ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือระบบที่ทำให้มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งผืนป่า มหาสมุทรอันอุดมสมบูรณ์จะช่วยให้เราต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เป็นแหล่งผลิตอากาศให้เราหายใจและเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายใหม่ที่อาจจะเกิดการระบาด เมื่อเราปกป้องธรรมชาติก็เท่ากับเราปกป้องตัวเองไปด้วย 

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินว่า พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายไปราว 10 ล้านเฮกตาร์ต่อปี โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้คือ การขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตร

22%

คือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2562 จากการใช้ที่ดินในการเกษตร เป็นรองจากภาคพลังงาน

11.8 ล้านไร่

คือผืนป่าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระหว่างปี 2558-2566

6%

คือปริมาณความร้อนที่มหาสมุทรกักเก็บมาจากโลกเพื่อไม่ให้โลกร้อนเกินไป

ระบบนิเวศทั่วโลกกำลังถูกทำลาย

หนึ่งในปัญหาที่ชัดเจนนั่นก็คืออุตสาหกรรมทำลายล้างที่กำลังคุกคามระบบนิเวศของโลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ไม่เพียงแค่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มาในรูปแบบของธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรของโลกเช่น ธุรกิจเชื้อเพลิงฟอสซิล ธุรกิจที่บุกรุกป่าด้วยการเผาเพื่อเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์ การเข้าไปเอาทรัพยากรในมหาสมุทรห่างไกลและลึกลงไปมากขึ้นเท่านั้น แต่พวกเขายังก่อมลพิษทางการเมือง เป็นอุปสรรคต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม ทำให้ตอนนี้เหลือผืนป่าบนโลกเพียงแค่ 15% และมหาสมุทรเพียง 3% เท่านั้นที่ยังไม่ถูกมนุษย์เข้าไปตักตวงทรัพยากร

งานรณรงค์ของกรีนพีซด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

กรีนพีซ ประเทศไทย รณรงค์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

กรีนพีซรณรงค์ผลักดันให้เหล่าผู้นำจะต้องหยุดยกผลประโยชน์ของกลุ่มทุนขึ้นมาเหนือกว่าคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารตั้งแต่วิธีการผลิตไปจนถึงการบริโภคอาหารและสินค้าต่าง ๆ

การปรับปรุงแบบนี้จะช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม สร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลกที่คุ้มครองสัตว์ทะเลและทรัพยากร

ทั้งนี้ โลกต้องตระหนักถึงการทำงานของชนพื้นเมือง ด้วยความรู้และภูมิปัญญาที่สั่งสมมา กลายเป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพสำหรับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ แม้ว่าชนพื้นเมืองจะเป็นประชากรเพียง 5% ของโลก แต่พวกเขากลับเป็นผู้ปกป้องระบบนิเวศในผืนป่าและน้ำของโลกกว่า 80%

'We Grow' Launch Event in Thailand. © Baramee  Temboonkiat / Greenpeace