COP29 ถึงเวลาผู้ก่อโลกเดือดต้องรับผิดชอบ

ปี 2567 เป็นอีกหนึ่งปีที่โลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติรุนแรงจากภาวะโลกเดือด อุณหภูมิมหาสมุทรที่สูงขึ้นกระทบต่อชีวิตสัตว์นานาชนิด พายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วมรุนแรงฉับพลันเป็นสัญญาณให้โลกจะต้องกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน

เป้าหมายของ COP29

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) ที่เมืองบากู อาเซอร์ไบจาน จะต้องเป็นการประชุมที่บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับเป้าหมายทางการเงินในกองทุนเพื่อชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหาย

เพื่อเป็นกองทุนรับมือและสนับสนุนให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้ก่อมลพิษน้อยที่สุดแต่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้ฟื้นฟูและยังเป็นทุนให้กับกลุ่มประเทศเหล่านี้ในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกว่า

ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบ

ท่ามกลางความไม่เป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นเชื่อมโยงกับภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศที่ยิ่งทวีความรุนแรง ตามมาด้วยความทุกข์ ความสูญเสียและความเสียหายของผู้คนทั่วโลก ดังนั้น วิกฤตสภาพภูมิอากาศจึงเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ วิกฤตมนุษยธรรม และการทำลายสิ่งแวดล้อม 

อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรมผู้ก่อมลพิษหลักอื่น ๆ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อห่วงโซ่หายนะที่ตนเองก่อไว้

กลุ่มผู้นำโลกที่ร่วมประชุมใน COP29 จะต้องมุ่งมั่นปกป้องผู้คนและโลกของเราอย่างแท้จริง เพราะตอนนี้เรากำลังเผชิญกับวิกฤตโลกครั้งใหญ่ถึง 2 วิกฤตทั้งวิกฤตการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และวิกฤตโลกเดือดพร้อม ๆ กัน การรับมือและกู้วิกฤตอย่างมุ่งมั่นรวมทั้งเป้าหมายกองทุนสาธารณะที่ชัดเจนเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน

แม้ผลลัพธ์ของ COP28 ที่ผ่านมายังมีช่องโหว่และข้อบกพร่องมากมาย ซึ่งทําให้กลุ่มประเทศยากจนขาดแคลนทรัพยากรที่จําเป็นในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนและความต้องการอื่นๆ แต่การสร้างประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นหากประเทศภาคีเกือบ 130 ประเทศ กลุ่มธุรกิจ ผู้นําท้องถิ่น และเสียงของภาคประชาสังคม มารวมตัวกันเพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และมีความมุ่งมั่นเพื่อทําให้ เกิด “การปลดระวาง(phase out)” เชื้อเพลิงฟอสซิล สิ่งที่เร่งด่วนที่สุดคือยุติการขยายโครงการต่างๆ ทั้งหมดที่ทำให้เราไปสู่จุดที่เกินขีดจํากัดอุณหภูมิ 1.5 °C ในทันที

More than 65 activists at COP28 held up yellow balloons illuminated by hand lights to spell out the word ‘Yalla!’, the Arabic word meaning “come on!”, symbolising the urgent call for action. Banner from the Artivist Network. © Marie Jacquemin / Greenpeace

กองทุนชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหายจำเป็นต่อแผนการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และใน COP29 นี้ผลลัพธ์หลักของการเจรจาในประเด็นกองทุนจะต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความชัดเจนจากกลุ่มประเทศร่ำรวยที่จะต้องเพิ่มจำนวนเงินเข้าสู่กองทุนสาธารณะเพื่อสนับสนุนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาให้รับมือกับภัยพิบัติที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น รวมทั้งยังเป็นกองทุนสำหรับเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด

ข้อสรุปจาก COP29

View this post on Instagram

A post shared by Greenpeace Thailand (@greenpeaceth)