ลีแอนน์ แทม ร่วมงานกับกรีนพีซในฐานะนักรณรงค์ยุติมลพิษพลาสติกมาเกือบปี ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับรัฐบาลฮ่องกงได้เริ่มหารือนโยบายเรื่องพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งหลังจากที่กรีนพีซพยายามผลักดันเรื่องนี้เป็นเวลาหลายปี ลีแอนน์ทุ่มเทอย่างเต็มที่ในฐานะนักรณรงค์มลพิษพลาสติกไม่ว่าจะเป็นการผลักดันนโยบายยุติการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการทำงานร่วมกับชุมชน นอกจากนี้ช่วงวันหยุดเธอยังทำการเกษตรแบบเชิงนิเวศด้วย

ลีแอนน์กำลังรถน้ำต้นไม้ในวันอากาศแห้งและแดดจ้า © Chilam Wong / กรีนพีซ

การทำงานในฟาร์มทำให้ลีแอนน์รู้สึกผ่อนคลายจากงานที่วุ่นวายและเครียด งานของเธอต้องเดินทางไปตามที่ต่าง ๆ อย่างบนเขาและลำธารเพื่อตรวจสอบไมโครพลาสติก ร่วมงานกับชุมชน รวมไปถึงให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ในประเด็นสิ่งแวดล้อม

ลีแอนน์ลงมือทำงานทุกอย่างในฟาร์มของตัวเองทั้งกำจัดวัชพืช รดน้ำต้นไม้ แม้จะเหนื่อยแต่เธอได้แชร์ประสบการณ์การทำเกษตรที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้พวกเราฟัง

ความตั้งใจทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศ

ช่วงสุดสัปดาห์ควรจะเป็นช่วงพักผ่อนหย่อนใจแต่ทำไมลีแอนน์ถึงได้มาทำงานที่ฟาร์ม?

ลีแอนน์เรียนจบด้านชีววิทยา แต่เป้าหมายการทำงานของเธอคือการปกป้องสิ่งแวดล้อม นั่นเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆที่ทำให้ลีแอนน์อยากลองทำการเกษตรเชิงนิเวศ เธอเป็นที่รู้จักในฐานะนักสิ่งแวดล้อมที่ทุ่มเทเวลาว่างให้กับกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างการร่วมงานกับชุมชนเรื่องกระบวนการรีไซเคิล และผลักดันให้ลีแอนน์ลงมือทำเกษตรกรรมยั่งยืนรวมถึงสนับสนุนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในปี 2564 ลีแอนน์เข้ามาร่วมงานกับกรีนพีซด้วยความมุ่งมั่นทำงานรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเธอได้เริ่มเรียนรู้ทำการเกษตรแบบยั่งยืนด้วย

‘มีคนทำเกษตรเชิงนิเวศค่อนข้างน้อย ผลผลิตที่ซื้อขายกันก็เลยน้อยลงไปด้วย ฮ่องกงในตอนนี้เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนมาก ตอนฉันเด็ก ๆ คุณปู่หลายคนเลี้ยงดูลูกให้เติบโตด้วยอาชีพเกษตรกร’ เรื่องนี้ทำให้เธอเริ่มทำเกษตรอย่างจริงจังและพยายามดูแลสุขภาพให้ดีที่สุด

ลีแอนน์กำลังทำงานในสวน ลีแอนน์ตั้งใจกับทุกงานที่เธอทำ ตั้งแต่การเป็นนักสิ่งแวดล้อมไปจนถึงการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน © Chilam Wong / กรีนพีซ

‘การเป็นเกษตรกรมันยากนะ’ เป็นประโยคที่ลีแอนน์พูดหลายครั้งในระหว่างการสัมภาษณ์ เธอไม่ได้ติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติด้วยตัวเอง การเริ่มทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนมีหลายอย่างที่ต้องลงทุนอย่างการติดตั้ง ระบบรดน้ำอัตโนมัติที่จะทำให้เธอไม่ต้องทำงานหนัก แต่ลีแอนน์อธิบายอย่างละเอียดให้ฟังว่าการติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติมีค่าใช้จ่ายประมาณสิบไปจนถึงหลายแสนดอลลาร์ฮ่องกงซึ่งถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่สำหรับคนที่เริ่มทำการเกษตร และเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ฮ่องกงทำการเกษตรโดยการเช่าพื้นที่และเป็นสัญญาระยะสั้น ดังนั้นการลงทุนกับอุปกรณ์และเครื่องมือจึงเป็นเรื่องใหญ่ไม่ว่าจะเรื่องเงินหรือจะทำอย่างไรต่อหากสัญญาเช่าที่หมดลง ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เห็นถึงความท้าทาย ข้อจำกัดของเกษตรกรรายย่อย และความเจ็บปวดของการพยายามทำเกษตรแบบยั่งยืนโดยขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล

มากกว่าการเป็นเกษตรกรแค่ในช่วงสุดสัปดาห์

ลีแอนน์เล่าว่าแปลงผักของเธอมีวัชพืชมากกว่าเพื่อนบ้าน ‘การทำฟาร์มของฉันไม่ได้ใช้พวกปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลงเหมือนกับการทำฟาร์มเชิงพาณิชย์ที่ใช้เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไวขึ้น ตรงกันข้ามการใช้สารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นการควบคุมเจริญเติบโตของพืชผักอย่างไม่เป็นธรรมชาติและยังส่งผลเสียต่อดิน ฉันปล่อยให้พืชผักเติบโตตามธรรมชาติและไม่พรวนดินเท่าไหร่นักเพราะการพรวนดินบ่อยๆจะทำลายจุลินทรีย์ในดินที่เป็นแหล่งอาหาร หากต้องการใส่ปุ๋ยฉันจะใช้ปุ๋ยที่หมักที่ทำเอง’

ลีแอนน์ทำเกษตรกรรมเชิงปฏิรูปและเข้าใจระบบนิเวศของธรรมชาติ ผักกาดอินเดียในแปลงผักของเธอเติบโตอย่างงดงาม © Chilam Wong / กรีนพีซ

การทำฟาร์มนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทดลองและหนึ่งปียังไม่พอที่จะทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ในฟาร์ม เพราะหลาย ๆ อย่างใช้เวลาหลายเดือนหรืออาจจะเป็นปี ปีแรกเป็นช่วงทดสอบขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงในปีต่อไป วีธีทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนจะปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ สำหรับเธอ “การทดลองทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน” หมายถึงความพยายามอย่างตั้งใจที่จะทำมันให้สำเร็จ

การทำการเกษตรกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม

ลีแอนน์ใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นประโยชน์ในการลงมือทำฟาร์มของเธอ เธอแนะนำให้พวกเรารู้จักกับการทำเกษตรปลอดสารเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นการใช้ปุ๋ยหมักที่มีเอนไซม์ของปลือกกล้วยที่เหลือจากกิจกรรม Power Juicy Bike ผ่านงาน “Coffee Meets Climate” ของกรีนพีซเมื่อปีที่แล้ว โดยปุ๋ยที่ได้จะเต็มไปด้วยโพแทสเซียมที่เป็นสารสำคัญสำหรับผลไม้และดอกไม้ เธอทำให้เห็นว่าการทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศเป็นเรื่องง่าย ทำได้จริง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การทำปุ๋ยหมักเองและสามารถใช้เอนไซม์ที่มีอยู่ในผลไม้ทำให้เราสามารถประหยัดต้นทุน การกำจัดอาหารอย่างถูกวิธีที่สามารถใช้ประโยชน์ได้

เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงงานรณรงค์พลาสติกที่ลีแอนน์กำลังทำงานกับกรีนพีซนั่นคือ “การลดขยะจากแหล่งที่มาและสร้างวัฒนธรรมการใช้ซ้ำ” เธอใช้โฟมห่ออาหารที่ได้มาจากการซื้อผลไม้ห่อซูกินีเพื่อป้องกันแมลงวันหรือมดที่จะมากัดกินพืชผล และพยายามใช้โฟมห่ออาหารที่เก็บไว้ให้หมดก่อนจึงขยับไปใช้ถุงห่อสำหรับการเกษตรทั่วไป ลีแอนน์ทำให้เห็นว่าเราสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบตัวเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

ในช่วงสุดสัปดาห์ ลีแอนน์พยายามอย่างมากกับการทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศในฟาร์มของเธอโดยชี้ให้เห็นว่าการทำเกษตรกรรมกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมต้องวางแผนเรื่องการใช้ที่ดินและการพัฒนาที่ยั่งยืน มนุษย์มีประวัติศาสตร์เรื่องการทำการเกษตรมาอย่างยาวนาน ดังนั้นจะต้องมีวิธีที่เราสามารถทำการเกษตรได้โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและไม่ทำลายระบบนิเวศ การรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศควรจะได้รับการแก้ไขภายใต้ประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก

ลีแอนน์ไม่ได้มองว่าตัวเองคือคนเมือง เพื่อน ๆ มักจะพูดติดตลกว่าลีแอนน์เป็นคนที่อินกับสิ่งแวดล้อมมาก แต่ลีแอนน์จะทำต่อไปได้นานแค่ไหน และจะรักษาแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง? “ถ้าใครถามฉันว่าจะทำอย่างไรให้คนส่วนใหญ่เข้าใจและทำแบบเดียวกับที่ฉันทำอยู่ฉันคิดว่าสิ่งสำคัญคือจะต้องเริ่มที่การศึกษาและโปรโมทในวงกว้าง มันแตกต่างกับการทำโฆษาชวนเชื่อนะ เราจะทำให้คนอื่น ๆ เข้าใจเราได้อย่างไรล่ะ ถ้าหากเขาไม่รู้ว่าเราคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องสิ่งแวดล้อม  ฉันคิดว่าเราต้องเริ่มที่การสร้างความเข้าใจ” สำหรับลีแอนน์แล้ว การร่วมงานกับกรีนพีซเป็นโอกาสที่ดีมากที่จะส่งต่อแนวคิดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเธอให้กับคนอื่น 

ลีแอนน์กำลังเก็บเกี่ยวผักกาดหอมจากแปลงผักของเธอ © Chilam Wong / กรีนพีซ

วันที่ได้คุยกับลีแอนน์เป็นวันที่อากาศแจ่มใสเข้ากับรอยยิ้มที่เปล่งประกายของเธอ ความมุ่งมั่นที่จะทำการเกษตรที่ยั่งยืนเป็นเรื่องที่ดีแต่ค่อนข้างท้าทายในสถานการณ์โรคระบาด แม้จะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ลีแอนน์และเพื่อนยังคงเดินหน้ารณรงค์ส่งเสริมนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนและภาคเอกชน ในปี 2565 จะมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบการยืมและคืนถ้วยและภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้ซ้ำได้สำหรับบริการสั่งกลับบ้านมากขึ้น โดยหวังว่าในอนาคตฮ่องกงจะเป็นที่ที่ปลอดพลาสติก


หากสนใจติดตามงานรณรงค์เกี่ยวกับพลาสติกของกรีนพีซ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ งานรณรงค์ยุติมลพิษพลาสติก และ แพลตฟอร์ม ‘สืบจากขยะ’ ใครกันต้องรับผิดชอบ?