All articles
-
“สมถะ” ร้านอาหารมังสวิรัติเพื่อโลกผ่านการกินอย่างเรียบง่าย
เมื่อพูดถึงอาหารมังสวิรัติ แม้ว่าเราจะเข้าใจตรงกันว่า คืออาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ หากนิยามของอาหารมังสวิรัติที่แต่ละคนมีก็ย่อมจะแตกต่างกันไป แต่สำหรับ ริบบิ้น–นิชาภา นิศาบดี เจ้าของร้าน ‘สมถะ’ ร้านอาหารมังสวิรัติเปิดใหม่แห่งเมืองเชียงใหม่ เธอนิยามมันว่าคือ ‘ความเรียบง่าย’ ไม่ใช่อาหารราคาแพงๆ อย่างที่เรามักจะเข้าใจกัน
-
ซูเปอร์มาเก็ตในป่าชุมชน
“ถ้ามีโครงการเหมืองถ่านหิน พวกเราจะไปอยู่ที่ไหน? เรากินอยู่กับป่า เรารักษาป่า เพราะป่าคือชีวิตเรา เราไม่เชื่อหรอกว่าการมีเหมืองถ่านหินพวกเราจะรวย เราจะตายต่างหาก”
-
‘ปลดระวางถ่านหิน เคารพสิทธิมนุษยชน’ คำเรียกร้องถึง SCG ในวันที่พลังงานฟอสซิลเป็นเรื่องล้าหลัง และความยั่งยืนเป็นนโยบายเรือธงขององค์กร
กรีนพีซ ประเทศไทย จัดงาน ‘ฮักภาคเหนือ บ่เอาถ่านหิน’ บริเวณประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ และจัดให้มีเวทีเสวนา ‘ถ้าฮักบ้านเฮา: ต้องเริ่มปลดระวางถ่านหินและเคารพสิทธิมนุษยชน’ ขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา
-
มองน้ำท่วมในมุม Climate Injustice เมื่อกลุ่มคนที่ปล่อยคาร์บอนน้อยสุดต้องรับแบกรับผลจากภัยพิบัติจากโลกเดือดมากที่สุด
ข้อถกเถียงสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่มและโคลนที่ตามมาจากมวลน้ำที่ไหลมาจากพื้นที่ภูเขา ในสายตาของสังคมพุ่งไปยังชุมชนคนกับป่าที่อาศัยอยู่บนดอยว่าเป็นต้นเหตุของการทำลายป่า อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่ทำให้หลายพื้นที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับพายุรุนแรงและน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้มีที่มาเพียงแค่การหายไปของพื้นที่ป่าไม้ แต่ยังเป็นผลของการก่อก๊าซเรือนกระจกมหาศาลและอย่างยาวนานของอุตสาหกรรมหลายภาคส่วน
-
สรุปวงสนทนา #ฮักภาคเหนือบ่เอาถ่านหิน : เสียงจากคนภาคเหนือร่วมคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหิน
เป็นเวลาร่วม 5 ปีแล้วที่ชุมชนบ้านบอม อ.แม่ทะ จ.ลำปาง และชุมชนกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เดินหน้าปกป้องพื้นที่จากโครงการเหมืองถ่านหินไม่ให้เกิดขึ้นอีก ในปีนี้ กรีนพีซ ประเทศไทยหนึ่งในภาคีเครือข่ายร่วมคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหินกับชุมชน จัดวงพูดคุย X Space #ฮักภาคเหนือบ่เอาถ่านหิน เสียงจากคนภาคเหนือในการคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหิน
-
“มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี”: ประชาชนอยู่ตรงไหนในนโยบายของแพทองธารด้านปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดน
บทความนี้นำเสนอประเด็นที่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ไม่ได้ระบุในคำแถลงนโยบายต่อการแก้ปัญหาฝุ่นพิษข้ามแดน ซึ่งนอกจากจะไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริงแล้ว อาจซ้ำเติมปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย
-
อุบัติภัยอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มาบตาพุดครั้งล่าสุดย้ำถึงความจำเป็นของสนธิสัญญาพลาสติกโลกในการลดการผลิตพลาสติกเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศและยุติสารเคมีเป็นพิษเพื่อคุ้มครองสุขภาพของมนุษย์
ความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากมลพิษอุตสาหกรรมพลาสติกนั้นแตกต่างกันไป คนส่วนใหญ่ทั่วโลกจะรับสัมผัสอนุภาคพลาสติกและสารเคมีที่เกี่ยวข้องในหลายขั้นตอนของวงจรชีวิตของพลาสติก ในที่นี้ เราจะเปิดปูมให้เห็นถึงมลพิษจากอุตสาหกรรมพลาสติกพีวีซีในประเทศไทย
-
ส่องนโยบายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้รัฐบาลแพทองธาร
แม้รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะยอมรับว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายของประเทศ แต่นโยบายด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังไม่อยู่ในนโบายเร่งด่วนที่ต้องทำทันที แต่อยู่ในนโยบายระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งยังมีความคลุมเครือและไม่สอดคล้องกันระหว่างนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
-
ระวัง! วาฬ 3 ชนิดที่อาจตกอยู่ในอันตรายหากเกิดโครงการเหมืองทะเลลึกในอาร์กติก
ขณะนี้รัฐบาลนอร์เวย์กำลังวางแผนที่จะเปิดพื้นที่หลายแห่งในทะเลนอร์วิเจียนเพื่อเริ่มทดลองโครงการสุดอันตรายนี้ แน่นอนว่าโครงการเหมืองที่จะเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบและทำให้ระบบนิเวศในทะเลปั่นป่วน โดยเฉพาะมลพิษทางเสียงและการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในทะเล และหมายรวมถึงวาฬหลายชนิด มลพิษทางเสียงนั้นจะเป็นภัยคุกคามรุนแรงต่อสัตว์ที่มีความเปราะบางและอ่อนไหวต่อเสียง
-
“ฮักภาคเหนือ บ่เอาถ่านหิน” กรีนพีซ เรียกร้องให้ SCG ต้องเริ่มปลดระวางถ่านหิน
กรีนพีซ ประเทศไทยจัดงาน “ฮักภาคเหนือ บ่เอาถ่านหิน” ที่บริเวณประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรณรงค์และสื่อสารเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการเหมืองถ่านหินที่จะละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรียกร้องให้บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG หยุดแผนการรับซื้อถ่านหินจากโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และยุติโครงการเหมืองถ่านหินที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง พร้อมต้องสื่อสารต่อสาธารณะและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข