สถานะ ดำเนินการ
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเก็คโค่-วัน ในเครือบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จะทำให้กลุ่มบริษัทโกลว์มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่เดิม (4,003,432 ตันของคาร์บอนไดออกไซด์) และจะทำให้บริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นแหล่งกำเนิดของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทุกๆ ปีจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลถูกปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 590 เมกะวัตต์ของบริษัทโกลว์เอสพีพี 3 จำกัด ที่ดำเนินการอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 4 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าถ่านหินของโกลว์ไม่อาจหลีกเลี่ยงการปล่อยฝุ่นละออง(particulate matter) ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SO×) และไนโตรเจนออกไซด์ ( NO×) ซึ่งก่อให้เกิดฝนกรดและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 นอกจากนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกเป็นแหล่งกำเนิดที่ใหญ่ที่สุดของการปล่อยสารปรอทออกสู่ชั้นบรรยากาศ
ตามข้อมูลจาก เชอร์นิโคลคัส สเตอร์น หัวหน้าที่ปรึกษาด้านการเศรษฐกิจเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของรัฐบาลอังกฤษได้ระบุว่า แต่ละตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยในปัจจุบันจะสร้างความเสียหายต่อสังคมมีมูลค่ามากกว่า 85 เหรียญสหรัฐ ตามแนวทางที่ดำเนินไปตามปกติ หากใช้ตัวเลขข้างต้นสำหรับการคำนวณโรงไฟฟ้า ถ่านหินขนาด 590 เมกะวัตต์ของ บริษัทโกลว์เอสพีพี 3 จำกัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะสร้างความเสียหายต่อสังคมมากกว่า 340 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และโรงไฟฟ้าถ่านหินเก็คโค่-วัน ที่จะสร้างขึ้นนั้น จะสร้างความเสียหายมากขึ้นไปอีก
590 เมกะวัตต์ของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ = 4,003,432 ตันของคาร์บอนไดออกไซด์ ×85 เหรียญสหรัฐ=340,291,720 เหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ปี 2550-2556 หรือแผนพีดีพี2007 ซึ่งได้รับอนุมัติในปี 2550 และนำมาสู่การเปิดประมูลและการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเก็คโค่-วัน ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง มีการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าที่สูงเกินความต้องการไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งนำมาสู่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าต่างๆมากเกินความจำเป็น และเป็นภาระในค่าไฟฟ้ากับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ โดยภาระในการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามแผนพีดีพี มีมูลค่าอย่างน้อย 50,000 ล้านบาท
สำหรับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน อันเป็นทรัพยากรภายในประเทศ และมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพน้อยกว่า จากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานในเดือนมิถุนายน 2554 มีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนหลายประเภท เสนอขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันรวมเป็นกำลังผลิตทั้งหมด 7,837 เมกะวัตต์ โดยมีโครงการที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว และการไฟฟ้าได้ตอบรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าแล้วรวม 5,602 เมกะวัตต์ ซึ่งได้พิจารณาความผันผวนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไว้แล้ว หรือมากกว่ากำลังผลิตพึ่งได้ของโครงการโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วันถึง 4.9 เท่า (ศุภกิจ นันทวรการ, นักวิจัยมูลนิธิโครงการนโยบายสุขภาวะ , 2011)จากปีที่เริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 โรงไฟฟ้าผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภายใต้ โครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของไทย หรือ ไอพีพี มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 660 เมกะวัตต์