ฉันไม่เคยคิดว่า เราจะต้องการตู้แช่แข็งตอนอยู่ที่ขั้วโลกเหนือมาก่อน

แต่ในเดือนเมษายน ปีนี้ อุณหภูมิในขั้วโลกเหนือเพิ่มสูงขึ้น 8 องศา ซึ่งสูงขึ้นมากกว่าปกติ ทำให้การแสดงดนตรีครั้งนี้ที่จะใช้เครื่องดนตรีแกะสลักน้ำแข็ง เกือบเป็นไปไม่ได้ เพราะสภาพอากาศที่อุ่นเกินไป

https://www.facebook.com/greenpeaceseath/videos/373514296846792/

 

ไอเดียของกรีนพีซคือ เราจะนำนักดนตรี 4คน และศิลปินแกะสลักน้ำแข็ง เดินทางมายังขั้วโลกเหนือ เพื่อสร้างเสียงดนตรีจากน้ำแข็ง สะท้อนถึงความเปราะบางของดินแดนแห่งนี้และสื่อสารถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นแกะสลักจากก้อนน้ำแข็งที่แตกตัวออกมาจากธารน้ำแข็ง  น้ำแข็งละลายก่อนที่พวกเขาจะแกะสลักเสร็จด้วยซ้ำ เราใช้เวลามากกว่าสัปดาห์ในการหาวิธีรักษาน้ำแข็งไม่ให้ละลาย เพื่อให้ไอเดียของเราสำเร็จ

นี่เป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเราทุกคน ด้วยอุณหภูมิ -12 องศาเซลเซียส จังหวะของเครื่องกระทบ เครื่องเป่า เสียงน้ำแข็งกระทบกัน และเชลโล่เคล้าคลอ เพื่อส่งข้อความไปถึงเหล่าผู้นำของโลกว่า เราต้องการปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อยร้อยละ 30 ของมหาสมุทรทั้งโลกภายในปี พ.ศ.2573

มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์จะช่วยปกป้องเราจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พืชและสัตว์ใต้ท้องทะเลจะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกาย เช่น วาฬและปลาชนิดต่างๆ นอกจากนี้เมื่อพวกมันตาย ซากของพวกมันก็จะนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีหายไปยังก้นทะเลในที่สุด

Protect the Oceans Expedition - Ice Concert. © Denis Sinyakov / Greenpeace

ทีมงานกำลังเคลื่อนย้ายเชลโลจากน้ำแข็งไปยังสถานที่ในการแสดงดนตรีใกล้ๆกับเกาะสฟาลบาร์

สัตว์ที่กินอาหารบริเวณผิวน้ำและถ่ายมูลลงมหาสมุทรก็ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นกัน เพราะมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในมูลนั่นเอง โดยมูลจะถูกทิ้งลงไปในมหาสมุทรลึกลงไป กระบวนการนี้รู้จักกันในชื่อ ‘ carbon pump’ คือ การนำคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศไปกักเก็บไว้ใต้น้ำ ดังนั้น การทำลายมหาสมุทรก็จะทำให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศแย่ลงยิ่งกว่าเดิม

น้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือทำงานเหมือนครื่องปรับอากาศให้โลก แต่เมื่อน้ำแข็งค่อยๆละลาย จึงมีผลทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนเร็วขึ้น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับพื้นที่สำคัญของโลกที่จะส่งผลกระทบต่อเราทุกคน

นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นในการเดินทางของเราจากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นหลักฐานสำคัญแสดงให้ผู้นำโลกเห็นว่าเราจำเป็นต้องมี สนธิสัญญาทะเลหลวง

Protect the Oceans Expedition - Ice Concert. © Denis  Sinyakov / Greenpeace

วงดนตรีกำลังจะเริ่มบรรเลงเพลงจากน้ำแข็ง กรีนพีซและวงดนตรีบันทึกการแสดงครั้งนี้เพื่อสื่อสารถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังทำให้น้ำแข็งในอาร์กติกละลายอย่างรวดเร็ว

หลังจากการบรรเลงเพลงจากเครื่องดนตรีน้ำแข็งเสร็จสิ้น  Terje Isungset หนึ่งในนักดนตรีก็กล่าวว่า “เราควรให้ความเคารพกับธารน้ำแข็งเหล่านี้ มิฉะนั้นพวกมันก็จะละลายหายไป เราควรเคารพธรรมชาติ”

 

แปลโดย ธัญพิชชา ลอยกลิ่น นักศึกษาฝึกงาน กรีนพีซ
Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม