วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

วิกฤตสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ขึ้นสู่บรรยากาศโลกในช่วงเวลากว่า 160 ปี 

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ดูดซับและกักเก็บความร้อนที่แผ่ออกจากโลก ทำให้โลกร้อนขึ้น

Drought Impacts Elbe River's Water Level in Germany. © Chris Grodotzki / Greenpeace

1.5 ° C

คืออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่ต้องคงไว้ไม่ให้เกินไปมากกว่านี้ เพื่อชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

420 ล้านคน

คือตัวเลขประชากรที่จะได้รับผลกระทบหากโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเกินกว่า 2 องศาเซลาเซียส

9 ใน 10

คือระบบนิเวศปะการังที่คาดว่าจะถูกทำลายหากโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเกินกว่า 2 องศาเซลาเซียส

Global Climate Strike in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace

การปล่อยก๊าซนี้เชื่อมโยงกับกิจกรรมของมนุษย์ทั้งจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ในที่สุด จากภาวะโลกร้อนก็นำไปสู่วิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตรายต่อเราและโลก

งานรณรงค์ของกรีนพีซเพื่อกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

กรีนพีซรณรงค์เพื่อให้โลกสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้นเหตุ

เราคัดค้านทางออกที่เป็นการฟอกเขียว (Green Washing) และสนับสนุนแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2573 และลดลงเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593

Activists Deliver Messages to the Visiting APEC Leaders in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace

– ยุติการใช้พลังงานฟอสซิล – รายงานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า การใช้ถ่านหินทั่วโลกต้องลดลง 2 ใน 3 ภายในปี พ.ศ.2573 และเกือบเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2593

– ใช้พลังงานและผลิตไฟฟ้าแบบคาร์บอนต่ำในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคเมือง

– ลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมที่มาจากการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมลงร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ.2593

– ปกป้องผืนป่าโดยลดการทำลายป่าไม้ให้เป็นศูนย์ รวมถึงการดูแลผืนป่าที่มีอยู่และการอนุรักษ์ดินเพื่อขยายศักยภาพในการกักเก็บและดูดซับคาร์บอน

– ปกป้องมหาสมุทร มหาสมุทรช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอน และควบคุมอุณหภูมิและสภาพอากาศของโลก

– เรียกร้องการเปลี่ยนผ่านในเชิงระบบและในมิติทางสังคม ทั้งในภาคพลังงาน ที่ดิน ระบบอาหาร การจัดการเมือง ระบบการบริโภคและภาคอุตสาหกรรม ผ่านนวัตกรรมทางสังคม พฤติกรรมของประชาชนและเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยขึ้น 

การเปลี่ยนผ่านพลังงานจะต้องคำนึงถึงทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง