เกษตรกรรมเชิงนิเวศ
ระบบเกษตรกรรมปัจจุบันนี้พึ่งพาการใช้สารเคมีปริมาณมหาศาล อีกทั้งยังถูกครอบงำโดยบริษัทขนาดยักษ์เพียงไม่กี่รายที่รวมตัวอยู่แค่บางภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย
อุตสาหกรรมเกษตรนั้นเน้นผลิตพืชผลหลักอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ซึ่งทำลายความยั่งยืนด้านอาหารและระบบนิเวศอันจำเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของมนุษย์


เกษตรกรรมอุตสาหกรรม ทำลายป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ
เทคโนโลยีการเกษตรในรูปแบบอุตสาหกรรมที่เอื้อต่อกลุ่มทุนนำไปสู่การผลิตเป็นจำนวนมาก เพื่อป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ แลกมาด้วยต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเผาป่าเพื่อขยายพื้นที่การเกษตร การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การสูญเสียหน้าดิน การคุกคามพื้นที่ป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากชนิด และการตกค้างของสารเคมีอันตรายในแหล่งน้ำ รวมทั้งทำให้เกิด “เขตมรณะ” (Dead Zone) ซึ่งเป็นเขตที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทั้งในแหล่งน้ำ ทะเลและมหาสมุทร แผ่ขยายกว้างขึ้น
กรีนพีซ สนับสนุนระบบเกษตรกรรมเชิงนิเวศ
เพราะเกษตรกรรมเชิงนิเวศ คือคำตอบของระบบการผลิตอาหารที่ไม่ทำร้ายคนปลูก คนกิน และสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมระบบการจัดการความหลากหลายของพืชและปศุสัตว์สมัยใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น และใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเกษตรเชิงนิเวศเป็นหลักประกันความสมบูรณ์ของการเกษตรและอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยการปกป้องดิน น้ำ และสภาพภูมิอากาศ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อนด้วยปัจจัยทางเคมีหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม


กินอย่างรู้ที่มา
การรู้ถึงที่มาของอาหาร คือการได้รู้ว่าอาหารที่เรากินนั้นปลอดภัยต่อสุขภาพของเราแค่ไหน มีวิธีการปลูกอย่างไรและใครเป็นคนปลูก ซึ่งนั่นหมายความว่าหากเรารู้ถึงที่มาของอาหารสักนิด เราก็จะสามารถเลือกสนับสนุนอาหารที่ไม่ทำร้ายสุขภาพของทั้งคนปลูกและสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน
สำหรับผู้บริโภคปลายทางแบบเราแล้ว ทางออกที่ดีที่สุด คือการสนับสนุนอาหารจากเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่ช่วยให้ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคห่างไกลจากสารเคมีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอีกด้วย นอกจากจะเป็นการรักษาสุขภาพของคนกินแล้ว ยังเป็นการช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า เราไม่ได้เป็นสาเหตุปลายทางที่บริโภคอาหารบนความเสี่ยงของเกษตรกรอีกด้วย
เรื่องราวน่าสนใจของเกษตรกรรมเชิงนิเวศ

กรีนพีซเรียกร้องให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว สนับสนุนด้านการเงินเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพผ่านในการประชุม CBD COP15
ร่วมสนับสนุนงานรณรงค์ของกรีนพีซ
No posts found.
-
ภาคประชาสังคมเรียกร้อง กมธ.ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบและปฏิรูประบบป้องกันน้ำมันรั่วในทะเลอย่างจริงจัง หลังเกิดเหตุซ้ำซากในอ่าวไทย
กรุงเทพฯ, 11 มิถุนายน 2568 – กรีนพีซ ประเทศไทย กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch) มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ในฐานะขององค์กรภาคประชาสังคม ร่วมยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร[1] โดยมีคุณพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการ เป็นผู้รับมอบหนังสือด้วยตัวเอง กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมเรียกร้องให้เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และผลักดันการปฏิรูประบบการจัดการอุบัติภัยน้ำมันรั่วในทะเลอย่างยั่งยืนและรอบด้าน หลังเกิดกรณีท่อรับน้ำมัน SBM-2 ของบริษัทไทยออยล์ รั่วไหลซ้ำในอำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี…
-
ผลสำรวจสัตว์ทะเลหน้าดิน แพลงก์ตอนและสัตว์น้ำวัยอ่อน จ.ชุมพร อ.จะนะ และ อ.เทพา จ.สงขลา จากกิจกรรม “Rainbow Warrior Ship Tour 2024: Ocean Justice”
กรีนพีซ ร่วมกับนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัยและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เพื่อร่วมทำงานวิจัยเพื่อวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองกับตัวแทนชุมชนประมงจาก จังหวัดชุมพร อ.จะนะ และ อ.เทพา จ.สงขลา รวบรวมข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล ผ่านการสำรวจสัตว์ทะเลหน้าดิน