สนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) โดยสหประชาชาติกำลังเกิดขึ้นในวันที่ 4-17 กันยายนนี้ นักวิจัยต่างบอกว่า “นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของมหาสมุทร”

เต่ากระว่ายน้ำผ่านเรือในเขตลารันตุกา ฟลอเรส ในอินโดนีเซีย

เต่ากระว่ายน้ำผ่านเรือในเขตลารันตุกา ฟลอเรส ในอินโดนีเซีย

สนธิสัญญาครั้งนี้สำคัญอย่างไร?

ทะเลหลวง (เขตมหาสมุทรที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเทศใด) คือพื้นที่มหาสมุทรกว่าสองในสามของโลกที่ปัจจุบันกำลังถูกคุกคาม แม้ว่าจะมีองค์กรอีกหลายองค์กรที่คอยดูแลพื้นที่ทะเลหลวงอยู่แต่ก็ไม่สามารถดูแลทะเลหลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ตอนนี้เรามีโอกาสอีกครั้งที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยสนธิสัญญาทะเลหลวง สนธิสัญญาที่จะสร้างเขตปกป้องมหาสมุทรให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 จากพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด โดยตั้งเป้าหมายให้ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวภายในปี พ.ศ. 2573

ทะเลหลวงแห่งนี้มีความสำคัญอย่างไร ทำไมองค์กรจากทั่วโลกจึงยื่นมือเข้ามาช่วย?

มหาสมุทรคือจุดกำเนิดความมหัศจรรย์ มหาสมุทรคือบ้านหลังที่ใหญ่ที่สุดของโลก เป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับสัตว์และมนุษย์ หากโลกนี้ไม่มีมหาสมุทรเราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เพราะอากาศที่เราหายใจก็มาจากมหาสมุทร ที่นี่เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย เช่น เต่าทะเล ฉลาม หรือโลมา เป็นต้น ลึกลงไปกว่านั้นใต้ทะเลลึกก็ยังมีปะการังและฟองน้ำทะเลอาศัยอยู่ในความมืด นอกจากนี้ยังเป็นเป็นสถานที่อนุบาลสัตว์ธรรมชาติ หรือสิ่งมีชีวิตโบราณที่หลบซ่อนอาศัยอยู่

แม้ว่ามหาสมุทรคือโลกลึกลับที่ยังรอการค้นพบ แต่สิ่งที่เราค้นพบแล้วตอนนี้ก็คือ “ถ้าเราไม่ปกป้องมหาสมุทร เราก็จะสูญเสียมันไปก่อนที่เราจะรู้ตัว”

ปลากระเบนราหูว่ายน้ำผ่านกลุ่มแพลงก์ตอนออกจากชายฝั่ง Nusa Penida ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย

ปลากระเบนราหูว่ายน้ำผ่านกลุ่มแพลงก์ตอนออกจากชายฝั่ง Nusa Penida ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย

สัตว์ทะเลในมหาสมุทรทั่วโลกตกอยู่ในอันตราย?

ปัจจุบัน มหาสมุทรถูกคุกคามโดยอุตสาหกรรมประมง  รวมทั้งมลพิษที่สร้างผลกระทบกับปะการังและดอกไม้ทะเล อุตสาหกรรมประมงกวาดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นบริเวณกว้างและลึกลงไปในทะเล ทุกๆปี สัตว์ทะเลจำนวน 1 ล้านตันถูกอวนประมงจับ กว่าหมื่นตัวเป็นเต่าทะเล ฉลามและโลมา ในขณะเดียวกันขยะพลาสติกราว 8 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่ทะเลในทุกๆปีจนกลายเป็นขยะจำนวนมหาศาลและสัตว์หลายตัวต้องตายเพราะกินขยะเหล่านี้

สุดท้าย (แต่ไม่ท้ายสุด) ภาวะโลกร้อนคุกคามผืนทะเลสีน้ำเงินเช่นกัน นั่นก็คือเกิดสภาวะความเป็นกรดในมหาสมุทร ผลกระทบนี้เป็นเรื่องฉุกเฉินที่เราต้องออกมาปกป้องมหาสมุทรได้แล้ว  เรื่องนี้ทำให้ฉันรู้สึกเศร้าและหงุดหงิด สัตว์ทะเลควรใช้ชีวิตอย่างสงบสุข และนี่คือเหตุผลที่เราต้องการเขตปกป้องมหาสมุทรเพื่อหยุดการทำลายล้างสัตว์ทะเล และปล่อยให้มหาสมุทรและสัตว์ที่สวยงามเหล่านี้ฟื้นฟูตามธรรมชาติ

นักวิจัยเรียกร้องให้อนุรักษ์ผืนทะเลที่เป็นทะเลหลวงและทะเลที่อยู่ในอาณาเขตประเทศ เป็นบริเวณอย่างน้อยร้อยละ 30 ของทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2573 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเราอนุรักษ์ผืนทะเลทั่วโลกได้เพียงแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น

สนธิสัญญาทะเลหลวงครั้งนี้จึงสำคัญมาก เราต้องร่วมมือทำงานกับองค์กรที่ทำงานด้านมหาสมุทรจากทั่วโลกและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ได้

จะเกิดอะไรขึ้นในการประชุมที่นิวยอร์ก?

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราไม่รู้ว่าภาครัฐจะรับรู้ถึงความรับผิดชอบนี้แล้วผลักดันนโยบายการอนุรักษ์มหาสมุทรท่ามกลางผลประโยชน์จากกลุ่มธุรกิจหรือไม่ แต่ตอนนี้คือช่วงเวลาที่ดีที่เราจะสร้างแนวคิดที่ถูกต้องเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง สนธิสัญญาทะเลหลวงจะพลังมากพอถ้าถูกร่างขึ้นโดยหลายๆประเทศ สนธิสัญญาจะทำให้เกิดเขตปกป้องมหาสมุทรที่ได้รับการปกป้องจากทั่วโลก กรีนพีซจะใช้จุดแข็งที่เรามีเร่งมือทำงานกับเรื่องนี้ โดยเราจะอยู่ที่นิวยอร์กและเตือนรัฐบาลว่าเราจะปกป้องมหาสมุทรเพื่อมีโลกที่น่าอยู่ให้กับลูกๆหลานๆของเราต่อไป


Heike Dierbach ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ เยอรมนี

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม