สถานะ ชะลอโครงการ
ในปี2551 ได้มีบริษัทแห่งหนึ่งส่งตัวแทนเข้ามากว้านซื้อที่ดินของประชาชน เพื่อปลูกต้นไม้ ได้แก่ ยูคาลิปตัส หรือยางพารา การซื้อที่ดินเพื่อปลูกต้นกระดาษแต่เปลี่ยนมาทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ต่อมาปี2552 ทางบริษัทได้มีการขออนุญาตสำรวจแร่ ซึ่งเห็นว่าพื้นที่ใดที่ปลูกป่าก็ปลูกไป ส่วนพื้นที่ใดที่สำรวจพบแร่ก็จะดำเนินการขออนุญาตทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์
ในการประชุมชี้แจงข้อมูลของบริษัทเหมืองดังกล่าวไม่เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ผลกระทบที่จะเกิดจากการทำเหมืองสามารถแก้ไขได้นั้น การชี้แจงดังกล่าวไม่มีการนำเสนอรายละเอียดการดำเนินงานขั้นตอนการประกอบกิจการที่จะใช้ปฏิบัติ รวมทั้งไม่มีการนำเสนอเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อศึกษาทำความเข้าใจ แต่กลับสรุปข้อความแต่เพียงคำกล่าวของตัวแทนบริษัทผู้ชี้แจงว่า ถ้าผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจการชี้แจงเรื่องการประทานบัตรตั้งแต่ต้นมาจนจบที่ได้กล่าวในที่ประชุมนั้นก็ขอให้ยกมือให้ดู เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นกระบวนการชี้แจงข้อมูลและสอบถามความเห็นโดยโปร่งใส เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2553 ที่ศาลาเอนกประสงค์โรงเรียนบ้านแหงเหนือ โดยมีนายอำเภองาว เจ้าหน้าที่ของบริษัท ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหง ซึ่งมีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหงเป็นผู้บันทึกการประชุมและผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1และหมู่ที่ 7 เป็นผู้รับรองรายงานการประชุม ตามรายงานดังกล่าวอ้างว่า มีชาวบ้านหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 7 ที่เข้าร่วมประชุมลงมติยกมือเห็นชอบ 316 คนนั้น
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ฝ่ายชาวบ้านได้ทำการบันทึกภาพเหตุการณ์ในการจัดประชุมเมื่อเดือนกันยายน ปี2553 ไว้ในแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียง พบว่า ในการประชุมดังกล่าวมีแต่การชี้แจงของเจ้าหน้าที่บริษัทแต่เพียงฝ่ายเดียว
การถามความเห็นเพียงเท่าที่กล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมย่อมเข้าใจได้ว่าเป็นการสอบถามว่าชาวบ้านรับฟังคำชี้แจงแล้วเข้าใจหรือไม่ ไม่ใช่เป็นการสอบถามความเห็นชอบว่า ยินยอมหรืออนุญาตให้ผู้ถูกร้องได้รับประทานบัตรและประกอบกิจการเหมืองแร่ถ่านหินตามที่อ้างแต่อย่างใด ดังนั้น บันทึกการประชุมดังกล่าวจึงเป็นบันทึกการประชุมที่ไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงตามที่ได้สรุปบันทึกไว้ว่า ผู้เข้าร่วมประชุมได้ยกมือเห็นชอบกับการทำเหมืองตามที่อ้างแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังได้พบข้อเท็จจริงว่าการประชุมดังกล่าวมีการนำชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านของพื้นที่อื่นที่มิใช่ชุมชนในบริเวณเขตประทานบัตรมาเข้าร่วมประชุมด้วย
พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราบเชิงเขามีลักษณะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหรือป่าน้ำซับน้ำซึม ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการใช้อุปโภคบริโภคของชุมชน การทับพื้นที่ทำกินหรือบ้านเรือนของประชาชน นอกจากนั้นยังปรากฏชัดว่าแปลงสัมปทานเหล่านี้ ทับทางน้ำลำห้วยแม่จอน และลำน้ำสาธารณะอื่นๆ ทับเส้นทางสาธารณะที่ประชาชนยังใช้ประโยชน์โดยการสัญจรไปมาตามปกติ ทับทางน้ำลำห้วยโป่ง ซึ่งประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากลำห้วยโป่งดังกล่าว ในการนำน้ำมาใช้ในการทำนา ก่อนไหลลงสู่ลำน้ำแม่เมือง แม่แหง แม่งาว ต่อไป
ในเดือนกันยายน 2557 ทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหงร่วมกับทหารจัดเวทีปรองดองและคืนความสุขตามนโยบายของ คสช. แต่มีการนำชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นมาร่วม และพบว่ามีการแจกเอกสารรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการเหมืองแร่ในเวที พร้อมกันนั้นมีเจ้าหน้าที่ของทางบริษัทได้ตั้งโต๊ะลงชื่อผู้เข้าประชุม ซึ่งชาวบ้านมองว่าเป็นการแอบแฝงเรื่องการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงคัดค้านการจัดเวทีดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารยุติเวที เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวบ้านเกิดความคลางแคลงใจต่อทหารมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งช่วงปลายปี 2557 รายงาน EIA ของการทำเหมืองในพื้นที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านโครงการเหมืองแร่ (คชก.) ในปลายปี 2556 ทั้งที่ไม่เคยมีกระบวนในพื้นที่ไม่ได้มีกระบวนการในการปรึกษาหารือ เก็บข้อมูล จัดประชุม หรือมีส่วนร่วมใดๆ และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเปิดเผย EIA ดังกล่าวให้ชาวบ้านได้เห็น
ในปี2558 กลุ่มรักษ์บ้านแหง ยื่นร้องขอต่อศาลปกครองเชียงใหม่ให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองลิกไนต์และฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากยอมให้บริษัทเอกชนดังกล่าวเปิดเหมือง ในปี2559 มีการรวมตัวที่ อบต.บ้านแหง เพื่อประท้วงไม่ให้บริษัทเอกชนที่จะเข้ามาทำเหมืองจัดประชุมแต่งตั้งกรรมการมวลชนสัมพันธ์
จนกระทั่งในปี2563 ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทุนทำเหมืองลิกไนต์เข้าทำประโยชน์ป่าแม่งาว โดยศาลปกครองเชียงใหม่ได้อ่านคำพิพากษาในคดี สั่งให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง แต่ยังไม่พิจารณาเพิกถอน EIA และรายงานการจัดทำประชาคม
ทั้งนี้ชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหง ได้ดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ดังนี้
คดีฟ้องเพิกถอนรายงานการไต่สวนพื้นที่เหมืองแร่ ฟ้องในปี 2556 (ส.2/2556) ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์
คดีฟ้องเพิกถอนการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ฟ้องในปี 2557 (ส.13/2557) ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตป่าไม้ฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563
คดีฟ้องเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ลิกไนต์ 1 แปลง ฟ้องในปี 2558 (ส.6/2558) ที่จะนัดฟังคำพิพากษาวันนี้ (22 เมษายน 2563)