ข้อเสนอของกรีนพีซในการจัดการมลพิษทางอากาศ PM2.5

การตื่นตัวกับวิกฤต PM2.5 อาจเป็นโอกาสที่จะช่วยให้คุณภาพอากาศของประเทศไทยดีขึ้น กรีนพีซยังคงเรียกร้องต่อกรมควบคุมมลพิษให้เกิดการยกระดับคุณภาพอากาศของประเทศไทยเพื่อคุ้มครองชีวิตของประชาชน เพราะแม้ว่ากรมควบคุมมลพิษจะนำ PM2.5 เข้ามาคำนวณในดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยตามข้อเรียกร้องของกรีนพีซแล้ว แต่เรายังคงยืนยันและผลักดันให้รัฐบาลกำหนดนโยบายที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องชีวิตผู้คนจากมลพิษทางอากาศ ดังต่อไปนี้
- ยกร่างมาตรฐานในบรรยากาศของ PM2.5 ขึ้นใหม่สำหรับประเทศไทยโดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
- การดำเนินนโยบายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงการดำเนินมาตรการในข้อ 8 (Article 8) ของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท
- กำหนดมาตรการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควัน (Haze-free ASEAN) อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติที่มีความเป็นธรรมทางสังคมในการควบคุม และป้องกันการเผาวัสดุการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้และพื้นที่อนุรักษ์
- ติดตามตรวจสอบและรายงานความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศอื่นๆ ที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAHs) โดยให้เป็นรายชื่อมลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ(Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)
- ดำเนินนโยบายการจัดการคุณภาพอากาศให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ของคนทุกเพศทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) ตามเป้าประสงค์ที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากมลพิษทางอากาศโดยมีตัวชี้วัด คือประชากรในเขตเมืองที่ได้รับมลพิษทางอากาศกลางแจ้งเกินค่ามาตรฐานตามค่าที่กำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เพิ่มข้อกำหนดใน “มาตรฐานสัญญา” และ “การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ” ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา (หรือที่รู้จักกันว่ากฏหมายเกษตรพันธสัญญา)โดยเน้นขยายความรับผิดชอบของบริษัทและผู้ประกอบการเมื่อเกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้นจากเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว เช่น ในกรณีเกิดหมอกควันจากการเผาในพื้นที่ที่เป็นเกษตรแบบพันธสัญญา และรับประกันว่าความเสี่ยงของเกษตรกรจะถูกกระจายอย่างเป็นธรรม
- ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน และเกษตรกรรมยั่งยืน ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นธรรมระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับผู้ประกอบการมีการจัดการ/จัดสรรงบประมาณจัดสรรในสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายย่อย รวมถึงระบบสินเชื่อเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และตลาดสีเขียว
กระทรวงสาธารณสุข
- ดำเนินนโยบายการจัดการคุณภาพอากาศให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ของคนทุกเพศทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) ตามเป้าประสงค์ที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากมลพิษทางอากาศโดยมีตัวชี้วัด คือประชากรในเขตเมืองที่ได้รับมลพิษทางอากาศกลางแจ้งเกินค่ามาตรฐานตามค่าที่กำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ดังต่อไปนี้
-
พัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสมลพิษทางอากาศเพื่อประโยชน์ในการประมาณการและคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยจากกลุ่มโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง(ทั้งระยะสั้นและระยะยาว) และคาดการณ์ได้ถึงจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในช่วงอายุต่างๆได้
-
ประเมินโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลในพื้นที่มีระดับมลพิษสูงถึงการเตรียมพร้อมการเผชิญเหตุ จากโรคและการเจ็บป่วย ด้วยการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยในแต่ละโรคที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางให้ โรงพยาบาลในพื้นที่มีแผนรองรับและดูแลให้คาแนะนาแก่ผู้ป่วยที่มีโรคดังกล่าวในช่วงที่ระดับมลพิษสูง
-
จัดประชุม เผยแพร่รูปแบบ การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วยในช่วงที่มีปัญหาจากมลพิษทางอากาศ
-
ติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของผลกระทบต่อสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำมาตรการลดมลพิษอากาศอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้ เช่น การเปลี่ยนชนิดน้ามันเชื้อเพลิง เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการคำนึงถึงประโยชน์ทางสาธารณสุข จากนโยบาย หรือมาตรการในการลดมลพิษอากาศ
-
การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและการป้องกันที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ รวมทั้งมีการแจ้งเตือนเมื่อระดับมลพิษสูง เป็นวิธีการที่ช่วยให้ประชาชนสามารถป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยง การได้รับมลพิษทางอากาศ ส่งผลตามมาทำให้ลดผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศได้
-
- ประกาศดัชนีผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ (Air Quality Health Index) แยกออกจากดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI) ของกรมควบคุมมลพิษเพื่อใช้สื่อสารและปกป้องประชาชนกลุ่มเสี่ยง
กรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และฝุ่นละออง ขนาดเล็กทั้ง PM10 และ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่โดยให้เป็นรายชื่อมลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)
- กําหนดค่ามาตรฐานPM2.5และปรอทที่แหล่งกําเนิดที่อยู่กับที่รวมถึงการตรวจวัดและรายงานการปล่อย PM2.5 และปรอทจากปล่องโรงไฟฟ้าโดยให้เป็นรายชื่อมลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)
กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมยานยนต์
- ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนในภาคการขนส่ง
- ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและราคาที่สมเหตุสมผล
- บริหารจัดการด้านการใช้พลังงานในภาคการขนส่งทางถนนโดยการปรับปรุงระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ด้านการใช้พลังงานมากขึ้น
- บริหารจัดการอุปสงค์เพื่อการเดินทางที่ไม่จําเป็น สนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ระบบขนส่ง สาธารณะและรูปแบบการขนส่งสินค้าที่ประหยัดพลังงาน
- จัดการสิ่งแวดล้อมด้านการขนส่งทางถนนโดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานสะอาด สนับสนุนการใช้จักรยาน การเดิน ยานพาหนะไฟฟ้าและการส่งเสริมการขับขี่ที่ประหยัดเชื้อเพลิง (Eco driving)

การจราจรบริเวณแยกอโศกตัดกับถนนเพชรบุรี ในวันที่กรุงเทพมหานครมีฝุ่นละอองคล้ายหมอกควันปกคลุมในหลายพื้นที่
ในวันนี้กรมควบคุมมลพิษได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลว่าบริเวณพื้นที่ริมถนน 20 พื้นที่ มีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดได้ที่ 56-103 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ทั่วไป 14 พื้นที่ อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดได้ที่ 55-96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมการแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัยหากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง
นอกจากนี้ กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่เจาะจง(specific) วัดได้(measurable) ทำได้(Attainable) สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่(Relevant) โดยเฉพาะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน(Time-bound) ดังนี้
กรอบเวลา |
มาตรฐาน PM2.5 (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)สำหรับประเทศไทย |
||
ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง |
ค่าเฉลี่ย 1 ปี |
หมายเหตุ |
|
ปี พ.ศ.2553 |
50 |
25 |
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 36 |
ปี พ.ศ.2562 |
35 |
12 |
ค่าที่ป้องกันผลกระทบสุขภาพได้มากที่สุดจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทำขึ้นในปี 2547 |
ปี พ.ศ.2573 |
25 |
10 |
ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกและ กรอบเวลาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) |
นอกจากการยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศแล้ว การออกมาตรการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศก็ควรเป็นประเด็นที่ภาครัฐต้องจัดการควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันเมืองใหญ่ในหลายๆประเทศก็มีการออกนโยบาย กฎหมาย เพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศในหลากหลายรูปแบบ เช่นการจัดการมลพิษทางอากาศด้วยวิถี “เมืองยั่งยืน”
- กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการสนับสนุนให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น โดยไม่อนุญาตให้รถยนต์ส่วนตัววิ่งในย่านศูนย์กลางเมืองในช่วงสุดสัปดาห์ ห้ามใช้รถยนต์ในย่านฌ็องเซลิเซ่ 1 ครั้ง ต่อเดือน อีกทั้งยังสนับสนุนการใช้จักรยานโดยจัดทำโครงการยืมจักรยาน หรือเรียกกันว่า ธนาคารจักรยาน
- เนเธอร์แลนด์ เสนอนโยบายห้ามการขายรถยนต์ดีเซล และหากร่างนโยบายนี้ผ่านการอนุมัติก็จะมีผลบังคับใช้ภายในปีพ.ศ.2568 โดยการขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ดี ร่างนโยบายนี้ยังคงอนุโลมให้ประชาชนที่มีรถยนต์ดีเซลอยู่ก่อนแล้วสามารถใช้รถต่อไปได้
- รัฐบาลชุด มุน แจอิน ในประเทศเกาหลีใต้ อนุมัติให้ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินในเกาหลีใต้ 8 แห่งชั่วคราวเพื่อลดมลพิษทางอากาศ โดยในปีที่ผ่านมารัฐบาลสั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้เป็นเวลา 4 เดือนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และมีแผนการจะปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงเก่าถาวรภายในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2563 เพื่อลดมลพิษทางอากาศและทำตามข้อตกลงปารีส เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง แม้ว่าในปัจจุบันโรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้ผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศถึงร้อยละ 40 ก็ตาม
- โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก จะให้ความสำคัญกับการใช้จักรยานทดแทนรถยนต์ส่วนตัว แนวคิดของการใช้จักรยานนี้คือการคิดถึงมูลค่าของจักรยานเทียบกับรถยนต์ โดยการขี่จักรยาน 1 ไมล์ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.42 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การขับรถยนต์ส่วนตัวเป็นระยะทาง 1 ไมล์ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.20 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้เมืองส่วนใหญ่ในเดนมาร์กเริ่มทยอยหยุดใช้รถยนต์มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วเพื่อทำตามนโยบายเมืองที่มุ่งจะเป็นเมือง Carbon Neutral หรือเมืองที่มีกิจกรรมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเท่ากับ ศูนย์ภายในปี พ.ศ.2568
ตัวอย่างการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศในเชิงปฏิบัติของแต่ละประเทศข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นว่าหลายๆประเทศกำลังต่อกรกับปัญหามลพิษทางอากาศในระยะยาว ทั้งการส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะที่ทีราคาถูกและประสิทธิภาพสูง การสนับสนุนการใช้จักรยานเพื่อลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัว หรือการวางแผนลดรถยนต์ส่วนตัวด้วยการห้ามขายรถยนต์ดีเซล ไปจนกระทั่งการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อลดมลพิษทางอากาศ
สำหรับการป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศนั้น กรีนพีซได้จัดทำ คู่มืออากาศสะอาด (Unmask Our Cities) เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับเราทุกคนในการเรียนรู้ที่จะป้องกันสุขภาพจากฝุ่นพิษ PM2.5
Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน