จาการ์ตา, 19 กันยายน 2561 – จากผลการรวบรวมข้อมูลเชิงสืบสวนของกรีนพีซสากลระบุว่า ผู้ค้าน้ำมันปาล์มหลายรายและแบรนด์ระดับโลกได้แก่ ยูนิลีเวอร์(Unilever), เนสท์เล่(Nestlé), คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ(Colgate-Palmolive) และมอนเดลีซ(Mondelez) ได้ทำลายผืนป่าฝนเขตร้อนไปเป็นจำนวนมาก โดยมีขนาดเกือบสองเท่าของประเทศสิงคโปร์ในช่วงเวลาน้อยกว่าสามปี

กรีนพีซสากลประเมินผลการทำลายผืนป่าของผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ 25 ราย พบว่า

  • กลุ่มผู้ค้าน้ำมันปาล์มจำนวน 25 กลุ่มทำลายผืนป่าฝนเขตร้อนไปแล้วกว่า 130,000 เฮกตาร์(812,500 ไร่)ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ.2558
  • 40% ของการตัดไม้ทำลายป่า (51,600 เฮกตาร์หรือ 322,500 ไร่) อยู่ในจังหวัดปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และตอนนี้ยังรอดพ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
  • แบรนด์ 12 แบรนด์ที่รับซื้อน้ำมันปาล์มจาก 20 บริษัทในกลุ่มน้ำมันปาล์ม คือ คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ, เจนเนอรัล มิลส์(General Mills), เฮอร์ชีส์, เคลล็อก(Kellogg’s), คราฟท์ ไฮนซ์ (Kraft Heinz), ลอรีอัล (L’Oreal), มาร์ส (Mars), มอนเดลีซ(Mondelez), เนสท์เล่, เป๊ปซี่โค (PepsiCo),  เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (Reckitt Benckiser) และยูนิลีเวอร์
  • วิลมาร์ (Wilmar) บริษัทผู้ค้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลกรับซื้อน้ำมันปาล์มจากบริษัท 18 บริษัทในกลุ่มน้ำมันปาล์ม

ผลการสืบสวนสวบสวนเผยความล้มเหลวของบริษัทวิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ค้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลก ที่เชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่าฝนเขตร้อน ในปีพ.ศ.2556 กรีนพีซสากลได้เปิดโปงบริษัทวิลมาร์และกลุ่มผู้ค้าอื่นๆ ว่ามีส่วนรู้เห็นกับการตัดไม้ทำลายป่า การเคลื่อนย้ายไม้ออกอย่างผิดกฎหมาย ไฟป่าที่โหมไหม้ป่าพรุ และการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือ และในปีนั้นเอง วิลมาร์ได้ประกาศนโยบายว่าจะไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าและไม่มีการหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอีก แต่จากรายงานการวิเคราะห์ของกรีนพีซในเดือนกันยายน 2561 กลับพบว่าวิลมาร์ยังคงใช้น้ำมันปาล์มจากกลุ่มที่ทำลายป่าฝนเขตร้อนและเข้ายึดครองที่ดินของชาวบ้านอยู่

“น้ำมันปาล์มสามารถผลิตได้โดยไม่จำเป็นต้องทำลายป่าฝนเขตร้อน แต่ผลการรวบรวมข้อมูลเชิงสืบสวนยังแสดงให้เห็นว่าน้ำมันปาล์มของวิลมาร์ยังคงปนเปื้อนไปด้วยป่าฝนเขตร้อนที่ถูกทำลายอยู่ แบรนด์ของใช้ในบ้านอย่าง ยูนิลีเวอร์ เนสท์เล่ คอลเกต-ปาล์มโอลีฟและมอนเดลีซได้ให้คำมั่นต่อลูกค้าของพวกเขาว่าจะใช้เฉพาะน้ำมันปาล์มที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้ แต่พวกเขากลับไม่รักษาสัญญา แบรนด์เหล่านี้จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนและยกเลิกใช้น้ำมันปาล์มจากวิลมาร์จนกว่าบริษัทจะผลิตน้ำมันปาล์มที่สะอาด ซึ่งก็คือการไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายผืนป่าฝนเขตร้อนอีก” กิกิ เทาฟิก (Kiki Taufik) หัวหน้างานรณรงค์ด้านป่าไม้ทั่วโลกของกรีนพีซกล่าว

นอกเหนือไปจากการตัดไม้ทำลายป่าแล้ว ยังมีปัญหาอื่นอีก 25 ปัญหา ซึ่งรวมถึงการลักลอบใช้แรงงาน ปัญหาความขัดแย้งในชุมชน การเรียกหาผลประโยชน์ การตัดไม้ทำลายป่าที่ผิดกฎหมาย การพัฒนาโดยไม่ได้รับอนุญาต การพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ป่าคุ้มครอง และการเกิดไฟป่าที่เชื่อมโยงกับการยึดครองที่ดิน สิ่งเหล่านี้สามารถประเมินสภาพการตัดไม้ทำลายป่าได้อย่างครอบคลุมที่สุดในปาปัว อินโดนีเซีย

“ปาปัวเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก และผืนป่าตามธรรมชาติได้ถูกทำลายทั่วอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน การรุกคืบเข้าไปทำลายผืนป่าของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันกำลังเป็นที่น่ากังวล ถ้าเราไม่หยุดการกระทำเหล่านี้ ป่าไม้ที่สวยงามของปาปัวก็จะถูกทำลายเพื่ออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกับป่าไม้บนเกาะสุมาตราและกาลิมันตัน“ เทาฟิกกล่าว
น้ำมันปาล์มส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชนและสภาพภูมิอากาศ

  • อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันเป็นหนึ่งในภาคการผลิตที่มีส่วนสำคัญต่อ การทำลายผืนป่าเขตร้อนมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ผืนป่าฝนเขตร้อนกว่า 24 ล้านเฮกตาร์ถูกทำลายในอินโดนีเซียระหว่างปีพ.ศ.2533 ถึงพ.ศ.2558 ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการของรัฐบาลอินโดนีเซีย

รูปภาพและวิดีโอเพิ่มเติม
หมายเหตุ
[1] แหล่งที่มาของตัวเลขแสดงการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้
1990–2012: MoEF (2016b) Table Annex 5.1, pp90–1 – gross deforestation 21,339,301ha
2012–2013: MoEF (2014) Lampiran 1, Tabel 1.1 – gross deforestation 953,977ha
2013–2014: MoEF (2015) Lampiran 1, Tabel 1.1 – gross deforestation 567,997ha
2014–2015: MoEF (2016a) Lampiran 1, Tabel 1.1 – gross deforestation 1,223,553ha