เรามีไอเดียแผนการเรียนการสอนเรื่องมลพิษพลาสติก และโลกที่ปราศจากขยะในอนาคตมาฝาก
เริ่มจากในห้องเรียน: ทิปส์ 5 ข้อในการสร้างบรรยากาศห้องเรียนให้ไม่มีพลาสติก
- ใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนแบบใช้ซ้ำได้ และหลีกเลี่ยงการซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้ง
- ติดป้ายการเรียนการสอนเรื่องมลพิษพลาสติกแบบเข้าใจง่ายบนผนังห้องเรียนที่เด็กๆ ทุกคนมองเห็นตลอด
- ในชั่วโมงศิลปะ ลองหาภาชนะใช้ซ้ำมาใส่อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สี แทนการใช้ภาชนะใช้ครั้งเดียวทิ้ง
- เปลี่ยนสิ่งของอื่นๆ ในห้องเรียนที่เป็นแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งให้เป็นแบบใช้ซ้ำแทน
- การตกแต่งห้องเรียน ลองมองหาสิ่งของใช้ซ้ำ แล้วเศษกระดาษเหลือใช้มาตัดตกแต่งเป็นรูปดอกไม้ รูปสัตว์ต่างๆ แล้วเอามาตกแต่งห้องเรียนเพิ่มความน่ารัก
กิจกรรมสนุกๆ ที่สอนเด็กๆ เรื่องปัญหาขยะพลาสิกที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ
ในกิจกรรมนี้ คุณครูลองใช้สิ่งที่นักเรียนมองเห็นและจินตนาการตามได้ และนำสิ่งตามธรรมชาติมาช่วยให้เด็กๆ รู้สึกได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา

กิจกรรม Plastic pollution
มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย
- ปากกา หรือชอล์กเขียนกระดาน
- กระดานดำ หรือกระดานไวท์บอร์ด
- รูปภาพธรรมชาติใกล้ตัวเด็กๆ เช่น แม่น้ำลำคลอง ทะเล ภาพตัวอย่างคลิก
- สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่พบได้ในธรรมชาติใกล้ตัวเด็กๆ เช่น ก้อนหิน สาหร่าย ทราย
- พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก แก้วกาแฟพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติก
ขั้นตอนการเล่น
- ให้นักเรียนยืน/นั่งแบบครึ่งวงกลม
- ให้นักเรียนดูภาพธรรมชาติรอบตัวที่เตรียมไว้ เช่น แม่น้ำลำคลอง เราจะใช้ภาพนี้เป็นตัวอย่างในการวาดรูปลงบนกระดาน โดยวาด 2 รูป
- ถามนักเรียนว่า สภาพแวดล้อมแต่ละที่จะมีสัตว์ชนิดใดอาศัยอยู่ และคุณครูก็วาดเพิ่มลงไป
- แนะนำสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน ที่คุณครูเตรียมมา ให้นักเรียนบอกลักษณะของสิ่งนั้นๆ และให้พวกเขาระบุด้วยว่า เขาพบสิ่งเหล่านี้ได้แถวไหนใกล้บ้านและพวกมันเป็นของแม่น้ำลำคลอง ทะเล หรือทั้งสองอย่าง
- นำพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งมาให้นักเรียนดูและให้เด็กๆ บอกลักษณะของสิ่งนั้น คุณครูวาดรูปพลาสติกเหล่านี้ลงบนกระดาน และถามนักเรียนว่ามลพิษพลาสติกมันดีหรือไม่ดี และมันส่งผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่า
- หลังจากนั้นเริ่มพูดคุยกับเด็กๆ ในเรื่องนี้ ฟังความเห็นพวกเขาว่าเขาอยากทำอะไรให้โลกดีขึ้น

The Story of Plastic
เลือกของใช้ที่ทำจากพลาสติกมาจำนวนหนึ่งแล้วบอกเล่าเรื่องราววงจรชีวิตของพวกมัน เปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนถึงระยะเวลาที่มันมีประโยชน์กับระยะเวลาที่มันทำลายสิ่งแวดล้อม แบบไหนยาวนานกว่ากัน
มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย
- พลาสติกที่ทำความสะอาดแล้ว เช่น ขวดน้ำดื่ม พลาสติกหุ้มฝาเครื่องดื่ม ช้อนส้อมพลาสติก ถุงพลาสติก แก้วกาแฟ
- กระดาษรีไซเคิล
- ดินสอสี
ขั้นตอนการเล่น
- คุณครูเลือกพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่พบได้ทั่วไปและใช้ในชีวิตประจำวันมาให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน
- เล่าเรื่องราวของพลาสติกชิ้นนั้นให้นักเรียนฟัง เช่น วงจรชีวิต แหล่งกำเนิด เช่น ทำไมมันจึงถูกสร้างขึ้นมาและมันจะจบลงที่ไหน ลองให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงระยะเวลาอันสั้นที่มันมีชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เปรียบเทียบกับระยะเวลาอันยาวนานที่มันเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
- ให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า พลาสติกชิ้นนั้นๆ ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ สัตว์ และมนุษย์อย่างไร
- นักเรียนสร้างเรื่องราวพลาสติกในความเข้าใจของตนเอง โดยการให้พวกเขาวาดภาพวงจรชีวิตแต่ละขั้นของพลาสติกและนำพลาสติกที่ครูเตรียมไว้ติดลงบนกระดาษ
- นักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองวาดกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน
- ก่อนจบกิจกรรม คุณครูชวนนักเรียนพูดคุยถึงแนวทางหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

กิจกรรม ‘แต่งแต้มสิ่งของใช้ซ้ำตามใจชอบ’
สร้างพลังบวกให้นักเรียนอยากหยุดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยการให้พวกเขาแต่งแต้มวัสดุทางเลือกที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ให้สวยงามตามความชอบของพวกเขาเอง
มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย
- ปากกามาร์คเกอร์กันน้ำ
- แปรงและสีที่ไม่มีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบ
- สิ่งของใช้ซ้ำซึ่งนักเรียนสามารถปรับแต่งได้ เช่น แก้วเซรามิกขนาดเล็ก
- จานและช้อนส้อมที่นำมาใช้ซ้ำได้
- ขวดน้ำดื่มใช้ซ้ำ
ขั้นตอนการประดิษฐ์
- จัดมุมสิ่งประดิษฐ์งานศิลปะ ที่มีสิ่งของใช้ซ้ำ เช่น แก้วเซรามิก ช้อนส้อม และขวดน้ำดื่ม ฯลฯ ซึ่งนักเรียนสามารถหยิบไปตกแต่งได้
- ให้นักเรียนตกแต่งสิ่งของที่พวกเขาเลือกมาด้วยปากกามาร์คเกอร์และสี
- กระตุ้นนักเรียนให้ใช้ของที่พวกเขาแต่งแต้มแทนการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และลองตั้งคำถามให้พวกเขาลองคิดดูว่า ทำไมเราถึงต้องใช้แก้วพลาสติกหล่ะ ในเมื่อเรามีแก้วเซรามิกสวยๆ อยู่แล้ว เป็นต้น

เรื่องเล่าจากธรรมชาติ
คุณครูสร้างมุมอ่านหนังสือสำหรับหนังสือเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน และทำให้มุมนี้กลายเป็นมุมอ่านหนังสือสำหรับนักเรียนทุกคน หรือคุณครูลองพิจารณาหยิบหัวข้อสักหนึ่งหัวข้อในหนังสือมาอ่านในชั้นเรียนได้ หรือจัดทำมุมใดมุมหนึ่งในห้องเรียนเป็นหนังสือสำหรับโลกหรือสิ่งแวดล้อม
หนังสือแนะนำ
- Somebody Swallowed Stanley by Sarah Roberts (bonus lesson plan)
- One Plastic Bag by Miranda Paul
- I Can Save the Earth by Alison Inches
- Don’t Throw That Away! by Lara Bergen
- Touch the Earth by Julian Lennon
- Miss Fox’ Class Goes Green by Eileen Spinelli