กู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

การจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส จะลดความเสี่ยงที่มีต่อระบบนิเวศของโลก สุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คน อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นหายนะ การลงมือทำของเราในวันนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่น่าอยู่ ยั่งยืนและปลอดภัยของทุกคนทั้งปัจจุบันและอนาคต

ชายในรูปกำลังหาของบางอย่างหลังจากไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนพัดเข้าถล่มเมืองตาโลบันในฟิลิปปินส์ ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเข้าถล่มฟิลิปปนส์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 มีแนวโน้มที่พายุหมุนเขตร้อนจะเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นหากโลกยังไม่ลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การไปให้ถึงเป้าหมาย เราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2573 และลดลงเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 โดย
- ลด ละ เลิกการใช้ถ่านหิน – รายงานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า การใช้ถ่านหินทั่วโลกต้องลดลง 2 ใน 3 ภายในปี พ.ศ.2573 และเกือบเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2593
- การใช้พลังงานที่ชาญฉลาดขึ้น – การใช้พลังงานและการผลิตไฟฟ้าแบบ คาร์บอนต่ำในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคเมืองคือองค์ประกอบสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเชิงระบบ
- ลดเนื้อ เพิ่มผัก –ลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมที่มาจาก การปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมลงร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ.2593
- ปกป้องผืนป่าโดยมุ่งลดการทำลายป่าไม้ให้เป็นศูนย์ – ป่าไม้และที่ดินมีบทบาทสำคัญต่อเป้าหมายการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงการดูแลผืนป่าที่มีอยู่และการอนุรักษ์ดินเพื่อขยายศักยภาพในการกักเก็บและดูดซับคาร์บอน
- การเปลี่ยนผ่านเชิงระบบและในมิติทางสังคมมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งในภาคพลังงาน ที่ดิน ระบบอาหาร การจัดการเมือง ระบบการบริโภคและ ภาคอุตสาหกรรมโดยนวัตกรรมทางสังคม พฤติกรรมและเทคโนโลยีแบบใหม่ การบรรลุผลวางอยู่ทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวและคำนึงถึงมิติการพัฒนามนุษย์อย่างผสมผสานและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน