แม้ว่าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) จะถูกผลิตขึ้นมาเพื่อความสะดวกสบายต่อชีวิตมากขึ้น แต่พลาสติกชิ้นนั้นกลับใช้เวลานานในการย่อยสลายและส่งผลกระทบมากมาย แต่เราแก้ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นได้


เราทำอะไรได้บ้าง
การร่วมแก้ปัญหาจากผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก : ผู้นำทั่วโลกต้องผลักดันให้สนธิสัญญาพลาสติกโลกเกิดขึ้นจริง สนธิสัญญาดังกล่าวจะต้องมีเป้าหมายในการลดการผลิตพลาสติกลงอย่างน้อยร้อยละ 75 ภายในปี 2583 เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
การแก้ปัญหาจากภาคเอกชน : กรีนพีซเรียกร้องให้แบรนด์ผู้ผลิตเหล่านี้เข้ามารับผิดชอบผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์ได้ก่อขึ้นคือข้อเรียกเสนอหลักการ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Polluter Responsibility : EPR)
การแก้ปัญหามลพิษพลาสติกด้วยหลักการ 7R : เป็นหลักการเพื่อย้ำเตือนพฤติกรรมการบริโภคของเราให้ตระหนักรู้เท่าทันการจับจ่ายซื้อสินค้าของตนเอง และมองหาสิ่งอื่นก่อนการตัดสินใจกดสั่งซื้อสินค้าทุกครั้ง และเป็นหลักการที่มีประสิทธิภาพหากผู้บริโภคสามารถลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งไปตามลำดับความสำคัญคือ Reduce, Reuse, Refill, Return, Repair/Repurpose, Replace และ Recycle

ร่วมสนับสนุนงานรณรงค์ของกรีนพีซ
-
ร่วมผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่เข้มแข็ง! หยุดวิกฤตมลพิษพลาสติก
สนธิสัญญาพลาสติกโลกฉบับนี้จะเป็นหมุดหมายสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลก โดยเฉพาะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่นับวันมีแต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เราขอเรียกร้องให้เกิดสนธิสัญญาที่มีความมุ่งมั่นและทะเยอทะยาน เพื่อลดการผลิตและการใช้พลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม
-
ร่วมเป็น Champions of Change เพื่อยุติวิกฤตมลพิษพลาสติก
Champions of Change: ผู้นำภาคธุรกิจเพื่อสนธิสัญญาพลาสติกที่เข้มแข็ง คือความร่วมมือระหว่าง Greenpeace International, Break Free From Plastic และ Plastic Pollution Coalition เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้แสดงจุดยืนสนับสนุนสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่เข้มแข็ง และช่วยผลักดันมาตรการสำคัญในการจัดการที่ครอบคลุมตลอดทั้งวงจรชีวิตพลาสติก สร้างเครือข่ายกับผู้นำรายอื่น และร่วมมือกันเพื่อส่งเสียงที่ทรงพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง
-
ต้นทุนของความเพิกเฉย: ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของประเทศไทย หากไม่ลดการผลิตพลาสติก
ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของประเทศไทย หากไม่ลดการผลิตพลาสติก