ปารีส, ฝรั่งเศส – รายงานความหลากหลายทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติย้ำเตือนถึงการสูญเสียสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่อันเนื่องมาจากผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ต้องจุดประกายให้เกิดการลงมือทำอย่างเร่งด่วนในการปกป้องผืนป่า มหาสมุทรโลกและนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านระบบเกษตรกรรมและการผลิตและบริโภคอาหาร

รายงานการประเมินระดับโลกของคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศบริการ (IPBES) เตือนว่า มีสิ่งมีชีวิตกว่า 1ล้านสายพันธุ์ที่ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ถือเป็นความเสี่ยงที่สูงมากกว่าครั้งใดๆประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ทั้งนี้ รายงานยังระบุเพิ่มเติมว่าเป้าหมายเพื่อปกป้องธรรมชาติของโลกภายในปี พ.ศ.2563 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ(Strategic Plan for Biodiversity หรือ  Aichi biodiversity target) จะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ และบ่อนทำลายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)ลงครึ่งหนึ่ง

ด็อกเตอร์ คริสโตฟ ธีส์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ของกรีนพีซเยอรมนี กล่าวว่า

“นี่คือผลจากการทำลายทรัพยากรที่เกิดขึ้นจริง รัฐบาลจำเป็นต้องลงมือปฏิบัติให้ประชาชนและภาคเอกชนใส่ใจและให้ความร่วมมือในการปกป้องธรรมชาติตามที่รายงานระบุเอาไว้ ผู้นำจำเป็นต้องนำรายงานนี้ไปปรับใช้เป็นแผนการการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมครั้งต่อไปที่จีน (COP15) ในขณะนี้ ผลประโยชน์ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้สิ่งแวดล้อมเดินไปสู่หายนะ เราใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดของเราเองมากเกินไป ทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในภาวะเสี่ยงและเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

รายงานฉบับนี้ไม่เพียงแค่ต้องการการลงมือปกป้องธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังย้ำเตือนว่าหากเรายังคงไม่ระมัดระวังในการใช้ทรัพยากร ก็อาจจะเกิดหายนะทางธรรมชาติที่ไม่สามารถกู้คืนมาได้ การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพมีบทบาทอย่างมากในฐานะเป็นทางออกตามธรรมชาติของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และตอนนี้คือเวลาสำคัญที่เราจะต้องกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วยการปกป้องธรรมชาติซึ่งเป็นผู้ประคับประคองพวกเราเหล่ามนุษย์

ป่าไม้ ป่าพรุ และระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ควรจะต้องได้รับการปกป้องและฟื้นฟู โดยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมไปกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้มากที่สุด โดยการเพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากเราลงมือได้อย่างทันท่วงที เราอาจปกป้องโลกจากการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่นี้

รายงานของ IPBES ยังระบุอีกว่ามหาสมุทรกว่าร้อยละ 66 กำลังเผชิญการคุกคามจากมนุษย์ และสัตว์ทะเลก็กำลัง “ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง” ทั้งนี้รายงานยังเตือนอีกว่าความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในมหาสมุทรกำลังร่อยหรอลง ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และการปกป้องโลกจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

หลุยส์ซาร์ คาร์สสัน ผู้ประสารงานรณรงค์ปกป้องมหาสมุทรกล่าวว่า

มหาสมุทรเป็นแหล่งสนับสนุนค้ำจุนทุกชีวิตบนโลก ทั่วโลกควรร่วมมือกันหันมาใส่ใจและหาวืธีที่ดีที่สุดในการปกป้องสิ่งมีชีวิตในทะเลและธรรมชาติอันมีค่านี้ แทนที่จะหาประโยชน์จากมหาสมุทรในระยะสั้นๆ รัฐบาลต้องผลักดันมาตรการที่ยั่งยืนให้เป็นหัวใจสำคัญสู่การปกป้องมหาสมุทร

“รายงานยืนยันว่าวิธีการปกป้องมหาสมุทรในปัจจุบันนั้นไม่ได้ผล เพราะปัจจุบันนี้มีมหาสมุทรที่ได้รับการคุ้มครองเพียงร้อยละ 1 ของมหาสมุทรโลก และยังไม่มีกลไกด้านกฎหมายที่เอื้อให้เกิด “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล(Ocean Santuaries)” ในน่านน้ำสากล

เราต้องการสนธิสัญญาทะเลหลวงที่จะปกป้องผืนมหาสมุทรอย่างน้อยร้อยละ 30 จากทั้งหมด ภายใน พ.ศ.2563 สนธิสัญญาหลวงจะเปิดโอกาสให้รัฐบาลทั้งหลายทำงานร่วมกันในการปกป้องชีวิต รวมทั้งยังปกป้องความมั่นคงทางอาหารสำหรับผู้คนอีกหลายล้านคน มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์นั้นคือส่วนเชื่อมโยงสำคัญในการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

รายงานของ IPBES ย้ำเตือนว่าปัจจัยสำคัญเช่น การใช้ที่ดิน การใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิต วิกฤตสภาพภูมิอากาศ และระดับการบริโภค ได้เร่งเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน

อีริค แดริเออร์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กล่าวว่า

เรายินดีกับการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบบอาหารอย่างเร่งด่วน การกินอาหารที่มีพืชผักเป็นหลักเพื่อลดเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม จะเป็นแนวทางลดผลกระทบทางลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และดีต่อสุขภาพของมนุษย์เรา

การปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมต้องการพื้นที่การเกษตรเพื่อผลิตอาหารสัตว์เป็นจำนวนมาก ซึ่งการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรในลักษณะดังกล่าวคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าและการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพรรณพืช ดังนั้น การปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมควรบรรจุเป็นหนึ่งในนโยบายรัฐ ว่าทั่วโลกจะต้องลดการผลิตและบริโภคอาหารจากระบบปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมให้ได้ร้อยละ 50 ภายใน พ.ศ.2593

อ่านรายงานการวิเคราะห์ของกรีนพีซ

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม