Greenpeace

แน่นอนว่า กรีนพีซญี่ปุ่นชื่นชมคุณค่าและจิตวิญญาณของกีฬาโอลิมปิก แต่ในขณะเดียวกัน กรีนพีซก็ต้องการให้แน่ใจว่าคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (IOC) จะรับรองได้ว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่ง IOC มีโอกาสที่จะพิสูจน์เพื่อเติมเต็มอุดมการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับเสาหลักที่สามของความเป็นโอลิมปิก นั่นก็คือ ความยั่งยืน โดยการทำให้การแข่งขันระดับโลกนี้เป็นตัวอย่างสำหรับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เราตระหนักดีว่าการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกของญี่ปุ่นนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องให้ความมั่นใจและรับรองความปลอดภัยต่อนักกีฬา ผู้เข้าชมจากต่างประเทศและประชาชนชาวญี่ปุ่น

การตัดสินใจที่จะจัดการแข่งขันกีฬาสองรายการในเมืองฟูกูชิมะ ทำให้เกิดคำถามสำคัญเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะได้รับกัมมันตรังสี เพราะเส้นทางการวิ่งคบเพลิงในพื้นที่ของจังหวัดฟูกูชิมะ รวมถึงเขต Iitate, Namie และ Okuma เป็นพื้นที่ทีมตรวจสอบและป้องกันรังสีนิวเคลียร์ของกรีนพีซญี่ปุ่นค้นพบการปนเปื้อนของกัมมันตรังสีในระดับสูงกว่ามาตรฐาน โดยอ้างอิงจากมาตรฐานที่ออกโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไรสำหรับเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกรวมถึงนักกีฬาและผู้เยี่ยมชม?

ภาพการทำงานของทีมงานสำรวจกัมมันตรังสี กรีนพีซ ญี่ปุ่น ©︎ Shaun Burnie/Greenpeace

จากการสำรวจการปนเปื้อนรังสีอย่างละเอียด กรีนพีซญี่ปุ่นได้พยายามอธิบายถึงความซับซ้อนของการปนเปื้อนของกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพให้เที่ยงตรงในระดับบุคคลนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย 

กรีนพีซญี่ปุ่นจะเผยแพร่ข้อมูลผลสำรวจระดับกัมมันตรังสีในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นและเป็นการอธิบายสถานการณ์ของจังหวัดฟูกูชิมะ รวมทั้งเป็นการทวงถามถึงสิทธิ์ที่ประชาชนในฟูกูชิมะและพนักงานกำจัดการปนเปื้อนกัมมันตรังสีควรจะได้รับ