การได้มีโอกาสสำรวจ “ลอส ซิตี้” (Lost City) เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดในชีวิตการทำงานของฉัน

เมื่อ 20 ปีก่อน ฉันมีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมสำรวจ เพื่อทำแผนที่การเดินเรือในทะเล เราถ่ายภาพและสำรวจพื้นที่ไปทั่ว ซึ่งขณะนั้นเราไม่ได้สำรวจอะไรเป็นพิเศษ

Spiral Tube Worm - Deep Sea Life in the Azores. © Greenpeace / Gavin Newman

สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลบริเวณเกาะ อะโวร์ส หนอนเกลียว อาศัยอยู่ในเยื่อบางคล้ายหลอด พบได้มากในบริเวณพื้นใต้ทะเลที่เป็นโคลน พวกมันจะกดตัวเข้าไปในหลอดเมื่อมีอันตราย

ครั้งแรกที่เราเริ่มภารกิจนี้ เราไม่แน่ใจว่า เรากำลังเจอกับอะไรอยู่ มันเหมือนบททดสอบความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และความรู้ของเราอย่างมาก เพราะไม่มีใครเคยสำรวจพื้นที่นี้มาก่อน สิ่งแรกที่เราพบคือปะการัง ต่อมาคือหินสีขาวรูปร่างแปลกประหลาดและน้ำพุร้อนใต้ทะเล ซึ่งพัดพากระแสน้ำร้อนไปสู่มหาสมุทร

Arbonate Spires in the Lost City Vent Field, Atlantic Ocean. © NOAA / OAR / OER

หินสีขาวรูปทรงประหลาดใต้ทะเล ด้วยรูปทรงที่เหมือนกับเสา ปราสาท จำนวนมาก จึงทำให้ผู้คนตั้งชื่อที่นี่ว่า Lost City หรือ เมืองที่สาบสูญ

หินสีขาวรูปร่างแปลกๆเหล่านี้บางทีก็ดูคล้ายกับมหาวิหารขนาดใหญ่ นั่นทำให้เพื่อนร่วมงานของฉันเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า ลอส ซิตี้ (Lost City) ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะเจาะจริงๆเพราะตอนนั้นเรากำลังสำรวจมหาสมุทรด้วยเรือชื่อ แอตแลนติส และกำลังทำแผนที่บนภูเขาใต้ทะเลที่ชื่อว่า “แอตแลนติส แมสซีฟ” ซึ่งอยู่ลึกลงไป 4,000 เมตร ในบริเวณรอยเลื่อนแอตแลนติส

ความสวยงามของลอสซิตี้นั้นยากที่จะอธิบาย ฉันไม่เคยรู้สึกถึงความน่าเกรงขามของสถานที่เท่าที่นี้มาก่อน  ฉันสามารถนั่งดูวิดีโอฟุตเทจของสถานที่แห่งนี้ได้นานหลายชั่วโมง ซ้ำไปซ้ำมา ไม่น่าเชื่อว่า ภายใต้ความลึก 800 เมตรนั้นจะเต็มไปด้วยสีสันสวยงามขนาดนี้ ตั้งแต่ปะการังไปจนถึงปูตัวเล็กตัวน้อยต่างแต่งแต้มไปด้วยสีสันต่างๆ กัน ทั้งๆ ที่นั่นมีแต่ความมืดมิด และสีสันไม่มีความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตแม้แต่น้อย

Mauve Stinger Jellyfish - Deep Sea Life in the Azores. © Greenpeace / Gavin Newman

แมงกะพรุนใต้ทะเลสีสันสดใสตัวนี้สามารถเรืองแสงตัวเองในเวลากลางคืนได้ พวกมันอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำลึกของเกาะอะโซร์ส

อีกครั้ง ที่ฉันรู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสที่ได้กลับมาที่ ลอส ซิตี้ 

เป็นความรู้สึกเหมือนได้กลับมายังสถานที่พิเศษที่คุณรักในวันหยุด

แม้ว่าฉันจะไปเยี่ยมลอส ซิตี้มาแล้วถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่เราเริ่มสำรวจที่นี่เมื่อ 20 ปีก่อน แต่ฉันก็ยังอยากจะกลับมาที่นี่ให้บ่อยที่สุดเท่าที่เป็นได้ ถึงจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในจำนวนที่สูงมากก็ตาม เพราะการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ทุกครั้งย่อมต้องมีต้นทุนทางการเงิน ปัจจัยนี้ทำให้เราใช้เวลาในการสำรวจลอส ซิตี้เป็นนานหลายปี

เราไม่พบที่ไหนที่เหมือนลอส ซิตี้ ในมหาสมุทรแอตแลนติกมีสถานที่แบบนี้เพียงจุดเดียวและเราก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าที่แห่งนี้เกิดขึ้นและยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันได้อย่างไร เรารู้จักใต้ทะเลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมลอสซิตี้ทำให้เราประหลาดใจได้ขนาดนี้

ทุกๆครั้งที่เรามาลอสซิตี้ เราจะกลับบ้านไปพร้อมกับคำถามในใจเสมอ ที่นี่ซุกซ่อนความลับของการสร้างโลกอยู่หรือไม่นะ? ที่นี่เป็นสถานที่ถือกำเนิดสิ่งมีชีวิตหรือเปล่า? แม้นักวิทยาศาสตร์อย่างพวกเราก็ยังไม่รู้!

เราคาดหวังว่าจะเข้าใจพื้นที่นี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่เราไม่ได้หมายความว่า “หลังจากที่เราเข้าใจมันแล้ว เราจะทำลายมันลงได้” สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เราไม่เคยหมายความว่าอย่างนั้น

ในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ ฉันหวงแหนลอส ซิตี้มาก การนำตัวอย่างชิ้นส่วนจากที่แห่งนี้มาวิจัยเพียงเล็กน้อยก็ยังทำให้ฉันรู้สึกแย่ได้เลย ฉันรู้สึกอยากปกป้องที่แห่งนี่

Madeira Rockfish - Deep Sea Life in the Azores. © Greenpeace / Gavin Newman

ปลา Madeira rockfish ในภาพสามารถเปลี่ยนสีตัวมันเองจากสีขาวซีดกลายเป็นสีแดง เป็นการป้องกันตัวจากอันตราย ปลาประเภทนี้ตัวเล็กและไม่ได้เป็นสัตว์เป้าหมายในการประมง

การมาเยี่ยมลอสซิตี้นั้นไม่ได้มีกฎหรือข้อห้ามอะไร ที่นี่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยรัฐบาล ไม่มีนโยบายอนุรักษ์ ใครที่อยากจะไปที่นี่ไม่ต้องขออนุญาตอะไร สถานที่แห่งนี้ไม่ได้เป็นของนักวิทยาศาสตร์อย่างฉันและไม่ได้เป็นของใคร เราแค่มาสำรวจพื้นที่เท่านั้น

แต่ตอนนี้ อุตสาหกรรมการขุดเจาะเหมืองใต้ทะเลกำลังจับจองพื้นที่ในการขุดเจาะในทะเลและแสวงหาผลประโยชน์โดยที่ไม่ได้ตระหนักถึงผลอะไรเลย

การขุดเจาะและการทำเหมืองใต้ทะเลนั้นมีต้นทุนที่สูง แต่แร่ธาตุหายากเป็นสิ่งที่ดึงดูดอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างมาก เราไม่ควรยอมให้เกิดเหมืองที่นี่ เพื่อนักลงทุนจะใช้เป็นข้ออ้างที่จะบุกรุกและแสวงหาประโยชน์จากมหาสมุทรของเราที่ไหนก็ได้

หากมีการขุดเจาะแร่ขึ้นมาจริงๆ การขุดเจาะนั้นจะทำให้เกิดเสียงดังและฝุ่นละอองซึ่งเราไม่รู้เลยว่าจะส่งผลกระทบอะไรต่อสถานที่แห่งนี้ เราไม่มีทางทราบได้เลยว่า จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีอย่างไรกับมหาสมุทร และจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่อย่างไร เพราะเราไม่อาจคาดการณ์ถึงผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้น แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการทำเหมืองแร่ในทะเลเป็นสิ่งที่ปลอดภัย

. © Bárbara Sánchez Palomero / Greenpeace

กรีนพีซกำลังสำรวจบริเวณเกาะอะโซร์สในการเดินทางสำรวจมหาสมุทรโลกเพื่อเน้นย้ำและเปิดเผยภัยคุกคามที่มหาสมุทรกำลังเผชิญอยู่

การปกป้องธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ใต้ทะเลนั้น เป็นก้าวแรกของการปกป้องมหาสมุทรของเรา ไม่ใช่เพียงแค่ลอส ซิตี้เท่านั้นที่จะต้องได้รับการปกป้อง แต่หากเราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงกันของธรรมชาติแล้ว เราก็สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบนโลกได้มากขึ้น

ฉันอยากเรียกร้องให้โลกมี “สนธิสัญญาทะเลหลวง” เพื่อปกป้องสถานที่อันล้ำค่าอย่างเช่นลอสซิตี้ การปกป้องสถานที่ที่เปราะบางในมหาสมุทรเราจากอุตสาหกรรมทำลายล้าง มาร่วมลงชื่อเพื่อปกป้องมหาสมุทร

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม