จาการ์ตา อินโดนีเซีย – 29 กันยายน 2564 : รายงานล่าสุดจากความร่วมมือของ 24 องค์กรภาคประชาสังคมเผยหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านสิทธิมนุษยชน แรงงานข้ามชาติ และป้องกันอาชญากรรมของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังล้มเหลวในการปกป้องแรงงานประมงข้ามชาติที่ทำงานบนเรือประมงในน่านน้ำสากล โดยไม่สามารถแม้แต่จะจัดการให้สิทธิแรงงานประมงเท่ากับ แรงงานข้ามชาติที่ทำงานบนบก หรือแม้แต่แก้ไขปัญหาที่แรงงานเหล่านี้กำลังเผชิญ 

รายงาน “Briefing Paper on Ratifying and Implementing ILO Convention 188 in ASEAN Member States” เผยให้เห็นความล้มเหลวในการดำเนินงานของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Committee on Migrant Workers) คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ (the Senior Officials’ Meeting on Transnational Crime) ในการปกป้องสิทธิแรงงานประมงข้ามชาติ โดยรายงานระบุว่าองค์กรเหล่านี้ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเร่งแก้ปัญหาการแรงงานบังคับในทะเล พร้อมเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบันอนุสัญญาแรงงานในภาคประมง (ILO Work in Fish Convention188)  ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการริเริ่มแก้ปัญหาสภาวะการทำงานและปกป้องสิทธิแรงงานประมงในระดับนานาชาติ

ฮาริยันโต ซูวาร์โน ประธานสหภาพแรงงานประมงอินโดนีเซีย กล่าวถึงสถานการณ์แรงงานประมงว่า “อุตสาหกรรมประมงต้องพึ่งแรงงานข้ามชาติจากประเทศที่มีการจ้างงานต่ำ และทำให้แรงงานเหล่านี้เองก็ยอมทำงานโดยรับค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม ผลก็คือแรงงานข้ามชาติจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำงานบนเรือประมงต่างชาติต้องอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงถูกเอารัดเอาเปรียบและกลายเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์” 

“หากอนุสัญญาแรงงานภาคประมง ILO C-188 ถูกนำมาบังคับใช้ ประเทศในอาเซียนจะมีพันธกิจที่แข็งแกร่งขึ้นในการปกป้องลูกเรือและสิทธิแรงงานของพวกเขา ชีวิตมนุษย์กลุ่มนี้กำลังอยู่ในความเสี่ยง และนี่คือก้าวหนึ่งที่จะขจัดการบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมง”

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่ให้สัตยาบันกับอนุสัญญาแรงงานภาคประมง ILO C-188 อย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกอาเซียนควรมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรมและปลอดภัย และร่วมผลักดันมาตรการที่จะจัดการกับปัญหาการกดขี่แรงงานที่เกิดขึ้นบนเรือประมงข้ามชาติ

แอนนิสา เอโรว จากกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหนึ่งในผู้เขียนรายงาน กล่าวว่า “ตัวเลขรายงานที่เพิ่มขึ้นของการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม สภาพการทำงานที่เลวร้าย และการตายของลูกเรือประมงข้ามชาติในน่านน้ำสากลตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมาเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง ถ้าอนุสัญญา ILO C-188 ถูกนำมาบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ นี่เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสิทธิแรงงานประมงในอุตสาหกรรม” 

ตอนนี้ตัวรายงานได้ถูกส่งมอบให้กับสำนักเลขาธิการอาเซียนแล้ว และเพื่อที่จะทำให้การนำอนุสัญญามาบังคับใช้ให้เร็ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำประกอบด้วย 

  1. ให้สิทธิแรงงานประมงข้ามชาติในน่านน้ำสากลเท่ากับแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบนบกหรือในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและในน่านน้ำอาณาเขต 
  2. บังคับใช้อนุสัญญาแรงงานในภาคประมง (ILO Work in Fish Convention-188)
  3. พัฒนาแผนในการป้องกัน ปกป้อง ดำเนินการทางกฎหมายกับการบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมง 

“รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทีมในเสนอทางออกให้กับการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ ทรัพยากรจำนวนมากถูกนำมาใช้ในการส่งเสริมให้มีการรับอนุสัญญา C-188” หลวงพ่อเปาโล ผู้อำนวยการศูนย์ the Scalabrini Center for People on the Move และอนุศาสนาจารย์ประจำคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้เดินทางทะเล” (Stella Maris) ประจำมะนิลาให้สัมภาษณ์ 

“พวกเราร่วมกับภาคประชาสังคมขอเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียนมองไปข้างหน้าและรับอนุสัญญา C-188 เพื่อให้ความเป็นธรรมกับเหยื่อ และสิ้นสุดความโหดร้ายของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับแรงงานประมง”

ดาวน์โหลด “Briefing Paper on Ratifying and Implementing ILO Convention 188 in ASEAN Member States” 

24 องค์กรภาคประชาสังคมที่มีส่วนร่วมในรายงานฉบับนี้ 

18 องค์กรที่ร่วมเขียนรายงาน

  1. Asosiasi Pekerja Perikanan Indonesia (Indonesian Fisheries Workers Association – AP2I)
  2. CSO Coalition for Ethical and Sustainable Seafood
  3. Environmental Justice Foundation (EJF)
  4. Forum Asia
  5. Global Labor Justice – International Labor Rights Form (GLJ-ILRF)
  6. Greenpeace Southeast Asia
  7. Indonesia Ocean Justice Initiative (IOJI)
  8. Lembaga Bantuan Hukum Bandung (Bandung Legal Aid Institute – LBH Bandung)
  9. Oxfam International – Asia
  10. Plan International
  11. Serikat Awak Kapal Perikanan Bersatu (SAKTI) SULUT / North Sulawesi United Fishing Vessel Crew Union (SAKTI SULUT)
  12. Serikat Awak Kapal Transportasi Indonesia (SAKTI) / Indonesian Transportation Crew Union
  13. Serikat Buruh Migran Indonesia (Indonesian Migrant Workers Union – SBMI)
  14. Serikat Pekerja Perikanan Indonesia (Indonesian Fisheries Workers Union – SPPI)
  15. Serikat Pelaut Sulawesi Utara (North Sulawesi Seafarers’ Union – SPSU)
  16. Stella Maris Manila
  17. The Migrant Workers Rights Network (MWRN)
  18. Verité Southeast Asia.

6 องค์กรที่รับรอง 

  1. Amnesty International – Indonesia
  2. Destructive Fishing Watch (DFW)
  3. Human Rights Working Group (HRWG)
  4. MARUAH Singapore
  5. Raks Thai Foundation
  6. Solidaritas Perempuan (SP) / ​​Women’s Solidarity.

[2] “Forced Labour at Sea: The Case of Indonesian Migrant Fishers” 

ติดต่อ: 

ทรงวุฒิ จุลละนันท์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โครงการรรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ ประเทศไทย

โทร 097 060 4182 อีเมล [email protected]