ถ่านหินเร่งให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในกระบวนการการนำถ่านหินมาเปลี่ยนเป็นแหล่งพลังงานนั้นทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่าร้อยละ 75 ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก จากเหมืองขึ้นสู่ท้องฟ้า จากการขุดเจาะ การขนส่งไปจนถึงการเผาไหม้ ทุกขั้นตอนการผลิตถ่านหินนั้นก่อให้เกิดมลพิษ เกิดสารพิษปนเปื้อนทั้งในอาหาร น้ำ และอากาศ
การเผาไหม้ถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดหลักของมลพิษ PM2.5 ที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ การศึกษาในปี พ.ศ. 2553 ระบุว่า PM2.5 เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่าสามล้านคนทั่วโลก และราว 37,500 คนต่อปีในประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2554 โรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรประมาณ 1,550 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอาจเพิ่มขึ้นถึง 5,300 คนต่อปี หากรัฐบาลไทยเดินหน้าขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ในประเทศ การรณรงค์เพื่อปลดแอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อเรียกร้องให้โลกลด ละ เลิกการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยมลพิษ ยุติยุคถ่านหิน และเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ชุมชนต่างๆ กำลังหันหลังให้กับเชื้อเพลิงสกปรกและต่อสู้เพื่อสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่และปลอดภัย
ถ่านหินอาจเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ถูกที่สุดในตลาด แต่ราคาตลาดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเรื่องราวทั้งหมด ราคาซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เริ่มจากต้นทุนการทำเหมืองและต้นทุนการขายปลีก ไปจนถึงภาษีที่รัฐเรียกเก็บ และรวมถึงกำไร แต่ไม่ได้คำนึงถึงภาษีและต้นทุนที่สูงที่สุดของถ่านหิน นั่นคือ ความเสียหายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากถ่านหิน
อ่านเพิ่มเติมผู้คนในพื้นที่เหล่านั้นกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จากการเพิ่มขึ้นของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เกินความจำเป็น ในเมื่อข้อมูลและความถูกต้องของต้นทุนจริงของถ่านหินถูกบิดเบือนตั้งแต่การวางแผนพลังงานในระดับนโยบายแผนพลังงานของประเทศฉบับที่มีการแก้ไขใหม่ก็จะไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน เพราะมาจากการวางแผนพลังงานที่ขาดความโปร่งใสและถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม