สถานการณ์อุตสาหกรรมถ่านหินในไทย
ตราบใดที่มลพิษยังไม่ถูกจัดการที่ต้นตอ ถ่านหินยังถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง ผู้คนยังคงต้องร่วมจ่ายต้นทุนด้วยสุขภาพของตัวเองต่อไป

การเผาไหม้ถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดหลักของมลพิษ PM2.5 ที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ การศึกษาในปี พ.ศ. 2553 ระบุว่า PM2.5 เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่าสามล้านคนทั่วโลก และราว 37,500 คนต่อปีในประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2554 โรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรประมาณ 1,550 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอาจเพิ่มขึ้นถึง 5,300 คนต่อปี หากรัฐบาลไทยเดินหน้าขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ในประเทศ การรณรงค์เพื่อปลดแอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อเรียกร้องให้โลกลด ละ เลิกการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยมลพิษ ยุติยุคถ่านหิน และเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ชุมชนต่างๆ กำลังหันหลังให้กับเชื้อเพลิงสกปรกและต่อสู้เพื่อสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่และปลอดภัย
เปิดโฉมหน้าอุตสาหกรรมถ่านหิน ภาพรวมการลงทุน โครงการเหมืองถ่านหินที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิด ผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบผ่านเสียงของคนในพื้นที่

-
Beyond Coal: ก้าวข้ามถ่านหินสู่พลังงานสะอาดและการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม
ในโลกยุคปัจจุบัน ถ่านหินซึ่งเคยเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก กำลังเป็นตัวการที่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างร้ายแรง การเผาไหม้ถ่านหินก่อให้เกิดวิกฤตโลกเดือดและสร้างมลพิษทางอากาศ ทั้งก๊าซเรือนกระจก ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาลจากการใช้ถ่านหิน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ
Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน