COP28
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) จะจัดขึ้นในช่วงปลายปีที่มีอุณหภูมิทําลายสถิติและสภาวะสุดขั้วจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ปีที่นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศของโลกร่วมกันระบุถึงความต้องการที่ชัดเจนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้มากที่สุดและในทันทีเพื่อจํากัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่เกิน 1.5ºC และแนวทางในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
การประชุม COP28 จัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 เอ็กโปซิตี้ ดูไบ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์

สาเหตุและผลกระทบที่ตามมาของวิกฤตสภาพภูมิอากาศไม่เคยชัดเจนเท่านี้มาก่อน และทางออกก็ไม่เคยอยู่แค่เอื้อมเท่านี้มาก่อน เชื้อเพลิงฟอสซิลกําลังฆ่าเรา ขณะที่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและเป็นธรรมได้มอบอนาคตที่ดีกว่าสําหรับทุกคน ทว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นและการขยายการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลตามแผนนั้นไม่สอดคล้องกับทิศทางของความก้าวหน้าที่จําเป็น ในขณะที่การสนับสนุนทางการเงินเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพื่อจัดการกับผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศยังคงไม่เพียงพออย่างยิ่ง
COP28 เป็นหมุดหมายของบททดสอบภาวะวิกฤตที่สําคัญสําหรับความตกลงปารีส จะเกี่ยวกับการเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริง ปรับทิศทางให้ถูกต้อง และเปิดโอกาสที่แท้จริงให้กับทางออกจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
-
เสียงของการปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ถูกทำให้เงียบด้วย ‘SLAPP’
มีคดี SLAPP เกิดขึ้นมากกว่า 500 คดี ทั้งคดีที่ฟ้องโดยรัฐและฟ้องโดยเอกชน ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการฟ้องคดีปิดปากมากที่สุด 3 อันดับ คือกลุ่มเหมืองแร่ กลุ่มอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และกลุ่มพลังงาน
-
ภาคประชาสังคมเรียกร้อง กมธ.ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบและปฏิรูประบบป้องกันน้ำมันรั่วในทะเลอย่างจริงจัง หลังเกิดเหตุซ้ำซากในอ่าวไทย
กรุงเทพฯ, 11 มิถุนายน 2568 – กรีนพีซ ประเทศไทย กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch) มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ในฐานะขององค์กรภาคประชาสังคม ร่วมยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร[1] โดยมีคุณพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการ เป็นผู้รับมอบหนังสือด้วยตัวเอง กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมเรียกร้องให้เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และผลักดันการปฏิรูประบบการจัดการอุบัติภัยน้ำมันรั่วในทะเลอย่างยั่งยืนและรอบด้าน หลังเกิดกรณีท่อรับน้ำมัน SBM-2 ของบริษัทไทยออยล์ รั่วไหลซ้ำในอำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี…
-
แถลงการณ์ กรีนพีซ ประเทศไทย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์น้ำมันรั่ว เร่งฟื้นฟู เยียวยาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน
กรีนพีซ ประเทศไทย ขอเรียกร้องให้บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของโครงการ แสดงความรับผิดชอบโดยตรงต่อเหตุการณ์นี้ ดังนี้