
พบกับเรือ เรนโบว์ วอร์ริเออร์ ในประเทศไทย!
มิถุนายนนี้
เรือธงงานรณรงค์ของกรีนพีซ
เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ เป็นเรือธงสำหรับใช้รณรงค์ของกรีนพีซ เป็นสัญลักษณ์ของการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธีเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมทรัพยากร และสิทธิมนุษยชน และได้กลายเป็นสัญญาณแห่งความหวัง เรือเรนโบว์ออกปฏิบัติการครั้งแรกในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2521 โดยมีเป้าหมายในการขัดขวางการล่าวาฬเพื่อการค้าที่ไอซ์แลนด์ โดยออกจากท่าเรือในลอนดอน มีลูกเรือ 24 คน จาก 10 ประเทศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เรือเรนโบว์เป็นแนวหน้าในการขับเคลื่อนงานรณรงค์ของกรีนพีซ โดยเรือสามารถเดินทางไปยังน่านน้ำต่าง ๆ เพื่อเป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ ทำวิจัย ทำการสื่อสารประเด็นสิทธิและสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ใช้เป็นแพลตฟอร์มในการเจรจา โดยมีเป้าหมายในการยุติการทำลายสิ่งแวดล้อม
เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ (Rainbow Warrior) เรือธงของกรีนพีซเดินทางมายังประเทศไทยที่จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 8-13 มิถุนายน 2567 และจังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 17- 24 มิถุนายน 2567 เพื่อทำงานร่วมกับชุมชน ภาคประชาสังคม องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล เพื่อปกป้องทะเลไทย และสิทธิชุมชนชายฝั่ง
โครงการ “Rainbow Warrior Ship Tour 2024: Ocean Justice” มีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการอภิปรายถกเถียงอย่างกว้างถึงนโยบายสาธารณะด้านสิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมในกำหนดเขตพื้นที่และบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมแนวชายฝั่งทะเลไปพร้อมกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

จุดเด่นของเรือ
เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ลำที่สาม ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานรณรงค์โดยเฉพาะ สามารถแล่นได้เร็วพอ ๆ กับเรือพานิชย์ทั่วไป และมีเรือปฏิบัติการอีกหลายลำที่พร้อมปล่อยลงทะเลได้ในเวลาไม่กี่นาที บนเรือมีจุดจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งช่วยให้เราสามารถมองหาการลักลอบทำประมง และการขนส่งไม้เถื่อน
เรนโบว์ วอร์ริเออร์เป็นศูนย์กลางระบบสื่อสารกลางทะเล โดยมีระบบสื่อสารดาวเทียมบนเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ซึ่งสามารถถ่ายทอดคลื่นวิทยุหรือสัญญาณดาวเทียม ส่งภาพและวิดีโอจากสถานที่เกิดอาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อมสู่สายตาของคนทั้งโลกได้ทันที
เป็นเรือใบและใช้ลมในการขับเคลื่อนเป็นหลักเพื่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของเรือทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าและยังสามารถพลังงานมาใช้ภายในเรือ ขณะที่ระบบน้ำมันถูกดัดแปลงให้มีไม่มีการรั่วไหลลงทะเล
งานรณรงค์ในประเทศไทย
เรือเรนโบว์เคยมาไทย ทั้งหมด 5 ครั้ง โดยการมาในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมภายใต้แคมเปญ Ocean Justice ซึ่งเป็นแคมเปญรณรงค์เพื่อสิทธิชุมชนชายฝั่งจากผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ อุตสาหกรรมประมงทำลายล้าง และอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อทะเล และสทำงานร่วมกับชุมชนชายฝั่งเพื่อในการออกแบบนโยบายและพัฒนาพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล โดยใช้ความรู้ชุมชนร่วมกับความรู้เชิงวิชาการ ทั้งหมดนี้เพื่อปกป้องระบบนิเวศทางทะเล ความมั่นคงทางอาหาร และชีวิตของผู้คนนับล้านที่พึ่งพิงทรัพยากรชายฝั่ง


Get to know us
We win campaigns

-
“สมถะ” ร้านอาหารมังสวิรัติเพื่อโลกผ่านการกินอย่างเรียบง่าย
เมื่อพูดถึงอาหารมังสวิรัติ แม้ว่าเราจะเข้าใจตรงกันว่า คืออาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ หากนิยามของอาหารมังสวิรัติที่แต่ละคนมีก็ย่อมจะแตกต่างกันไป แต่สำหรับ ริบบิ้น–นิชาภา นิศาบดี เจ้าของร้าน ‘สมถะ’ ร้านอาหารมังสวิรัติเปิดใหม่แห่งเมืองเชียงใหม่ เธอนิยามมันว่าคือ ‘ความเรียบง่าย’ ไม่ใช่อาหารราคาแพงๆ อย่างที่เรามักจะเข้าใจกัน
-
กลุ่มผู้ประกอบการเกาะพยามและเครือข่ายภาคประชาชนระนอง-ชุมพรจัดงาน “ดินเนอร์ ทอล์ค” ห่วงโครงการแลนด์บริดจ์กระทบธรรมชาติ-วิถีชีวิต
ระนอง, 28 เมษายน 2568 – เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2568 ที่ผ่านมากลุ่มผู้ประกอบการเกาะพยาม จังหวัดระนองร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนระนอง-ชุมพร จำนวนกว่า 60 คน จัดงาน “ดินเนอร์ ทอล์ค” ในหัวข้อ “ถกอนาคตเกาะพยาม ท่ามกลางคลื่นลมการเปลี่ยนแปลง” เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและหาทางรับมือกับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและแลนด์บริดจ์ชุมพร–ระนอง ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศ การท่องเที่ยว และวิถีชีวิตดั้งเดิม
-
ค่าไฟหน้าร้อน ! กับภาระจำยอมที่ต้องจ่าย
เมษานี้ ใครได้บิลค่าไฟแล้วบ้าง? แชร์ให้เราฟังหน่อยว่าคุณจ่ายค่าไฟไปเท่าไร !
-
เมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ไม่เชื่อ ‘ภาวะโลกเดือด’ แล้วการรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศล่ะ?
นอกจากการสร้างความปั่นป่วนให้ทั่วโลกด้วยนโยบายกำแพงภาษีของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่ประธานาธิบดีและคณะบริหารชุดนี้เข้าไปสร้างความปั่นป่วนให้เกิดไปทั่วโลกนั่นคือประเด็นวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
-
“ไม่ควรชิน แม้จะเห็นทุกวัน” คุยกับคนดูหนังที่อยากให้ปัญหาพลาสติกเป็นจุดเริ่มบทสนทนา
PLASTIC PEOPLE หนังสารคดีเรื่องแรกพาเราเข้าไปเห็นชีวิตของมนุษย์ ที่รายล้อมด้วยพลาสติกในทุกช่วงจังหวะ ตั้งแต่สิ่งของที่หยิบจับ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดูราวกับว่าพลาสติกได้หลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายโดยไม่รู้ตัว เราคุ้นชินกับมันเสียจนลืมไปแล้วว่า พลาสติกไม่ได้เป็นเพียงสิ่งของอีกต่อไป แต่มันอยู่ในตัวเราแล้วจริงๆ