#ป่าไม้
ป่าฝนเขตร้อนคือระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นแหล่งอาหารของพืชและสัตว์ ยังเป็นเสมือน “ปอด” ให้คนทั่วโลกได้หายใจรับอากาศบริสุทธิ์
ปัจจุบันป่าฝนเขตร้อนหลงเหลืออยู่เพียงร้อยละ 6 จากพื้นที่ภาคพื้นดินทั้งหมดของโลก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร อาทิ ทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ผืนป่าเหล่านี้กำลังถูกคุกคามจากอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ กรีนพีซรณรงค์ปกป้องผืนป่าทั่วโลกเพื่อรักษาปอดของโลกให้กับคนรุ่นอนาคตต่อไป

คุณทำอะไรได้บ้าง
เราเชื่อว่าถ้าเราร่วมมือกัน เราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ให้แก่สิ่งแวดล้อมได้
No posts found.
-
การติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ร่องรอยพื้นที่เผาไหม้และจุดความร้อน จากภาพดาวเทียม ปีพ.ศ. 2567 ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง (ตอนบนของประเทศไทย, ตอนบนของ สปป.ลาว และรัฐฉานของเมียนมา)
ไม่นานมานี้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2562 และได้มีการสันนิษฐานถึงสาเหตุของปัญหาที่ทําให้ระดับความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวมีระดับความรุนแรงขึ้น คือ การปลูกข้าวโพดภายใต้ระบบเกษตรพันธะสัญญาทั้งประเทศไทย เมียนมา และ สปป.ลาว ซึ่งทําให้เกิดปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
-
ชะลอโลกเดือด: การยุติภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศด้วยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม
การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เพียงแค่ฟอสซิลอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ หากเราต้องการหยุดภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น เราจำเป็นต้องจำกัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนมอย่างเร่งด่วน
-
สรุปเนื้อหารายงาน ชะลอโลกเดือด: การยุติภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศด้วยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม
รายงานของกรีนพีซ นอร์ดิก “ชะลอโลกเดือด: การยุติภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศด้วยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม” เผยให้เห็นเป็นครั้งแรกว่าเราสามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกได้ หากรัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการลดการผลิตที่ล้นเกินจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอาหารที่เป็นธรรมและยั่งยืน
-
การชดเชยคาร์บอนภาคป่าไม้: การฟอกเขียวและการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพการชดเชยคาร์บอนภาคป่าไม้:
คาร์บอนเครดิตคืออะไร? โครงการคาร์บอนเครดิตจะส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร? ใครที่ได้รับผลประโยชน์จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต? งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งทำความเข้าใจและตอบคำถามดังกล่างข้างต้น เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาท่ามกลางการผลักดันนโยบาย Net Zero และความเป็นกลางทางคาร์บอนของรัฐบาล
-
พูดคุยกับสมเกียรติ มีธรรมว่าเพราะเหตุใดระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถึงเกิดขึ้นอย่างโปร่งใสทั้งระบบได้ยาก
กรีนพีซพูดคุยกับ คุณสมเกียรติ มีธรรม ผู้อำนวยการสถาบันอ้อผญา(องค์กรสาธารณประโยชน์) และอดีตผู้ประสานงานแม่แจ่มโมเดลพลัส อีกครั้ง ถึงข้อเท็จจริงของสถานการณ์ในพื้นที่ไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือตอนบน ตลอดจนรายละเอียดของกระบวนกวนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
-
การติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ร่องรอยพื้นที่เผาไหม้และจุดความร้อน จากภาพดาวเทียม ปีพ.ศ. 2567 ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง (ตอนบนของประเทศไทย, ตอนบนของ สปป.ลาว และรัฐฉานของเมียนมา)
ไม่นานมานี้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2562 และได้มีการสันนิษฐานถึงสาเหตุของปัญหาที่ทําให้ระดับความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวมีระดับความรุนแรงขึ้น คือ การปลูกข้าวโพดภายใต้ระบบเกษตรพันธะสัญญาทั้งประเทศไทย เมียนมา และ สปป.ลาว ซึ่งทําให้เกิดปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
-
วิถีชาติพันธุ์ และการยับยั้งวิกฤตสภาพภูมิอากาศสั่นคลอน หลังสภาคว่ำ ม.27
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซ้อนทับด้วยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ทำให้หลายชุมชนถูกพรากสิทธิการมีส่วมร่วมในการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรษ พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองกลายเป็น “กลุ่มเปราะบาง” โดยรัฐไทยที่อ้างถึงความมั่นคงแห่งรัฐ
Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน