เริ่มจากในห้องเรียน: ทิปส์ 5 ข้อในการสร้างบรรยากาศห้องเรียนให้ไม่มีพลาสติก
- สร้างความท้าทายสนุกๆ ที่กระตุ้นให้นักเรียนลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น วันขยะเป็นศูนย์
- ติดป้ายการเรียนการสอนเรื่องมลพิษพลาสติกแบบเข้าใจง่ายบนผนังห้องเรียนที่เด็กๆ ทุกคนมองเห็นตลอด
- ให้นักเรียนใช้เฉพาะกระบอกน้ำใช้ซ้ำส่วนตัวในห้องเรียน
- เปลี่ยนวัสดุของแฟ้มใส่เอกสาร จากพลาสติกมาเป็นกระดาษหรือผ้า
- คุณครูให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้นแทนการทำงานเดี่ยว เพื่อลดการใช้กระดาษ
สร้างพลังบวกให้นักเรียนมองหาทางออกของมลพิษพลาสติกอย่างสร้างสรรค์
เด็กๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะพร้อมในการสำรวจและทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ความยุติธรรม การดูแลรักษา และชุมชนของพวกเขา กิจกรรมด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของบทเรียนที่สอดคล้องกับความใคร่รู้ของเด็กๆ ซึ่งคุณครูสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียนภายใต้การดูแลได้

กิจกรรม พลาสติกคืออะไร?
คุณครูสร้างแบบทดสอบสั้นๆ เพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับพลาสติกของเด็กๆ และช่วยให้พวกเขาเข้าใจผลกระทบของมลพิษพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย
- เครื่องฉายโปรเจคเตอร์
- จอฉายโปรเจคเตอร์
- คอมพิวเตอร์
- แบบทดสอบเรื่องพลาสติก
ขั้นตอนการเล่น
- ตั้งคำถามกับนักเรียนว่าพวกเขารู้เรื่องพลาสติกอย่างไรบ้าง และให้พวกเขาทราบ ลองให้พวกเขาอธิบายให้ฟังง่ายๆ
- หลังจากนั้นสร้างความท้าทายให้นักเรียนเพิ่มขึ้นโดยการให้พวกเขาลองทำแบบทดสอบ
- คุณครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบพร้อมกันทีละคำถาม ให้นักเรียนลองเดาคำตอบและยกมือขึ้นเมื่อคุณครูอ่านคำตอบข้อนั้น
- พูดคุยถกเถียงในบางคำถามที่มีข้อสงสัย และคุยกันว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้โลกดีขึ้น

กิจกรรม พลาสติกเกินความจำเป็น?
คุณครูเปิดวิดีโอให้เด็กๆ ดู เกี่ยวกับการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เกินความจำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดและเกิดการถกเถียงเรื่องมลพิษพลาสติกในห้องเรียน และนักเรียนช่วยกันคิดว่า พวกเขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรบ้าง
มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย
- เครื่องฉายโปรเจคเตอร์
- จอฉายโปรเจคเตอร์
- เครื่องขยายเสียง
- วิดีโอ เช่น วิดีโอของกรีนพีซ ออสเตรเลียที่ชื่อว่า Exessive Plastic Running Your Day?
- กระดานไวท์บอร์ดหรือกระดาษที่มีหัวข้อต่อไปนี้
- พลาสติกที่เราใช้ใน 1 วันมีประเภท/ลักษณะอะไรบ้าง
- พลาสติกที่เราใช้ใน 1 สัปดาห์มีประเภท/ลักษณะอะไรบ้าง
- พลาสติกที่เราใช้ใน 1 ปีมีประเภท/ลักษณะอะไรบ้าง
- เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลาสติกของเราอย่างไร
ขั้นตอนการเล่น
- คุณครูเปิดวิดีโอเกี่ยวกับความแพร่หลายของพลาสติกในชีวิตประจำวันให้นักเรียนดู เช่น Exessive Plastic Running Your Day? วิดีโอจากกรีนพีซ ออสเตรเลีย
- คุณครูชวนนักเรียนคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวิดีโอและกระตุ้นให้นักเรียนเห็นว่า การใช้พลาสติกแต่ละครั้งอาจดูไม่เป็นอันตราย แต่ผลกระทบจากการที่พลาสติกสะสมในสิ่งแวดล้อมนั้นส่งผลกระทบอย่างมาก
- ให้นักเรียนเขียนรายการใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งของตนเองใน 1 วัน 1 สัปดาห์ และ 1 ปี ออกมา อาจจะทำเป็นงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวก็ได้
- เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ให้ใช้สิ่งที่นักเรียนเขียนกันเป็นเครื่องย้ำเตือนถึงผลกระทบของพลาสติกและทำไมสิ่งเหล่านี้จึงไม่ควรอยู่ใน ‘มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม’ ของเรา
- นักเรียนระดมสมองร่วมกันว่าเราจะใช้พลาสติกให้น้อยลงได้อย่างไร และเราจะกระตุ้นคนอื่นๆ ให้ลดใช้พลาสติกเหมือนเราได้อย่างไร เราจะดำเนินการอย่างไรเพื่อยุติการพึ่งพาพลาสติกและผลิตภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

สร้างพลังบวกให้นักเรียนหยุดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยการให้พวกเขาแต่งแต้มวัสดุทางเลือกที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ให้สวยงามตามความชอบของพวกเขาเอง
กิจกรรม ซื้อน้อย ใช้ซ้ำ ทำเอง
มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย
- พลาสติกที่ล้างทำความสะอาดแล้ว และวัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ไม่ใช้แล้ว
- ขวดน้ำดื่ม
- นิตยสารเก่า
- เศษผ้า
- แก้ว
- จาน
- กรรไกร
- หนังยาง
- เชือก
- ปากกามาร์กเกอร์สี
ขั้นตอนการเล่น
- คุณครูจัดมุมศิลปะ ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ศิลปะและวัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ไม่ใช้แล้ววางไว้ด้วยเพื่อให้นักเรียนหยิบใช้ได้ตามสะดวก
- คุณครูเปิดอินสตาแกรม MAKE SMTHNG ซึ่งเป็นกิจกรรมของกรีนพีซ ให้นักเรียนดูสำหรับเป็นแรงบันดาลใจและได้เห็นตัวอย่างของการประดิษฐ์สิ่งของอย่างง่ายๆ เช่น สมุด กระถางต้นไม้ และถุงผ้าใช้ซ้ำ เป็นต้น
- นักเรียนลงมือสร้างสรรค์วัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้งที่คุณครูเตรียมให้ การที่เด็กๆ ได้ลงมือทำเองจะทำให้พวกเขารู้สึกว่าสิ่งของใช้ซ้ำที่เขาประดิษฐ์ขึ้นเองนั้นมันสวยและเท่กว่าสิ่งของใช้ครั้งเดียวทิ้ง
- หากกิจกรรมนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดี คุณครูลองพิจารณาจัดงาน MAKE SMTHNG หรืองานอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เด็กๆ นำของที่ไม่ใช้แล้วกลับมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ที่ดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อของใหม่และถือเป็นการท้าทายลัทธิบริโภคนิยมของพวกเขาด้วย

กิจกรรม ‘เรื่องเล่าจากธรรมชาติ’
คุณครูสร้างมุมอ่านหนังสือสำหรับหนังสือเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถมาหยิบอ่านได้ตลอดเวลา
เริ่มอ่านหนังสือกันเลย
จัดทำมุมใดมุมหนึ่งในห้องเรียนเป็นหนังสือสำหรับโลกหรือสิ่งแวดล้อม เลือกหนังสือที่เกี่ยวกับพลาสติก สภาพภูมิอาการ และสิ่งแวดล้อม
หนังสือแนะนำ
- 1.Greta and the Giants by Zoë Tucker
- Water, Water Everywhere! Stop Pollution, Save Our Oceans
- Barefoot Books World Atlas by Nick Crane and David Dean
- Heroes of the Environment: True Stories of People Who Are Helping to Protect Our Planet by Harriet Rohmer
- The Talking Earth by Jean Craighead George
- We Are All Greta: Be Inspired to Save the World by Valentina Giannella