มอนทรีออล, แคนาดา – ตามมติสุดท้ายในการประชุมเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ CBD COP15 กรีนพีซมีความยินดีที่ได้เห็นว่าการประชุมดังกล่าวยอมรับสิทธิ บทบาท อาณาเขตและภูมิปัญญาของชนพื้นเมือง ในการปกป้องผืนดิน ผืนน้ำ เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

แอน แลมเบรชส์ หัวหน้าการเจรจาใน COP15 จากกรีนพีซ กล่าวว่า

“ชนพื้นเมืองคือกลุ่มคนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติมากที่สุดและยังเป็นผู้พิทักษ์ผืนน้ำ ผืนป่าอีกด้วย ดังนั้นหากชนพื้นเมืองได้ทำหน้าที่เป็นกลุ่มหลักในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เราก็จะสามารถปกป้องระบบนิเวศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การคุ้มครองพวกเขาตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐานคืออนาคตของการปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสนับสนุนพวกเขาในด้านการเงินเพื่อปกป้องธรรมชาติจะเป็นปัจจัยสำคัญให้โลกของเราก้าวต่อไปได้”

“อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังที่การประชุม CBD COP15 นี้ไม่สามารถกำหนดเป้าหมายที่มุ่งมั่นมากพอ ไม่มีการกำหนดเครื่องมือในการปกป้องธรรมชาติ รวมทั้งยังไม่มีการเจรจาด้านการเงินเพื่อหยุดภัยที่คุกคามความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งจะนำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ แม้ว่าที่ประชุมจะตกลงใช้เป้าหมาย 30×30 ที่อธิบายไว้ว่าจะต้องปกป้องพื้นที่ระบบนิเวศในป่ากับในมหาสมุทรให้ได้อย่างน้อย 30% ภายในปี 2030 แล้ว แต่หากศึกษาในรายละเอียดของมติการประชุมนั้นมีเพียงการระบุตัวเลขพื้นที่ที่จะปกป้อง แต่ยังไม่มีการระบุกิจกรรมที่ส่งผลอันตรายต่อพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องนั้นๆเลย

“การสนับสนุนเงิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 และสนับสนุนเพิ่มเป็น 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2030 การสนับสนุนนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นซึ่งยังไม่เพียงพอเพราะเป้าหมายการปกป้องระบบนิเวศนี้ยังขาดเงินสนับสนุนอีก 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และเรายังไม่รู้ว่าเงินจำนวนนี้จะมาจากไหน การสนับสนุนด้านการเงินนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพาให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วพอที่เราคาดหรือไม่ ซึ่งการตั้งกองทุนที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า (2023) ควรต้องส่งเงินสนับสนุนให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาให้เร็วกว่าเดิม

“นอกจากนี้ยังมีแผนการจัดการโดยกลุ่มธุรกิจ เช่น ทางออกที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและแผนการนำบริษัทสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ที่เกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ ต่างเป็นแผนการที่ล้มเหลวที่อาจทำให้เกิดความผิดพลาดที่มีต้นทุนสูง เพราะปัจจุบันเราเห็นแล้วว่ามีประเด็นอื้อฉาวมากมายในแผนการชดเชยคาร์บอนรวมทั้งการฟอกเขียว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในอนาคต”


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน

ออกัส ริค ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ เอเชียตะวันออก [email protected], +1 4387286509

Greenpeace International Press Desk: [email protected], +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)