นโยบายและการจัดการพลาสติก
มลพิษพลาสติกจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนนโยบายจากรัฐบาล การปรับวิธีการดำเนินงานของบริษัทและเจ้าของแบรนด์สินค้า รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภค โดยมุ่งไปที่การลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง


รัฐต้องออกนโยบายเพื่อลดขยะพลาสติกจากต้นทาง
นโยบายของภาครัฐที่บังคับใช้ในประเทศไทยยังคงมุ่งไปที่การจัดการขยะพลาสติกที่ปลายทาง นั่นคือ การเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ส่วนนโยบาย หรือ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก ที่มีความพยายามแบนการใช้งานพลาสติก 7 ชนิดนั้น แม้มีการประกาศบังคับใช้แล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถที่จะลดใช้พลาสติกเหล่านี้ตั้งแต่ต้นทางได้
นอกจากนี้ยังมีเวทีเจรจาสำคัญระดับสากล อย่างการเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกโลก (Global Plastic Treaty) ที่รัฐบาลหลายประเทศจะมาเจรจาเพื่อให้ได้ข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขวิกฤตมลพิษพลาสติก ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อเสนอแนะเพื่อให้ได้มาซึ่งร่างสนธิสัญญาฉบับแรก
กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลทั่วโลกผลักดันให้สนธิสัญญาพลาสติกโลกเกิดขึ้นจริง
สนธิสัญญาดังกล่าวจะต้องมีเป้าหมายในการลดการผลิตพลาสติกลงอย่างน้อยร้อยละ 75 ภายในปี 2583 เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
ผู้คนทั่วโลกต่างสนับสนุนมาตรการในการแก้ปัญหาพลาสติกที่จริงจัง ถึงเวลาฟังเสียงของประชาชนแล้ว

งานรณรงค์ยุติพลาสติกของกรีนพีซต่อภาครัฐ

เหตุผลที่เราต้องเรียกร้อง ‘สนธิสัญญาพลาสติกโลก’

เริ่มที่ตัวเองพอไหม? ชวนตั้งคำถามถึงนโยบายการจัดการมลพิษพลาสติกของรัฐ
ร่วมสนับสนุนงานรณรงค์ของกรีนพีซ
-
ร่วมผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่เข้มแข็ง! หยุดวิกฤตมลพิษพลาสติก
สนธิสัญญาพลาสติกโลกฉบับนี้จะเป็นหมุดหมายสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลก โดยเฉพาะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่นับวันมีแต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เราขอเรียกร้องให้เกิดสนธิสัญญาที่มีความมุ่งมั่นและทะเยอทะยาน เพื่อลดการผลิตและการใช้พลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม
-
ร่วมเป็น Champions of Change เพื่อยุติวิกฤตมลพิษพลาสติก
Champions of Change: ผู้นำภาคธุรกิจเพื่อสนธิสัญญาพลาสติกที่เข้มแข็ง คือความร่วมมือระหว่าง Greenpeace International, Break Free From Plastic และ Plastic Pollution Coalition เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้แสดงจุดยืนสนับสนุนสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่เข้มแข็ง และช่วยผลักดันมาตรการสำคัญในการจัดการที่ครอบคลุมตลอดทั้งวงจรชีวิตพลาสติก สร้างเครือข่ายกับผู้นำรายอื่น และร่วมมือกันเพื่อส่งเสียงที่ทรงพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง
-
“ไม่ควรชิน แม้จะเห็นทุกวัน” คุยกับคนดูหนังที่อยากให้ปัญหาพลาสติกเป็นจุดเริ่มบทสนทนา
PLASTIC PEOPLE หนังสารคดีเรื่องแรกพาเราเข้าไปเห็นชีวิตของมนุษย์ ที่รายล้อมด้วยพลาสติกในทุกช่วงจังหวะ ตั้งแต่สิ่งของที่หยิบจับ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดูราวกับว่าพลาสติกได้หลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายโดยไม่รู้ตัว เราคุ้นชินกับมันเสียจนลืมไปแล้วว่า พลาสติกไม่ได้เป็นเพียงสิ่งของอีกต่อไป แต่มันอยู่ในตัวเราแล้วจริงๆ