ด้วยแรงสนับสนุนเพื่อปกป้องมหาสมุทรโลก

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace

วาฬหลังค่อมโผล่พ้นจากผิวน้ำ ขณะที่พวกมันอพยพไปยังบริเวณทางตอนใต้ของแอาตาร์กติกา ช่วงฤดูร้อน

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ไม่อาจดำรงอยู่ได้หากไม่มีผืนมหาสมุทรที่กินพื้นที่ร้อยละ 70 ของดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า โลก มหาสมุทรเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนให้เราหายใจ เป็นแหล่งอาหาร อีกทั้งยังเป็นบ้านและแหล่งอนุบาลสิ่งมีชีวิตนับร้อยนับพันลึกลงไปใต้ทะเล นอกจากนี้แล้ว มหาสมุทรยังปกป้องเราจากภัยธรรมชาติต่างๆ ดอกไม้ทะเลและปะการังนั้นเป็นเกราะกำบังเราจากพายุและคลื่นทะเล

สถานที่อันกว้างใหญ่แห่งนี้เต็มไปด้วยที่เรื่องราวน่าอัศจรรย์ใจ บ้านของสัตว์ทะเลน้อยใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 สายพันธุ์ เช่น วาฬ โลมา ฉลาม พะยูน เต่า และปลากระเบน ข้อมูลจาก World Register of Marine Species ระบุว่าผืนมหาสมุทรนั้นมีสัตว์ที่อาศัยอยู่กว่า 240,470 สายพันธุ์ เชื่อกันว่ายังมีสัตว์ทะเลอีกจำนวนมากที่ยังไม่ถูกค้นพบ และปัจจุบันก็ยังมีการสำรวจพบสิ่งมีชีวิตใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

Local Fisherman in southern Thailand. © Sirachai Arunrugstichai / Greenpeace

ชาวประมงท้องถิ่นกำลังจับปลาในปากอ่าวเทพา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย

มหาสมุทรเปรียบเสมือนครัวมหึมาที่เต็มไปด้วยอาหารอีกด้วย ในปี 2559 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประเมินว่า ประชากรส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำรงชีวิตด้วยการประกอบอาชีพประมง กว่า 59.6 ล้านคน

เรียกได้ว่า มหาสมุทรเป็นสถานที่ที่มหัศจรรย์แห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้

มหาสมุทรกำลังถูกคุกคาม

Catch on Board Chinese Fishing Vessel in Guinea. © Pierre Gleizes / Greenpeace

ชาวประมงบนเรือ FU YUANG YU 380 เรือประมงอุตสาหกรรมสัญชาติจีน กำลังลากอวน

อย่างไรก็ตาม มหาสมุทรในวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะในทุกๆวันเราได้รับข่าวร้ายเกี่ยวกับการทำลายล้างมหาสมุทร 

ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรนั้นเกิดมีตั้งแต่มลพิษพลาสติกไปจนถึงการรั่วไหลของน้ำมันดิบ คร่าชีวิตสิ่งมีชีวิตในทะเลไปอย่างเงียบๆ หลายครั้งที่เราพบนกทะเล โลมาและเต่า เกยตื้นอยู่บริเวณชายหาดทั้งในประเทศ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จากสาเหตุการกินขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเล

Plastic Waste in Verde Island, Philippines. © Noel Guevara / Greenpeace

หลอดยาสีฟันพลาสติกถูกพบเป็นขยะพลาสติกบริเวณเกาะ Verde ประเทศฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ ปลายังค่อยๆหายไปเนื่องจากการทำประมงเกินขนาด โดยอุตสาหกรรมประมงที่หิวกระหาย ปริมาณปลากว่าร้อยละ 90 ในทะเลถูกจับจากการประมงของบริษัทยักษ์ใหญ่ ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงไปถึงการใช้แรงงานผิดกฎหมาย วิถีการทำประมงเช่นนี้ ไม่เพียงแต่คุกคามทรัพยากรในทะเลเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผู้คนหลายพันคนในภูมิภาคนี้ถูกใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมกลางทะเล บางส่วนเสียชีวิต ขณะที่อีกส่วนต้องเผชิญกับการใช้แรงงานอย่างโหดร้ายบนเรือ

มหาสมุทรได้มอบของขวัญแก่พวกเราโดยไม่ได้ต้องการการตอบแทน แต่ตอนนี้ถึงเวลาที่เราจำเป็นต้องช่วยกันปกป้องมหาสมุทรโลก และฟื้นฟูทรัพยากรทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

5 วิธีบอกรักและปกป้องมหาสมุทร

1.สนใจและทำความเข้าใจในประเด็นทะเลและมหาสมุทร

มีข้อมูลน่าสนใจมากมายเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทรที่ให้เราได้ลองศึกษา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นภัยคุกคามจากมนุษย์หรือแม้กระทั่งความมหัศจรรย์ของมหาสมุทร หากยังนึกไม่ออกว่ามหาสมุทรนั้นน่าอัศจรรย์ใจเพียงใด ลองดูปลาหมึกหลากสีตัวนี้ ซึ่งถูกค้นพบใกล้ๆกับประเทศฟิลิปปินส์

หรือหากใครสนใจเกี่ยวกับประเด็นการใช้แรงงานไม่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมประมง ก็สามารถอ่านรายงาน  report on human slavery in the high seas ซึ่งเป็นรายงานของสำนักข่าว เอพี

2.ลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เปลี่ยนมาลองใช้ภาชนะใช้ซ้ำ

“พลาสติกไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ ที่จะย่อยสลายหาไปไหนได้ เพราะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งคือตัวการก่อมลพิษในทะเลและเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล รวมถึงสัตว์บนบกด้วยนะ

แต่ไม่เป็นไร มาลองใช้ชีวิตตามฮาวทูลดใช้พลาสติกกันสักหน่อย หรือลองลดพลาสติกที่ไม่จำเป็นเช่น ถุงพลาสติก หลอด แก้วพลาสติก ถ้าลองแล้วเวิร์คก็ชวนเพื่อนๆหรือคนที่เรารักมาลดใช้พลาสติกไปด้วยกันเลย!

3.ฉลาดเลือก ฉลาดซื้ออาหารทะเล

Preparing Sustainably Caught Fish Meal near Heiligenhafen. © Bente Stachowske / Greenpeace

เลือกซื้อปลา อาหารทะเล จากการประมงยั่งยืนและรู้ที่มา

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รักการกินอาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเลสดๆหรืออาหารทะเลบรรจุกระป๋อง การเลือกซื้ออาหารทะเลที่ยั่งยืนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยปกป้องมหาสมุทรได้ หลีกเลี่ยงการกินอาหารทะเลจากแบรนด์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการการประมงเกินขนาด การทำลายทรัพยากรในทะเลและการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม

ตรวจสอบความยั่งยืนของแบรนด์อาหารทะเลต่างๆได้ที่รายงานของกรีนพีซ รายงานการจัดอันดับความยั่งยืนปลาทูน่ากระป๋องปี พ.ศ.2561

4.สนับสนุนหลักสูตรเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทรให้กับเยาวชน

ความรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญและความรู้เกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทรก็เป็นสิ่งสำคัญที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้ ไม่ใช่เพีงแค่ประเด็นทะเลและมหาสมุทรเท่านั้น แต่อาจเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในโลกก็ได้ โรงเรียนควรมีหลักสูตรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เยาวชน และครอบครัว ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงสถานการณ์ ความสำคัญจำเป็นที่พวกเขาต้องปกป้องสิ่งแวดล้อมบนโลกต่อไป

Young Ocean Defenders in Philippines. © Luis Liwanag / Greenpeace

เด็กๆถือป้ายรูปสัตว์ทะเลที่ชอบเพื่อรณรงค์ปกป้องมหาสมุทรโลกและสัตว์ที่พวกเขารัก

เมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตไปขึ้นไปในระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัย พวกเขาจะสามารถเป็นผู้นำ เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจในการปกป้องมหาสมุทร ซึ่งเราหวังว่าวิธีการนี้จะเปลี่ยนแปลงและสามารถอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว

5.เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุน “สนธิสัญญาทะเลหลวง” โดยองค์การสหประชาชาติ

สนธิสัญญาทะเลหลวง เป็นสนธิสัญญาใหม่ที่จะช่วยปกป้องมหาสมุทรของเราให้พ้นจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ

รัฐบาลจากหลายประเทศเริ่มทำงานเกี่ยวกับสนธิสัญญาฉบับนี้ร่วมกับองค์การสหประชาชาติ โดยหวังว่าจะสามารถปกป้องมหาสมุทร 1 ใน 3 ส่วนของโลก โดยไม่อนุญาตให้ทำประมงขนาดใหญ หรือทำเหมืองใต้ทะเล รวมถึงการทำอุตสาหกรรมแบบทำลายล้างทุกรูปแบบ

Corals in Ventotene Island. © Lorenzo Moscia / Greenpeace

แนวปะการังบริเวณเกาะ Ventotene ในประเทศอิตาลี

ปีนี้กรีนพีซเริ่มรณรงค์และรวบรวมรายชื่อของผู้ที่สนใจต้องการปกป้องมหาสมุทรโลก เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ผู้นำโลกร่วมหาทางออกในการอนุรักษ์ ปกป้องมหาสมุทรทั่วโลกเพื่ออนาคต และเพื่อคนรุ่นต่อไป หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่อยากปกป้องผืนมหาสมุทร สามารถลงชื่อได้ที่นี่

ไม่เคยมีครั้งไหนที่โลกต้องการการปกป้องจากพวกเราเท่าครั้งนี้ มาร่วมแสดงความรักต่อโลกใต้ทะเลสีน้ำเงินไม่เฉพาะแค่ในวันมหาสมุทรโลก (World Oceans Day)เท่านั้น  แต่เราอยากให้ทุกคนระลึกถึงความรักต่อมหาสมุทรในทุกๆ วัน เหมือนที่มหาสมุทรได้มอบความรักให้กับเรา

 


Arifsyah Nasution ผู้ประสานงานรณรงค์ทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ตัวแทนของกรีนพีซในการพูดคุยเกี่ยวกับ สนธิสัญญาทะเลหลวง และทำงานเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ให้มหาสมุทรของเรากลับสู่สมดุล

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม