All articles by Supang Chatuchinda
-
สรุปวงสนทนา #ฮักภาคเหนือบ่เอาถ่านหิน : เสียงจากคนภาคเหนือร่วมคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหิน
เป็นเวลาร่วม 5 ปีแล้วที่ชุมชนบ้านบอม อ.แม่ทะ จ.ลำปาง และชุมชนกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เดินหน้าปกป้องพื้นที่จากโครงการเหมืองถ่านหินไม่ให้เกิดขึ้นอีก ในปีนี้ กรีนพีซ ประเทศไทยหนึ่งในภาคีเครือข่ายร่วมคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหินกับชุมชน จัดวงพูดคุย X Space #ฮักภาคเหนือบ่เอาถ่านหิน เสียงจากคนภาคเหนือในการคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหิน
-
จากห้องครัวสู่แนวหน้าการปกป้องบ้านเกิด : เรื่องราวของ ‘นักรบผ้าถุง’ จากจะนะ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘นักรบผ้าถุง เริน เล และแสงตุหวัน (Sarong Warrior)’ ที่พาเราไปทำความรู้จักเหล่ากลุ่มนักรบผ้าถุงที่รวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องแหล่งทรัพยากรทางทะเลอันอุดมสมบูรณ์จากโครงการอุตสาหกรรมก่อมลพิษ ผ่านสายตาของผู้กำกับ ‘เพื่อนนักรบผ้าถุง’ กีรติ โชติรัตน์ และเชี่ยววิทย์ พัฒนสุขพันธ์
-
คนไทยอยู่ตรงไหนในแผน PDP : แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศที่มั่นคง ยั่งยืนและเป็นธรรมกับประชาชน ควรเป็นอย่างไร
เมื่อพูดถึงแผนพลังงานแห่งชาติ สำหรับคนธรรมดาทั่วไปแบบพวกเราแล้วดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวมาก แต่รู้หรือไม่ว่าเจ้าแผนพลังงานแห่งชาตินี่แหละที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเราต้องจ่ายค่าไฟแพงหรือถูก
-
เตอร์ กฤษพล ศรีทอง นักกู้ภัยกับบทบาทอาสาสมัครนักดำน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซ
ทีมงานอาสาสมัครดำน้ำถือเป็นอีกหนึ่งทีมสำคัญในงานรณรงค์ครั้งนี้ที่มีส่วนทำให้งานวิจัยทั้งในชุมพร และสงขลา สำเร็จได้ด้วยดี เราจึงใช้โอกาสนี้พูดคุยกับหนึ่งในทีมนักดำน้ำของกรีนพีซ เตอร์ กฤษพล ศรีทอง นักวิ่งเทรลวัย 30 ปี ในชีวิตประจำวัน เตอร์ ทำงานด้านการกู้ชีพและกู้ภัย และมีงานอดิเรกแนวแอดเวนเจอร์ทั้ง ดำน้ำ วิ่งเทรล เดินป่า
-
เรื่องของคนรักปะการัง : กานต์ ศุกระกาญจน์ กับความหลงใหลในปะการังและประสบการณ์ครั้งแรกบนเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์
“ผมว่ามันมหัศจรรย์ดี อย่างแรกที่ผมชอบคือมันสวย อย่างที่สองคือปะการังเป็นเหมือนบ้านของสัตว์ทะเลหลายชนิดและผมคิดว่าสัตว์เหล่านั้นก็น่าทึ่งมากเหมือนกัน นอกจากนี้ปะการังยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล”
-
บ้านเรา ให้เรามีส่วนร่วม : เสียงของชุมชนชายฝั่งที่อยากให้รัฐรับฟัง
8 มิถุนายน 2567 ซึ่งเป็นวันมหาสมุทรโลก (World Oceans Day) เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์และกรีนพีซ ประเทศไทยจึงใช้โอกาสนี้เชิญชวนกลุ่มชุมชนชายฝั่ง ผู้ปกป้องทรัพยากรทางทะเลและสิทธิของชุมชน มาร่วมพูดคุยและนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางด้านการจัดการทรัพยากรทะเลชายฝั่ง ด้านความมั่นคงทางอาหาร และสิทธิชุมชนชายฝั่ง เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ร่วมกัน ในวงสนทนาบนเรือ “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการทรัพยากรทะเล”
-
Diversity is Nature : เพราะความหลากหลายคือธรรมชาติของโลก แล้วนโยบายรัฐไทยโอบรับความหลากหลายของชุมชนหรือยัง?
เฉลิมฉลองเดือนแห่งความหลากหลาย (Pride Month) เราจึงชวนกลุ่มคนที่ทำงานในประเด็นความหลากหลายในมิติต่างๆไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ เพศ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มาร่วมพูดคุยกันในวงเสวนา Diversity is Nature โดยมี อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไครียะห์ ระหมันยะ ลูกสาวแห่งท้องทะเลจะนะ เยาวชนและนักกิจกรรมจากเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จ.สงขลา และวิภาวดี แอมสูงเนิน นักรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ ประเทศไทย
-
เปิดข้อมูลวิจัย ‘นโยบายทวงคืนผืนป่า’ นำชุมชนไปสู่ ‘ความยากจนฉับพลัน’
เป็นระยะเวลากว่า 9 ปีที่เราได้ยินคำว่า ‘นโยบายทวงคืนผืนป่า’ ซึ่งประกาศใช้โดยรัฐบาลทหาร คสช. ผ่านการนำเสนอในสื่อต่าง ๆ แต่เคยทราบหรือไม่ว่าเบื้องหลังการ ‘ทวงคืน’ นี้เกิดผลกระทบอะไรบ้างนอกจากรัฐได้ผืนป่าคืน ?
-
พูดคุยเรื่องฝุ่นพิษกับ ชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีแม่สาย ในวันที่ชาวแม่สายได้รับผลกระทบจาก PM2.5 อย่างรุนแรง
เราได้มีโอกาสพูดคุยกับนายกฯ เกี่ยวกับการทำงานของเทศบาลตำบลแม่สายในการรับมือกับฝุ่นพิษ ปัญหาอุปสรรคที่พบ และข้อเรียกร้องของนายกเทศมนตรีในฐานะตัวแทนของประชาชนที่อาศัยอยู่ใน อ.แม่สาย
-
ฝนตกแล้วแต่ฝุ่นพิษยังอยู่! เพราะไม่อยากเจอฝุ่น PM2.5 ทุกปี วิกฤตฝุ่นพิษแม่สายต้องแก้ไขด้วยแนวทางระยะยาว
‘ใน อ.แม่สาย ไม่มีจุดความร้อนเลย แต่ประชาชนในอำเภอกลับได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 จากการเผาอย่างหนัก ปัญหาฝุ่นใน อ.แม่สาย มักจะมาจากมลพิษที่ข้ามพรมแดนมา จึงหาข้อมูลเพิ่มเติมและทราบข้อมูลเรื่องการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในปี 2565 ไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพม่าสูงถึง 14,312 ล้านบาท และจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิชาการหลายคนทำให้เราเชื่อว่านี่คือหนึ่งในสาเหตุของมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในแม่สาย’ – นายกเอ (ชัยยนตร์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย)