สิ่งที่เรากินเข้าไปนั้นจะบำรุงหล่อเลี้ยงร่างกายและช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี แต่การเลือกกินที่ไม่ดีอาจทำให้เราป่วยหนักได้ ซึ่งชนิดและปริมาณของอาหารที่เรากินและวิธีการเพาะปลูกอาหารแต่ละชนิดนั้นยังเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการอยู่รอดของโลกเราด้วย การบริโภคแต่เนื้อสัตว์หรือบริโภคในปริมาณมากเกินความพอดีอาจก่อโรคร้ายให้กับเราโดยไม่รู้ตัว

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นอาการที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหาร อาการที่พบคือมีถุงในเยื่อบุลำไส้เกิดอักเสบขึ้น มีงานวิจัยพบว่าผู้ชายที่กินเนื้อแดงและเนื้อแดงไม่แปรรูป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้น ซึ่งงานวิจัยนี้ทำการศึกษาจากบุคลากรทางการแพทย์เพศชายของสหรัฐอเมริกาจำนวน 46,461 คน และมีอายุระหว่าง 40 – 75 ปี ในตอนที่สมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยที่มีระยะเวลายาวนาน 26 ปีนี้ (พ.ศ.2529 – 2555) มีโรคตับเรื้อรังที่มีการศึกษาว่าสัมพันธ์กับการบริโภคเนื้อแดงอีกด้วย และนอกจากนี้ยังมีโรคติดต่อทางอาหารที่มีสาเหตุมาจาก แบคทีเรีย โพรโทซัว พยาธิ และสารเคมีซึ่งทำให้เกิดโรคท้องร่วง

ทั้งนี้ เราจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการคงอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาได้เลยหากเรายังคงนิยมบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมแบบนี้ เพราะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรมเพียงภาคเดียวนั้นก็แทบจะทะลุพิกัดสูงสุดที่มีการอนุญาตให้ทุกภาคส่วนสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกัน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากภาคเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 24 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

Industrial Meat in the Supermarkets in Slovenia. © Mitja Kobal / Greenpeace

เนื้อหมูจากอุตสาหกรรมอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ต

จากงานวิจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นว่า การบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมในปัจจุบันมีผลกระทบในทางลบต่อทั้งสุขภาพของมนุษย์และสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น กรีนพีซเรียกร้องให้ลดการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์จากการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมทั่วโลกลงจากเดิมร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ.2593 เป้าหมายนี้จะเป็นจริงได้ด้วย “แนวคิดเกษตรกรรมเชิงนิเวศ” เป็นแนวคิดที่จะปกป้องความหลากหลายของชีวภาพและสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเป็นแนวคิดที่รับประกันความมั่นคงทางอาหารไปพร้อมๆกัน

การเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรและอาหารเชิงนิเวศนั้น คือการลดขนาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์และพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์ การปศุสัตว์เชิงนิเวศนั้นจะใช้เพียงแค่ทุ่งหญ้า ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และกากอาหารสำหรับเป็นอาหารสัตว์

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ บางประเทศเริ่มแนะนำให้กินเนื้อแดงน้อยลงแต่ให้หันมากินสัตว์ปีกทดแทน อย่างไรก็ดีการกินสัตว์ปีกทดแทนนั้นยังคงส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมในสัดส่วนที่มากอยู่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับการกินอาหารจากพืช นอกจากนี้การบริโภคสัตว์ปีกมากๆอาจทำให้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียจากอาหาร

2nd Year of 'We Grow' Project in Bangkok. © Roengchai Kongmuang / Greenpeace

มื้ออาหารสุขภาพดี จากพืชผักที่น้องๆในโรงเรียนวนิศา รังสิต ช่วยกันปลูกในโครงการ We Grow จากความร่วมมือของโรงเรียนและกรีนพีซเพื่อเสริมความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยแหละการเกษตรเชิงนิเวศ

การกินผักแทนเนื้อสัตว์นั้นได้ประโยชน์กว่า งานวิจัยเสนอว่า การกินผลไม้ ผัก ถั่วฝักอ่อน ธัญพืชไม่ขัดสีและถั่วเปลือกแข็ง ส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและผลิตภัณฑ์นมในปริมาณน้อยนั้นดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่ามาก

การลดการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมต้องมีระยะการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม หัวใจของการเปลี่ยนผ่านคือความเป็นอยู่ของเกษตรกรและชุมชน ภาครัฐและบริษัทจำเป็นที่จะต้องช่วยให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านจากการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมในเชิงอุตสาหกรรมไปสู่การทำปศุสัตว์และการเพาะปลูกเชิงนิเวศแบบผสมผสาน

วิทยาศาสตร์เสนอว่า หากเราเปลี่ยนไปกินอาหารที่อุดมด้วยพืชผัก เราจะเลี้ยงผู้คนอีกหลายล้านได้โดยใช้ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมน้อยลง