เกมและกิจกรรมที่สอนเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม

ไอเดีย 5 ข้อในการสร้างสรรค์กิจกรรมสนุกสนานโดยปราศจากพลาสติก

เกมและกิจกรรมสำหรับนักรณรงค์รุ่นเยาว์

นักเรียนในวัยนี้มีความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มเปี่ยมและการซึบซับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวอย่างเต็มที่ เราแนะนำคุณครูให้ลองนำกิจกรรมที่เราเลือกมา นำไปปรับใช้กับพวกเขากัน

จำลองเดินขบวนเรียกร้องอย่างสร้างสรรค์

สร้างสรรค์คำพูด ภาพวาด งานศิลปะ หรือสโลแกนต่างๆ ขึ้นมาต่อสู้เพื่อยุติมลพิษพลาสติก

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

วิธีปฏิบัติ

  1. คุณครูอ่านตัวอย่างของคำพูดหรือสโลแกนเหล่านั้นให้นักเรียนฟัง
  2. ให้นักเรียนร่วมกันถกเถียงต่อคำพูดและสโลแกนนั้น ในฐานะคนฟัง พวกเขาคิดเห็นกันอย่างไร ฟังแล้วได้อะไร และสโลแกนเหล่านั้นส่งผลอะไรต่อสังคมบ้าง 
  3. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม คุณครูตั้งโจทย์เกี่ยวกับพลาสติกในแง่มุมต่างๆ เช่น ขยะพลาสติกในมหาสมุทร สัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษพลาสติก ภาคธุรกิจที่ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น แล้วให้นักเรียนช่วยกันคิดสโลแกน คำคม คติพจน์ขึ้นมา
  4. ให้นักเรียนเขียนสโลแกนของพวกเขาลงบนผ้าหรือกระดาษ ด้วยสีหรือดินสอ ปากกา
  5. เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแนวคิดของสโลแกนของพวกเขาให้เพื่อนๆ ฟัง
  6. เด็กๆ นำสโลแกนที่ตนเองคิดไปแปะในห้องเรียนหรือคุณครูนำผลงานนักเรียนไปเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ของโรงเรียนเพื่อสะท้อนถึงการช่วยกันลดมลพิษพลาสติก 

R is for REFILL, REUSE, REDUCE… and RELAY!

กิจกรรมสุดสนุกและใช้ความรวดเร็วเพื่อดูว่าใครจะเป็นคนที่คิดไอเดียได้มากที่สุดในการหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้ง

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

ขั้นตอนการเล่น

  1. แบ่งนักเรียนในห้องออกเป็น 4 กลุ่ม
  2. ด้านบนของกระดาน เขียนว่า ‘เพื่อต่อสู้กับมลพิษพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง พวกเราสามารถ … ’ ให้แต่ละทีมเติมประโยคเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกลงไป
  3. หลังจากนั้น แต่ละทีมแบ่งกระดานเป็น 3 ช่อง คือ Refill, Reuse และ Reduce
  4. คุณครูอธิบายให้นักเรียนฟังถึงวิธีการเล่นและแนะนำพวกเขาให้ใช้เวลาให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ รวมถึงคิดไอเดียใหม่ภายใต้หัวข้อที่กำหนด
  5. หลังจากนั้น ให้แต่ละทีมยืนต่อแถวด้านหน้ากระดาน โดยเว้นระยะห่างกับทีมอื่นๆ ประมาณ 1-2 เมตร
  6. คุณครูแจกปากกาเขียนกระดานหรือชอร์คแก่นักเรียน เมื่อนักเรียนได้ยินเสียงสัญญาณ คนที่อยู่แถวหน้าสุดเริ่มเขียนไอเดียของตนเองภายใต้หัวข้อนั้น เสร็จแล้วรีบส่งปากกาให้เพื่อนคนถัดไป แล้วตนเองวิ่งไปต่อแถวด้านหลังสุด
  7. แต่ละรอบควรเริ่มและจบด้วยเสียงสัญญาณ ความยาวของรอบขึ้นอยู่กับการตกลงกัน แต่ให้เริ่มจากรอบที่ยาวก่อน ( 1 ถึง 2 นาที) แล้วสั้นลงเรื่อยๆ ในรอบถัดไป
  8. เกมนี้จะเล่นกี่รอบก็ได้ และทีมที่มีไอเดียมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

This image has an empty alt attribute; its file name is 3553cdc2-gp0stt1n9-1024x682.jpg

บันไดงู บันไดพลาสติก

เกมนี้ดัดแปลงมาจากเกมบันไดงูที่เราคุ้นเคยกัน ถือเป็นเกมที่สนุกและได้ทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องมลพิษพลาสติกไปด้วยในคราวเดียว เกมจะสนุกยิ่งขึ้นถ้าได้เล่นกันเป็นกลุ่ม

มาเริ่มเตรียมวัสดุอุปกรณ์กันเลย

เริ่มเล่นด้วยคำถามง่ายๆ

(ตัวอย่าง) คุณครูสามารถปรับคำถามให้เข้ากับบริบทของสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่หรือบทเรียนก่อนหน้าได้ และคำถามควรเกี่ยวกับเรื่องพลาสติกและขยะ

ขั้นตอนการเล่น

  1. แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ในกรณีที่มีแผ่นกระดานเกมขนาดใหญ่ ตัวแทนในแต่ละกลุ่มสามารถยืนเล่นบนแผ่นกระดานได้ แต่ถ้าไม่สามารถใช้กระดานขนาดใหญ่ ให้ใช้อุปกรณ์อย่างอื่นซึ่งเป็นอะไรก็ได้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเล่นของแต่ละกลุ่ม
  2. ในแต่ละทีมผลัดกันโยนลูกเต๋า แล้วตัวแทนเดินไปตามช่องตามจำนวนตัวเลขที่ปรากฎบนลูกเต๋า
  3. หากผู้เล่นทีมใดเดินไปหยุดที่ช่องหลอดพลาสติก จะต้องเดินถอยหลังกลับไปช่องสุดท้ายของหลอดพลาสติก เพราะหลอดพลาสติกเป็นพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เราจึงต้องถอยหลัง (ในกรณีที่อยู่ปลายหลอดแล้วให้ผู้เล่นอยู่ที่เดิม) 
  4. หากผู้เล่นทีมใดเดินไปหยุดที่ช่องแก้วน้ำส่วนตัว ผู้เล่นสามารถเดินขึ้นไปยังบนช่องสุดท้ายของแก้วน้ำ เพราะแก้วน้ำส่วนตัวเป็นภาชนะใช้ซ้ำ ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนในการลดมลพิษพลาสติก
  5. หากผู้เล่นทีมใดเดินไปตกลงช่องเครื่องหมายคำถาม ทีมนั้นจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับพลาสติก ถ้าตอบถูกผู้เล่นอยู่ที่เดิม แต่หากตอบผิดจะต้องเดินถอยหลังไป 1 ช่อง 
  6. หากผู้เล่นทีมใดเดินไปหยุดที่ช่องแพขยะ จะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับแพขยะ ตอบถูกผู้เล่นอยู่ที่เดิม แต่หากตอบผิดจะต้องเดินถอยหลังไป 1 ช่อง
  7. หากผู้เล่นทีมใดเดินไปหยุดที่ช่องถังขยะ ทีมนั้นจะต้องยกตัวอย่างขยะที่จะต้องทิ้งลงในถังสีนั้นๆ
  8. หากผู้เล่นทีมใดเดินไปหยุดที่ช่องรูปเต่า ทีมนั้นจะต้องเดินถอยหลัง1ช่อง และหยุดเล่น 1 ครั้ง
  9. ผู้เล่นทีมใดเดินถึงช่องสุดท้ายก่อน เป็นผู้ชนะ