All articles
-
กรีนพีซผลักดันให้มีมาตรการการจัดการและการอนุรักษ์ปลาทูน่าที่เข้มแข็งมากขึ้นในการประชุมคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตก
กรีนพีซระบุว่าคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตกจะต้องเห็นชอบต่อมาตรการการจัดการและการอนุรักษ์ปลาทูน่าที่รับรองว่าจะมีการฟื้นฟูประชากรปลา เช่น ปลาทูน่า ที่กำลังหร่อยหรอลง ให้ไปถึงระดับที่มีความอุดมสมบูรณ์
-
ปฏิบัติการถาดหลุมสีเขียว ส่งเสริมอาหารกลางวันโรงเรียนให้ยั่งยืน ปลอดภัย ใช้วัตถุดิบปลอดสารเคมี
มูลนิธิการศึกษาไทย และกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกันจัดกิจกรรม We Grow ตอนปฏิบัติการถาดหลุมสีเขียว เพื่อเปิดตัวโครงการอาหารกลางวันยั่งยืน
-
23 ประเทศและรัฐทั่วโลก ลด ละ เลิกถ่านหิน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวม 432 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลการวิจัยครั้งล่าสุดของ โคลสวอร์ม และ กรีนพีซ พบว่า ตั้งแต่ปี 2553 มากกว่าหนึ่งในสี่ของบริษัท 1,675 แห่ง ที่เป็นเจ้าของโครงการหรือวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้เลิกประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมถ่านหินแล้วทั้งหมด
-
จุดยืนของกรีนพีซสากลต่อการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือประกาศความสำเร็จในการทดลองนิวเคลียร์ โดยใช้ระเบิดไฮโดรเจนที่มีพลังทำลายมากกว่าที่เคยใช้มาก่อน คาดการณ์ว่า เป็นการทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่หก ที่ดำเนินการโดยเกาหลีเหนือ
-
แถลงการณ์กรีนพีซ กรณีคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) เห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา
กรุงเทพฯ, 19 สิงหาคม 2560 - จากการที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.) เห็นชอบรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลาในการประชุมที่เร่งด่วน ปิดลับและปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในวันที่ 17 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา นางสาวจริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า
-
กรีนพีซระบุหลายเมืองในประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 และล้มเหลวที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
กรุงเทพฯ, 8 สิงหาคม 2560 – กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมวลค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 19 จุดใน 14 เมืองทั่วประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ระบุ ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ PM 2.5 ทั้ง 14 เมืองเกินค่าความปลอดภัยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ความเข้มข้นของ PM2.5 ในเขตเมืองเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน[1] กรีนพีซเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษปรับปรุงดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยโดยนำค่าเฉลี่ยของ PM2.5มาใช้ในการคำนวณ (PM2.5 AQI)
-
ข้อเสนอภาคประชาชน ต่อการจัดทำร่างกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ….. (โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 กำหนดให้ก่อนการตรากฎหมาย ทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้น ต่อประชาชน ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 ได้กำหนดแนวทางให้หน่วยงานรัฐดำเนินการตราร่างพระราชบัญญัติตามหลักการที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของการรับฟังความคิดเห็นไว้ว่า ให้หน่วยงานรัฐเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์อย่างน้อย 15 วัน ผลปรากฏว่าหน่วยรัฐจำนวนมากเร่งดำเนินการนำร่างกฎหมายเปิดรับฟังความคิดเห็นด้วยหลักเกณฑ์ขั้นต่ำดังกล่าว โดยไม่สนใจว่าจะเป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงหรือไม่
-
ไทยยูเนี่ยนให้คำมั่นต่อการผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
กรุงเทพฯ, 11 กรกฎาคม 2560 - บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ให้คำมั่นต่อมาตรการที่จะขจัดการประมงผิดกฎหมาย (illegal fishing) และการประมงเกินขนาด (overfishing) และปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานนับแสนคนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของบริษัท
-
ข้อตกลงระหว่างกรีนพีซและบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป
ระบบนิเวศทางทะเลตกอยู่ในภาวะอันตรายอันเนื่องมาจากการประมงเกินขนาด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลกต้องดําเนินการแก้ไขและจัดการกับปัญหาที่เร่งเร้าให้เกิดการประมงเกินขนาดและคุกคามวิถีชีวิตของผู้คนนับล้านคนที่ต้องพึ่งพาท้องทะเล
-
จดหมายเปิดผนึกถึงกรมควบคุมมลพิษ ว่าด้วยร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี(พ.ศ.2560-2579)
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะองค์กรรณรงค์อิสระด้านสิ่งแวดล้อมและทำงานรณรงค์ “ขออากาศดีคืนมา” มีความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ดังต่อไปนี้