All articles
-
อุณหภูมิมหาสมุทรออสเตรเลียร้อนขึ้นเป็นประวัติการณ์ เกิดอะไรขึ้นเมื่อมหาสมุทรกลายเป็นหม้อต้มน้ำเดือด
ล่าสุด อุณหภูมิมหาสมุทรออสเตรเลียสูงขึ้นจนอยู่ในภาวะฉุกเฉิน โดยปีที่ผ่านมา (2567) อุณหภูมิผิวน้ำของทะเลสูงจนทำลายสถิติที่เคยบันทึกได้ ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดสำหรับมหาสมุทรออสเตรเลีย ซึ่งสถิติดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขชี้วัด แต่บ่งบอกถึงวิกฤตที่เป็นคลื่นใต้น้ำ คุกคามชีวิตของสัตว์ทะเล แนวปะการัง และวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่งซึ่งพึ่งพาทะเลอันอุดมสมบูรณ์
-
กรีนพีซ ประเทศไทย แสดงจุดยืนคดี SLAPP ยืนยันไม่ยอมให้ใครปิดปากการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
กรีนพีซ ประเทศไทย แสดงจุดยืนชัดเจนในการปกป้องสิทธิในการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม และยืนหยัดเคียงข้างกรีนพีซ สากล และกรีนพีซ สหรัฐฯ หลังจากมีคำตัดสินคดี SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความพยายามของภาคธุรกิจหรือผู้มีอำนาจในการปิดปากนักเคลื่อนไหวและองค์กรภาคประชาชนผ่านกระบวนการทางกฎหมาย
-
พูดคุยกับสมเกียรติ มีธรรมว่าเพราะเหตุใดระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถึงเกิดขึ้นอย่างโปร่งใสทั้งระบบได้ยาก
กรีนพีซพูดคุยกับ คุณสมเกียรติ มีธรรม ผู้อำนวยการสถาบันอ้อผญา(องค์กรสาธารณประโยชน์) และอดีตผู้ประสานงานแม่แจ่มโมเดลพลัส อีกครั้ง ถึงข้อเท็จจริงของสถานการณ์ในพื้นที่ไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือตอนบน ตลอดจนรายละเอียดของกระบวนกวนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
-
สำรวจหลายตัวตน (Alter Ego) ของธารา บัวคำศรี ตลอด 25 ปีที่เดินไปเดินมาในกรีนพีซ
สำรวจหลายตัวตนและหลายวิธีคิด ตลอด 25 ปีของธารา ซึ่งเราอาจนิยามได้ว่าเป็น ‘การ์ดหลายใบของไดเรกเตอร์’ ที่ทำให้เขามีการ์ดที่บ้างเหมาะกับการทำภารกิจให้สำเร็จ บ้างเหมาะกับสร้างความอบอุ่นกลมกลืน บ้างเหมาะกับการต่อสู้ และบ้างเหมาะกับการยืนหยัดอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติในใจ
-
การขุดเจาะก๊าซฟอสซิลเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
กระบวนการผลิตจนถึงการบริโภคก๊าซฟอสซิลที่ถูกตั้งชื่อให้ดูเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมว่า “ก๊าซธรรมชาติ” กลับส่งผลกระทบที่ไม่เป็นธรรมต่อชุมชนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองชาติพันธุ์ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก
-
“มองทุกอย่างให้เป็นโอกาส” รู้จัก อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้นำทีมรณรงค์คนใหม่ของ กรีนพีซ ประเทศไทย
‘จิ๊บ’ อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ปัจจุบันเธอเป็นผู้จัดการงานรณรงค์ของกรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์การปกป้องสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพและสิทธิในการอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนไทย
-
“Land bridge Effect ผลกระทบโครงการท่าเรือน้ำลึกแลนด์บริดจ์ชุมพร ระนอง” เปิดข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภัยคุกคามต่อชุมชนชายฝั่ง
ชุดข้อมูลนี้เป็นชุดข้อมูลที่นักวิชาการร่วมทำงานเก็บข้อมูลกับชุมชนเพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชนที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดโครงการท่าเรือน้ำลึก Land Bridgeใน จ.ชุมพรและ จ.ระนอง
-
โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล แหล่งกำเนิดมลพิษ PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ถูกมองข้าม
ทุกๆ ปี พื้นที่กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับวิกฤตมลพิษทางอากาศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะมลพิษ PM 2.5 ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน งานวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นถึงถึงบทบาทสำคัญของโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลที่มีส่วนทำให้เกิดมลพิษโดยเฉพาะการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO₂) และออกไซด์ของไนโตรเจนอื่นๆ (NOₓ)
-
NDCs คืออะไร ทำไมจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของความตกลงปารีส
ภายใต้เงื่อนไขของความตกลงปารีส แต่ละประเทศจะต้องเผยแพร่และสื่อสารแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ และแผนการ NDCs เหล่านี้ควรมีรายละเอียดถึงความพยายามของแต่ละประเทศที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศ (GHG) และแผนการรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
-
วิถีชาติพันธุ์ และการยับยั้งวิกฤตสภาพภูมิอากาศสั่นคลอน หลังสภาคว่ำ ม.27
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซ้อนทับด้วยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ทำให้หลายชุมชนถูกพรากสิทธิการมีส่วมร่วมในการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรษ พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองกลายเป็น “กลุ่มเปราะบาง” โดยรัฐไทยที่อ้างถึงความมั่นคงแห่งรัฐ