ไมโครพลาสติกจำนวนมหาศาลที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งปกคลุมชายฝั่งทะเลตะวันตกของศรีลังกา

ปูบนชายหาดที่ปนเปื้อนด้วยเม็ดพลาสติกที่พัดขึ้นฝั่งหลังจากเรือ MV X-Press Pearl เกิดไฟไหม้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะนี้เรือจมลงใต้ทะเลนอกชายฝั่งเมืองโคลัมโบ ศรีลังกา เศษซากจากเรือที่ถูกไฟไหม้ทำให้เกิดวิกฤตมลพิษรุนแรงบนชายหาด (AP Photo/Eranga Jayawardena)

เกิดอะไรขึ้น?

ศรีลังกากำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล เม็ดพลาสติกขนาดเท่าเมล็ดถั่วเป็นชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

เจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือศรีลังกาเก็บเศษซากที่ถูกพัดเกยฝั่งจากเรือขนส่งสินค้า MV X-Press Pearl ที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ ซึ่งเกิดเพลิงลุกไหม้ต่อเนื่องนาน 12 วัน นอกชายฝั่งทะเลไม่ไกลจากท่าเรือโคลัมโบของศรีลังกา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (Photo by Lakruwan WANNIARACHCHI / AFP) (Photo by LAKRUWAN WANNIARACHCHI/AFP via Getty Images)

ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ

ทำไมไมโครพลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่หลายร้อยตันมีการขนส่งข้ามมหาสมุทรทั่วโลก ราวกับว่าวิกฤตมลพิษพลาสติกนั้นยังเลวร้ายไม่พอ

ในช่วงเวลากว่า 70 ปี ของการผลิตสินค้าจำนวนมาก พลาสติกได้เข้าไปอยู่ในทุกซอกทุกมุมของโลก ผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและวิกฤตสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นในทุกหนทุกแห่ง

ภาพของอาสาสมัครที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อพยายามกำจัดไมโครพลาสติกขนาดเล็กออกจากชายหาดของศรีลังกา ทรัพยากรธรรมชาติถูกดึงออกมาเพื่อเพิ่มผลกำไรสูงสุด บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลและสินค้าอุปโภคบริโภคต่างทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งผลกำไรจะอยู่เหนือต้นทุนของผลกระทบของชุมชน

ความคิดเห็นของกรีนพีซ

อาบิเกล อากีลา ผู้ประสานงานรณรงค์ระดับภูมิภาค กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า “บริษัทแบรนด์ใหญ่ ๆ ไม่ควรเพิ่มการผลิตพลาสติกอีกต่อไปแล้ว เพราะนั่นเป็นการทำลายสุขภาพชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพ ในขณะเดียวกันก็เร่งรัดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราเหลือเวลาไม่มากนัก บริษัทต่าง ๆ และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจะต้องหยุดการฟอกเขียว แล้วเปลี่ยนไปเป็นแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองผลิตเสียที”

The Singapore-registered container ship MV X-Press Pearl carrying hundreds of tonnes of chemicals and plastics, sinks after burning for almost two weeks, just outside Colombo’s harbour on June 2, 2021. (Photo by ISHARA S. KODIKARA / AFP) (Photo by ISHARA S. KODIKARA/AFP via Getty Images) What needs to happen

พลาสติกไม่ได้เป็นเพียงแค่วิกฤตมลพิษในมหาสมุทรเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สุขภาพ และความเป็นธรรมทางสังคมอีกด้วย สุขภาพของเราจะดีถ้าสุขภาพของโลกใบนี้ดีเช่นกันแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ที่พึ่งพาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น Coca-Cola, Nestle และ Pepsi ต้องทบทวนรูปแบบธุรกิจใหม่และยอมรับการปรับตัวสู่อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เรียกร้องให้แบรนด์ผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Coca-Cola หยุดสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล หยุดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และหันมาลงทุนในระบบเติมและนำกลับมาใช้ซ้ำอย่างยั่งยืน

ในแง่ของภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ บริษัทขนส่งควรรับผิดชอบต่อคอนเทนเนอร์ที่สูญหายทั้งหมด และผลกระทบใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น และที่สำคัญพลาสติกควรถูกจัดประเภทเป็นวัสดุที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และควรมีการระบุรหัส IMDG (รหัสระหว่างประเทศสำหรับการขนส่งทางทะเลของสินค้าอันตรายในรูปแบบบรรจุภัณฑ์)

อันนา ริสโตวา นักวางแผนยุทธศาสตร์งานรณรงค์พลาสติก กรีนพีซสากล