All articles
-
ปลดล็อกโลก: ยุติเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ
รายงานสหประชาชาติ A/HRC/59/42: ความจำเป็นเร่งด่วนในการยุติการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม รายงานนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากวงจรชีวิตของเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นวัฏจักรข้ามรุ่นที่รุนแรงและแผ่กระจายไปเป็นความรุนแรงของการละเมิดสิทธิมนุษยชน
-
กรีนพีซหวังเห็น UNOC3 เปลี่ยนวาทกรรมสวยหรูสู่การปฏิบัติจริง
เมืองนีซ, ฝรั่งเศส, 13 มิถุนายน 2568 – การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องมหาสมุทร (The UN Ocean Conference: UNOC) ได้ปิดฉากลงอย่างเป็นทางการในวันนี้ พร้อมความก้าวหน้าสำคัญในการผลักดัน “สนธิสัญญาทะเลหลวง” (High Seas Treaty) สู่การให้สัตยาบัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดตั้งเขตอนุรักษ์ในน่านน้ำสากล ซึ่งจะเป็นเครื่องมือทางกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถใช้ปกป้องพื้นที่มหาสมุทรได้อย่างแท้จริง สนธิสัญญานี้ถือเป็นกลไกหลักในการบรรลุเป้าหมายการอนุรักษ์อย่างน้อยร้อยละ 30 ของมหาสมุทรโลกภายในปี 2573 อีกทั้งยังมีความเคลื่อนไหวด้านการลดขยะพลาสติก เมื่อ 95 ประเทศร่วมลงนามแสดงเจตจำนงในการจัดทำสนธิสัญญาพลาสติกฉบับใหม่ ขณะเดียวกัน…
-
ร่วมเป็น Champions of Change เพื่อยุติวิกฤตมลพิษพลาสติก
Champions of Change: ผู้นำภาคธุรกิจเพื่อสนธิสัญญาพลาสติกที่เข้มแข็ง คือความร่วมมือระหว่าง Greenpeace International, Break Free From Plastic และ Plastic Pollution Coalition เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้แสดงจุดยืนสนับสนุนสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่เข้มแข็ง และช่วยผลักดันมาตรการสำคัญในการจัดการที่ครอบคลุมตลอดทั้งวงจรชีวิตพลาสติก สร้างเครือข่ายกับผู้นำรายอื่น และร่วมมือกันเพื่อส่งเสียงที่ทรงพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง
-
ภาคประชาสังคมเรียกร้อง กมธ.ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบและปฏิรูประบบป้องกันน้ำมันรั่วในทะเลอย่างจริงจัง หลังเกิดเหตุซ้ำซากในอ่าวไทย
กรุงเทพฯ, 11 มิถุนายน 2568 – กรีนพีซ ประเทศไทย กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch) มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ในฐานะขององค์กรภาคประชาสังคม ร่วมยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร[1] โดยมีคุณพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการ เป็นผู้รับมอบหนังสือด้วยตัวเอง กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมเรียกร้องให้เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และผลักดันการปฏิรูประบบการจัดการอุบัติภัยน้ำมันรั่วในทะเลอย่างยั่งยืนและรอบด้าน หลังเกิดกรณีท่อรับน้ำมัน SBM-2 ของบริษัทไทยออยล์ รั่วไหลซ้ำในอำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี…
-
“ปฏิญญา นีซ” สนธิสัญญาพลาสติกโลกที่เข้มแข็งและทะเยอทะยาน ข้อเรียกร้องที่โลกต้องการ
ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องมหาสมุทร ประเทศสมาชิกกว่า 90 ประเทศได้ร่วมลงนามสนับสนุนปฏิญญา “สัญญาณเตือนจากนีซเพื่อสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่ทะเยอทะยาน” โดยสาระสำคัญของปฎิญญานี้คือ การเรียกร้องให้มีการกำหนดเป้าหมายระดับโลกในการลดการผลิตและการบริโภคพลาสติกอย่างจริงจัง
-
กรีนพีซ ประเทศไทยและกลุ่มนักวิจัยทางทะเล ร่วมเปิดผลการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินในทะเล จ.ชุมพร และ จ.สงขลา
กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกับนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยผลการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพหน้าดิน ในพื้นที่ทะเล จ.ชุมพร และ อ จ.สงขลา ซึ่งเก็บข้อมูลโดยร่วมมือกับชุมชนประมงท้องถิ่นเมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ตามหลักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง (Citizen Science) และนำเสนอผ่านนิทรรศการ “LIFE ON SAND : From Seabed to Protected Areas”
-
กรีนพีซเผยข้อเสนอเชิงนโยบาย “โซลาร์บนหลังคา” ในฉะเชิงเทรา ชี้ทางสู่พลังงานเป็นธรรมที่ทุกคนเข้าถึงได้
กรุงเทพฯ, 7 มิถุนายน 2568 –กรีนพีซ ประเทศไทย นำเสนอชุดข้อมูล “ฉะเชิงเทรา: โอกาสและศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์บน 300,000 หลังคาเรือน”[1] ซึ่งศึกษาศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับครัวเรือน พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่เป็นธรรม ยั่งยืน และเข้าถึงได้สำหรับทุกคน
-
ฉะเชิงเทรา:โอกาสและศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์บน 300,000 หลังคาเรือน
จังหวัดฉะเชิงเทรามีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ของภาคประชาชน ซึ่งสามารถเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาไปสู่ระบบพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรม หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐผ่านแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยคำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
-
แถลงการณ์ กรีนพีซ ประเทศไทย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์น้ำมันรั่ว เร่งฟื้นฟู เยียวยาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน
กรีนพีซ ประเทศไทย ขอเรียกร้องให้บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของโครงการ แสดงความรับผิดชอบโดยตรงต่อเหตุการณ์นี้ ดังนี้