All articles
-
ส่องนโยบายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้รัฐบาลแพทองธาร
แม้รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะยอมรับว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายของประเทศ แต่นโยบายด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังไม่อยู่ในนโบายเร่งด่วนที่ต้องทำทันที แต่อยู่ในนโยบายระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งยังมีความคลุมเครือและไม่สอดคล้องกันระหว่างนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
-
ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่ยังคงเลือนรางต่อไป ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ต่อรัฐสภาวันที่ 12 กันยายน 2567
check list เปรียบเทียบ ข้อเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมที่รวบรวมจากการทำงานรณรงค์อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมากับคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนล่าสุด
-
การสร้างและการทำลายจากโครงสร้างของมนุษย์ ในภาพยนตร์ Solids by the Seashore (ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง)
สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างเพื่อควบคุมธรรมชาติ ซึ่งผ่านการตัดสินใจโดยไม่ได้รับฟังความเห็นรอบด้านของรัฐ มักเป็นปัญหาที่ปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ทั้งส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ทั้งด้านความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่หายไป สิทธิทำกินและอยู่อาศัย รวมถึงความสวยงาม
-
พื้นที่คุ้มครองทางทะเล: บ้านเราให้เราดูแลและออกแบบอนาคตยั่งยืน
“เอกสารสรุปเชิงนโยบายการจัดพื้นที่คุ้มครองทางทะเลโดยชุมชนเป็นผู้นำเพื่อการออกแบบอนาคตยั่งยืน” ถึงมือนายมาหะมะพีสกรี วาแม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา แล้ว! ในงานรณรงค์ปกป้องทะเลและมหาสมุทรภายใต้โครงการ “Rainbow Warrior Ship Tour 2024: Ocean Justice” ที่หาดสวนกง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
-
เครือข่ายชุมชนชายฝั่ง และกรีนพีซ ประเทศไทย ส่งมอบ ‘เอกสารสรุปเชิงนโยบายการจัดพื้นที่คุ้มครองทางทะเลโดยชุมชนเป็นผู้นำเพื่อการออกแบบอนาคตยั่งยืน’ ต่อตัวแทนรัฐบาล ผลักดันการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายในพื้นที่บ้านเกิด
เครือข่ายชุมชนชายฝั่งจาก เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น, สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ, จะณะแบ่งสุข, เครือข่ายนาทวียั่งยืน และ กรีนพีซ ประเทศไทย จัดกิจกรรมมอบ “เอกสารสรุปเชิงนโยบายการจัดพื้นที่คุ้มครองทางทะเลโดยชุมชนเป็นผู้นำเพื่อการออกแบบอนาคตยั่งยืน” ต่อนายมาหะมะพีสกรี วาแม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในงานรณรงค์ปกป้องทะเลและมหาสมุทรภายใต้โครงการ “Rainbow Warrior Ship Tour 2024: Ocean Justice” ที่หาดสวนกง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
-
บ้านเรา ให้เรามีส่วนร่วม : เสียงของชุมชนชายฝั่งที่อยากให้รัฐรับฟัง
8 มิถุนายน 2567 ซึ่งเป็นวันมหาสมุทรโลก (World Oceans Day) เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์และกรีนพีซ ประเทศไทยจึงใช้โอกาสนี้เชิญชวนกลุ่มชุมชนชายฝั่ง ผู้ปกป้องทรัพยากรทางทะเลและสิทธิของชุมชน มาร่วมพูดคุยและนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางด้านการจัดการทรัพยากรทะเลชายฝั่ง ด้านความมั่นคงทางอาหาร และสิทธิชุมชนชายฝั่ง เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ร่วมกัน ในวงสนทนาบนเรือ “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการทรัพยากรทะเล”
-
“ให้เราพูดแทนสัตว์ทะเล”: เสียงจากเยาวชนผู้อยู่เบื้องหลัง Mystery of Ocean
จับเข่าคุยกับกลุ่มคนรุ่นใหม่เจ้าของนิทรรศการฉายภาพโปรเจคเตอร์ Mystery of Ocean ส่วนหนึ่งของงาน Rainbow Warrior Ship Tour 2024: Ocean Justice พาทุกคนดำดิ่งไปใต้ท้องทะเลไทยที่มีทั้งความสวยงามและปัญหาที่คุกคามทั้งความอุดมสมบูรณ์ทางทะเล ชุมชนชาวประมงชายฝั่ง รวมถึงความมั่นคงทางอาหาร
-
กรีนพีซร่วมกับชุมชนชายฝั่งชุมพรเรียกร้องพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่ชุมชนมีส่วนร่วม ในวันมหาสมุทรโลก
เนื่องในวันมหาสมุทรโลก ชุมชนประมงชายฝั่งในอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ร่วมกับ กรีนพีซ ประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ เครือข่ายประชาชน และองค์กรภาคประชาสังคม ทำกิจกรรมโดยใช้เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ เรือธงในการรณรงค์ของกรีนพีซเป็นสัญลักษณ์ ผลักดันพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล เพื่อปกป้องทะเลไทย สิทธิชุมชนชายฝั่ง และความเท่าเทียมทางด้านสิ่งแวดล้อม
-
Diversity is Nature : เพราะความหลากหลายคือธรรมชาติของโลก แล้วนโยบายรัฐไทยโอบรับความหลากหลายของชุมชนหรือยัง?
เฉลิมฉลองเดือนแห่งความหลากหลาย (Pride Month) เราจึงชวนกลุ่มคนที่ทำงานในประเด็นความหลากหลายในมิติต่างๆไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ เพศ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มาร่วมพูดคุยกันในวงเสวนา Diversity is Nature โดยมี อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไครียะห์ ระหมันยะ ลูกสาวแห่งท้องทะเลจะนะ เยาวชนและนักกิจกรรมจากเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จ.สงขลา และวิภาวดี แอมสูงเนิน นักรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ ประเทศไทย
-
เรนโบว์ วอร์ริเออร์ เรือธงของกรีนพีซ ถึงประเทศไทยแล้ว
กรีนพีซ ประเทศไทย จัดงาน “Rainbow Warrior Ship Tour 2024: Ocean Justic” ที่มิวเซียมสยาม ในโอกาสที่เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ เรือธงที่ใช้ในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซ เดินทางมาประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อทำงานร่วมกับชุมชน ภาคประชาสังคม องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล เพื่อปกป้องทะเลไทย และสิทธิชุมชนชายฝั่ง และความเท่าเทียมทางด้านสิงแวดล้อม