
ในขณะที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจกับการระบาดของโควิด 19 ยังมีภัยร้ายอีกหนึ่งอย่าง นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้าคุณกำลังคาดหวังจะให้ทุกอย่างกลับไปเป็นเหมือนเดิม หลังจากโควิด 19 จบลงแล้ว คุณอาจจะต้องคิดใหม่
เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในเอเชียใต้เป็นเหตุการณ์ประจำปีที่สถานการณ์เลวร้ายขึ้นเรื่อย ๆ มีคนจำนวน 9.6 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในปีนี้
บังกลาเทศ

จีนแผ่นดินใหญ่


ผู้คนราว 10,000 คนในมณฑลอันฮุยและหูเป่ยจะต้องอพยพ หลังจากน้ำท่วมและดินถล่มอย่างรุนแรงหลังจากฝนตกหนักที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายทศวรรษ ในจีนเพียงแห่งเดียวมีผู้คนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 37.89 ล้านคน 1 ใน 3 ของบังกลาเทศถูกน้ำท่วม และมีคนได้รับผลกระทบจำนวน 2.8 ล้านคน และมีคนจำนวน 6.8 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เนปาล อินโดนีเซียและญี่ปุ่นก็ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเช่นกัน
ญี่ปุ่น


อินเดีย


เนปาล

อินโดนีเซีย

เคนยา


ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เคนยาต้องเจอกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่ทำให้มีผู้พลัดถิ่นหลายพันคน และมีผู้สูญหายอีกหลายร้อยคน พืชผลถูกทำลายและปศุสัตว์ล้มตาย สภาพอากาศโดยรวมในแอฟริกาตะวันออกได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น น้ำท่วมและภัยแล้งเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้นตามวิกฤตภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น
ไทย
นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโดยใช้ปัจจัย “การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก” มุ่งเน้นไปที่พื้นที่ทั่วโลกที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัยจากพายุ การเป็นประเทศชายฝั่ง และคลื่นทะเล ผลที่ได้ระบุว่าสาเหตุที่เมืองใกล้ชายฝั่งทะเลกว่า 68% ทั่วโลกถูกน้ำท่วมเพราะกระแสน้ำและพายุ ส่วนอีก 32% เกิดจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เหตุการณ์น้ำท่วมเป็นอุทกภัยที่อันตรายสามารถสร้างความเสียหายได้ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
ในไทยเองก็ต้องเฝ้าระวังวิกฤตนี้เพราะ ชายฝั่งทะเลไทยล่อแหลมต่อการเพิ่มของระดับน้ำทะเล ในระยะยาวของประเทศไทย(ปลายศตวรรษที่ 22) ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นราว 2.39 เมตร เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้น 4.3 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับการเพิ่มของระดับน้ำทะเล 1.36 เมตร ที่อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก 1.6 องศาเซลเซียส ความเสี่ยงที่มาจากพายุหมุนเขตร้อนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วย

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573
มีส่วนร่วม