ลอนดอน, 7 มิถุนายน 2561 – ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำและหิมะในแถบแอนตาร์กติก ที่ทีมงานสำรวจของกรีนพีซเก็บได้นั้น พบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกและสารเคมีที่ไม่ย่อยสลายอยู่ในตัวอย่าง
“เราอาจจะคิดว่าแอนตาร์กติกอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีสิ่งแวดล้อมที่บริสุทธิ์” ฟริดา เบงส์สัน ผู้ประสานงานรณรงค์ปกป้องแอนตาร์กติก กรีนพีซกล่าว “แต่จากมลภาวะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังการจับเคยในเชิงอุตสาหกรรม ล้วนเป็นกิจกรรมที่มนุษยชาติทิ้งร่อยรอยไว้ทั้งนั้น ผลกระทบที่เห็นแม้แต่ในถิ่นที่อยู่ห่างไกลของแอนตาร์กติกยังพบไมโครพลาสติก หรือเศษชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็ก และสารเคมีอันตรายที่ไม่ย่อยสลายปนเปื้อนอยู่ เราทุกคนต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อไม่ให้มีมลสารเหล่านี้ที่แอนตาร์กติก เราต้องการให้เขตอนุรักษ์มหาสมุทรแอนตาร์กติกเป็นพื้นที่สำหรับเพนกวิน วาฬ และให้ระบบนิเวศได้ฟื้นตัวจากมลภาวะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”
ตัวอย่างน้ำทะเลบริเวณพื้นผิวที่ทีมสำรวจเก็บมานั้น เจ็ดในแปดตัวอย่างพบไมโครพลาสติก จำพวกไมโครไฟเบอร์ (มีส่วนประกอบของไมโครพลาสติกอย่างน้อยหนึ่งส่วนต่อตัวอย่างน้ำ 1 ลิตร) และอีกเก้าตัวอย่างเก็บโดยใช้อวนแมนต้า หรือ ตาข่ายลากเพื่อการสำรวจใต้น้ำ(manta trawl) และ การวิเคราะห์หาไมโครพลาสติก ทีมสำรวจพบเศษชิ้นส่วนไมโครพลาสติกในสองตัวอย่างน้ำ และการวิเคราะห์เจ็ดในเก้าตัวอย่างหิมะพบร่องรอยของวัตถุเคมีที่ย่อยสลายไม่ได้ จำพวกโพลีฟลูโอริเนท อัลคาเลท หรือ PFAS ที่ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม และ ผลิตภัณฑ์อุปโภค เป็นสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์และการพัฒนาชีวิตสัตว์ป่า ทีมสำรวจยังพบสารเคมีอันตรายปนเปื้อนในบรรยากาศ จากตัวอย่างหิมะที่เก็บในระยะที่เพิ่งตก อ่านรายงานฉบับเต็มของกรีนพีซสากลได้
ที่นี่
ทีมสำรวจได้เปรียบเทียบข้อมูลบางส่วนของไมโครพลาสติกที่พบในน่านน้ำของมหาสมุทรแอนตาร์กติก และผลการวิเคราะห์ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ถึงสถานะปัจจุบันและการปนเปื้อนในพื้นที่
“เราได้เห็นของเสียหลายประเภทจากอุตสาหกรรมประมงที่ทิ้งลงมหาสมุทรแอนตาร์กติก” เบงส์สัน กล่าวเพิ่มเติม “ตามยอดน้ำแข็งมีทั้งทุ่น แห และผ้าใบ ติดอยู่ มันน่าเศร้ามากที่เห็นเช่นนี้ เราเอาขยะพวกนี้ออกจากน้ำ และได้คิดถึงวิธีที่เราต้องปกป้องพื้นที่ใหญ่โตนี้จากกิจกรรมที่เกินขอบเขตของมนุษย์ หากเราต้องการปกป้องชีวิตสัตว์ที่น่าเหลือเชื่อเหล่านั้นในแอนตาร์กติกอย่างจริงจัง”
“เราเจอพลาสติกอยู่แทบทุกที่ในมหาสมุทร จากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ และแม้แต่ในจุดลึกสุดของมหาสมุทรอย่าง มาริอาน่า เทรนช์ เราต้องเริ่มปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนที่จะลดขยะพลาสติกในทะเล และต้องขยายพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันเขตอนุรักษ์มหาสมุทรแอนตาร์กติก ที่เกิดขึ้นได้เพราะผู้คนทั่วโลก 1.6 ล้านคน ช่วยกันเรียกร้อง เพื่อปกป้องทรัพยากรทางทะเล และมหาสมุทรของเราให้คนรุ่นหลัง”
ตัวอย่างต่างๆที่เก็บได้ในช่วงสามเดือนที่กรีนพีซออกสำรวจมหาสมุทรแอนตาร์กติก ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2561 กรีนพีซได้เริ่มสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมถึง
การดำน้ำสำรวจระบบนิเวศทางทะเล ในบริเวณก้นมหาสมุทรแอนตาร์กติก ที่แทบไม่มีใครรู้จัก โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ให้มีการกำหนดเขตอนุรักษ์มหาสมุทรแอนตาร์กติก ครอบคลุมพื้นที่ 1.8 ตารางกิโลเมตร หรือ มีขนาดห้าเท่าของประเทศเยอรมนี และเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สหภาพยุโรปได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการอนุรักษ์มหาสมุทรแอนตาร์กติก (CCAMLR) และจะมีการลงมติในเดือนตุลาคม 2561 นี้
หมายเหตุ
รายงานฉบับเต็มการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ตัวอย่าง ดูได้ที่
https://act.gp/AntarcticPlastic
1. ฟริดา เบงส์สัน เป็นผู้ประสานงานรณรงค์อาวุโสด้านมหาสมุทร ประจำกรีนพีซ นอร์ดิก
2. ไมโครพลาสติก คือ พลาสติกขนาดเส้นรอบวงเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร จำนวนหลายๆชิ้น ส่วนใหญ่ไมโครพลาสติกผลิตออกมาประเภทเดียวกับไมโครบีดส์ แต่ไมโครพลาสติกจะผลิตเป็นพลาสติกชิ้นใหญ่กว่า เช่น ขวดหรือกระเป๋า ที่ทนทานเป็นเวลานาน เส้นใยของไมโครพลาสติกอยู่ในการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอด้วยเช่นกัน
3. อวนแมนต้า คือตาข่ายลากเพื่อการสำรวจใต้น้ำ(manta trawl) ที่ใช้สำหรับเก็บตัวอย่างพื้นผิวน้ำทะเลในมหาสมุทร
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ฝ่ายข่าว กรีนพีซสากล: [email protected] , +31 (0) 20 718 2470 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
Related Posts
See all posts
PLASTIC PEOPLE หนังสารคดีเรื่องแรกพาเราเข้าไปเห็นชีวิตของมนุษย์ ที่รายล้อมด้วยพลาสติกในทุกช่วงจังหวะ ตั้งแต่สิ่งของที่หยิบจับ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดูราวกับว่าพลาสติกได้หลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายโดยไม่รู้ตัว เราคุ้นชินกับมันเสียจนลืมไปแล้วว่า พลาสติกไม่ได้เป็นเพียงสิ่งของอีกต่อไป แต่มันอยู่ในตัวเราแล้วจริงๆ
กรุงเทพฯ, 11 กุมภาพันธ์ 2568 – กรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) และ มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) จัดงานเสวนา “ไปกันต่อ INC-5.2: ยังไงดีสนธิสัญญาพลาสติกโลก” เพื่อนำเสนอข้อสรุป จุดยืนของประเทศไทย และข้อคิดเห็นจากการเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกโลกครั้งที่ 5 (INC-5) ณ เมืองปูซาน เกาหลีใต้ พร้อมด้วยบทบาทของประเทศไทยในอนาคตในเวทีเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกโลกครั้งที่…
Greenpeace Thailand
11 February 2025
สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมเจรจาครั้งนี้มาให้ทุกคนได้ติดตาม รวมทั้งเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงยังไม่ได้สนธิสัญญาพลาสติกโลกที่ต้องการเสียที
Sam Chetan-Welsh ที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุโส โครงการ Plastic Free Future กรีนพีซ
7 February 2025
See all posts
คุกกี้การแสดงผล Always enabled
คุกกี้เหล่านี้จะช่วยให้เราเก็บข้อมูลเชิงสถิติและข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน เช่น ผู้ใช้เว็บไซต์ใช้เวลานานเท่าไรในหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า หรือผู้ใช้คลิกลิงก์อะไรบ้าง ข้อมูลจะถูกเก็บไปเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ greenpeace.org ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเพื่อการใช้เว็บไซต์ของคุณ การกดยอมรับคุกกี้เหล่านี้ยังจะช่วยให้คุณไม่ถูกตรวจจับด้วยระบบแบนคุกกี้
คุกกี้บุคคลที่สาม
จากที่มีการกล่าวถึงในย่อหน้า คุกกี้การแสดงผล ด้านบน เราอาจจะติดตั้งคุกกี้ในบราวเซอร์ของคุณซึ่งเป็นคุกกี้บุคคลที่สาม (เช่น คุกกี้จาก Facbook หรือ Google) สำหรับติดตามข้อมูลเพื่อการวางแผนการตลาดที่ดีขึ้นและปล่อยโฆษณาออนไลน์ที่คาดว่าคุณจะสนใจหลังจากที่คุณออกจากเว็บไซต์ไปแล้ว (คุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมายใหม่) รายชื่อเต็มของคุกกี้ที่อาจถูกติดตั้งบนบราวเซอร์ของคุณสามารถดูได้จากด้านบน (ดู ประเภทของคุกกี้ ) และรายละเอียดบางส่วนถึงการที่เราจัดการกับข้อมูลอย่างไรผ่านระบบบุคคลที่สามด้านล่าง หากมีการยกเลิกการใช้งาน (un-checking) คุกกี้ทั้ง 2 ประเภทด้านบน เราจะเซ็ตคุกกี้เฉพาะในบราวเซอร์ของคุณเพื่อเก็บข้อมูลการใช้งาน ซึ่งจะทำให้คุณไม่ได้รับการติดตามบนเว็บไซต์จนกว่าคุณจะเปลี่ยนใจหรือเคลียร์คุกกี้ในบราวเซอร์ เว็บบราวเซอร์เกือบทั้งหมดอนุญาตให้ควบคุมคุกกี้บางตัวผ่านการตั้งค่าบราวเซอร์ (เช่น การแจ้งเตือนการติดตั้งคุกกี้ใหม่, การยกเลิกการใช้คุกกี้และการตรวจจับคุกกี้) คลิกที่ประเภทบราวเซอร์ของคุณด้านล่าง เพื่อเรียนรู้ข้อมูลผู้ใช้บราวเซอร์ และเรียนรู้การยกเลิกการติดตั้งคุกกี้Chrome Firefox Internet Explorer Microsoft Edge Opera Safari แม้ว่าสามารถบล็อกคุกกี้ทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตามจะมีผลกระทบทางในด้านการใช้งานเว็บไซต์หลายเว็บไซต์
Allow all
Save preferences
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ อ่านเพิ่มเติมใน นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุกกี้
Settings
Accept all cookies