1.ปลาทูน่าเป็นปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก และเป็นสายพันธุ์นักล่าที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในระบบนิเวศทางทะเล อุตสาหกรรมปลาทูน่ามีส่วนในการจัดสรรงานหลายพันตำแหน่งในกระบวนการจับปลา แปรรูป และจำหน่ายไปทั่วโลก การค้าปลาทูน่าเชิงพานิชย์ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 42 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (2)
2.มหาสมุทรแปซิกกลางและตะวันตก เป็นแหล่งจับปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ให้ผลผลิตร้อยละ 56 ของการประมงทั่วโลกในปี 2559 มหาสมุทรแปซิกกลางและตะวันตกจึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญมากของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปริมาณการผลิตถึง 2,717,850 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2559 (3)
3.บริษัทแปรรูปทั้งหลายในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นตัวแปรสำคัญต่อความพยายามบรรลุถึงความยั่งยืน การตรวจสอบย้อนกลับ และความเป็นธรรม เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 กรีนพีซและบริษัทไทยยูเนี่ยนได้บรรลุข้อตกลง (4) ในสี่ประเด็นสำคัญ คือ สิทธิมนุษยชน การขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำกลางทะเล การประมงเบ็ดราว และการใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FADs) ตามข้อตกลงนี้ บริษัทไทยยูเนี่ยนได้ให้คำมั่นสัญญาที่มีนัยสำคัญและจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยมุ่งหวังสนับสนุนข้อปฏิบัติที่จะเป็นตัวอย่างในการประมง โดยลดแนวปฏิบัติที่ผิดกฎหมายและผิดศีลธรรมจรรยาในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และจับปลาทูน่าป้อนสู่ตลาดหลักของโลกอย่างรับผิดชอบมากขึ้น ข้อตกลงในขั้นปฏิรูปนี้จะสร้างกลไกที่สำคัญต่อการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม และโปร่งใสมากขึ้น โดยภายในปี 2561 จะมีองค์กรภายนอกที่เป็นอิสระเข้ามาตรวจสอบตามกระบวนการเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ให้ไว้ และกรีนพีซสนับสนุนแผนริเริ่มตามรายละเอียดในข้อตกลง และจะติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินการอย่างใกล้ชิด
4.อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะปฏิบัติตามแนวทางของบริษัทไทยยูเนี่ยน เราจะเริ่มปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน การขนถ่ายสินค้า สัตว์น้ำกลางทะเล การประมงเบ็ดราว และการใช้อุปกรณ์ล่อปลา(FADs) ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 เราจะรับผิดชอบการเจรจาที่ตรงไปตรงมาและโปร่งใสอย่างต่อเนื่อง กับ “ผู้มีส่วนได้เสีย” (5)
—————————————-—————————————-
(2) สำนักวิจัย The Pew Charitable Trusts. เรื่อง Netting Billions: A Global Valuation of Tuna in the Western And Central Pacific Ocean. เอกสารข้อเท็จจริง (23 กันยายน 2559)
(3) วิลเลี่ยมส์ พี และอื่นๆ (2559) อธิบายโดยสรุป อุตสาหกรรมประมงปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง รวมทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ปี 2559
(4) http://www.greenpeace.org/international/Global/international/documents/oceans/Thai-Union-Commitments.pdf
(5) ผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ รัฐบาล บริษัทประมง กลุ่มแรงงาน เอ็นจีโอ ผู้ค้า ผู้บริโภค แรงงานประมง และ องค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค
6. เรามีความเห็นว่า มาตรการอนุรักษ์และจัดการ ควรควบคู่ไปกับการใช้มาตรการป้องกันไว้ก่อนและการตรวจสอบอย่างแข็งขัน ร่วมกับการควบคุมและเฝ้าระวัง ก็จะสามารถอนุรักษ์ปลาทูน่าและชนิดพันธุ์ที่สำคัญอื่นๆ เช่น ฉลาม เต่า และชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์อีกหลายชนิด พร้อมกันนี้ เราได้นำเสนอข้อแนะนำบางประการต่อคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา
ข้อแนะนำ
สิทธิมนุษยชน
7. เราวิตกกังวลมากที่สุดต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขบนเรือประมงในน่านน้ำที่ห่างไกล ซึ่งมักจ้างแรงงานในภูมิภาคนี้ เราเชื่อว่า WCPFC เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน และ WCPFC ควรพิจารณาออกแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน และกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการละเมิด
การประมงเบ็ดราว
8. เราสนับสนุนอย่างแรงกล้าต่อข้อเสนอที่ให้มี “การติดตาม ควบคุม และ เฝ้าระวัง การประมงเบ็ดราว ที่ดีขึ้น (7)” มาตรการเหล่านี้ ควรได้รับการพิจารณา
a. ยกเลิกการขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำกลางทะเลในน่านน้ำสากล
b. ครอบคลุมการตรวจสอบ (กองเรือทุกลำและทั่วทั้งภูมิภาค) และปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้การตรวจสอบทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ และด้วยบุคคล อย่างเต็มพิกัด 100%
c. ติดตั้งระบบระบุตำแหน่งเรือประมงอัตโนมัติ VMS บนเรือประมงทุกลำ – โดยไม่อนุญาตให้มีการรายงานด้วยการเขียนด้วยมือ
อุปกรณ์ล่อปลา FADs
9. เราสนับสนุนอย่างแรงกล้าต่อข้อเสนอที่ “จำกัดจำนวน FADs และจำนวน FADs ที่อนุญาตให้ใช้ ให้สอดคล้องกับมาตรการที่จริงจังในการรายงานและความโปร่งใสในการใช้ FADs มาตรการต่างๆนี้ ควรจะ
a. จำกัดจำนวน FADs ชั่วคราวที่อนุญาตให้ใช้ในเรือแต่ละลำ เพื่อลดปริมาณการใช้ในปัจจุบัน
b. ลดปริมาณการใช้ FADs
c. บังคับให้มีการรายงานและแสดงความโปร่งใสในการใช้ FADs ในทุกวัตถุประสงค์
d. กำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านไปใช้อุปกรณ์ FADs ที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และ ไม่พันกันยุ่งเหยิง
(6) ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560
(7) ตราบใดที่มาตรการจับทูน่าเขตร้อน ไม่ได้เจาะจงประเด็นสิทธิมนุษยชน การห้ามถ่ายลำเรือ และ ติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังอย่างแข็งขันในการทำประมงประเภทวางเบ็ดราว มาตรการจับทูน่าที่กำหนดก็จะยังห่างไกลต่อการแก้ปัญหาต่างๆ
ประมงที่สร้างผลกระทบน้อย (เบ็ดมือ / เบ็ดตวัด)
10. เราวิตกกังวลต่อผลกระทบมหาศาลของการประมงในน่านน้ำสากล ที่มีต่อการประมงแบบใช้เบ็ดมือ และเบ็ดตวัด เมื่อปลาทูน่าอยู่ในแหล่งเดียวกัน มาตรการอนุรักษ์และจัดการจึงควรจัดสรรให้มีการประมงอย่างเท่าเทียมในแหล่งเดียวกันนี้ ที่โอกาสในการประมงไม่ใช่เพื่อเบ็ดราวหรืออวนเท่านั้น แต่เพื่อประมงที่สร้างผลกระทบน้อย เช่น เบ็ดมือ และ เบ็ดตวัด ด้วย เราจึงนำเสนออย่างแข็งขัน ให้นำเบ็ดมือและเบ็ดตวัด เข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจทั้งในระดับชาติ และ ในหมู่คณะกรรมาธิการ WCPFC ด้วย ความคิดเห็นที่นำเสนอนี้ ควรได้รับการพิจารณาในการร่างมาตรการอนุรักษ์และจัดการ
11. ท้ายที่สุด คณะกรรมาธิการควรกำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนข้อปฏิบัติทั้งหมด ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส และการตรวจสอบได้ในกระบวนการตัดสินใจด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
• บริษัทอลิอันซ์ เซเล็ค ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในนามของผู้บรรจุอาหารกระป๋องในฟิลิปปินส์ คุณเอ็ดเวิร์ด โนมา [email protected] +6326355241
• แบรนด์ซีเล็ค ในนามของสินค้าแบรนด์ไทย คุณจารุวรรณ สัมพันธ์วานิช [email protected], [email protected] Tel. +66 (0)2-108-1980-1 ext.501
• สมาคม Asosiasi Perikanan Pole & Line dan Handline Indonesia ในนามของผู้บรรจุอาหารกระป๋องในอินโดนีเซีย คุณจานติ ดจัวรี [email protected]
• กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [email protected] +639178663036
-
ผลสำรวจสัตว์ทะเลหน้าดิน แพลงก์ตอนและสัตว์น้ำวัยอ่อน จ.ชุมพร อ.จะนะ และ อ.เทพา จ.สงขลา จากกิจกรรม “Rainbow Warrior Ship Tour 2024: Ocean Justice”
กรีนพีซ ร่วมกับนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัยและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เพื่อร่วมทำงานวิจัยเพื่อวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองกับตัวแทนชุมชนประมงจาก จังหวัดชุมพร อ.จะนะ และ อ.เทพา จ.สงขลา รวบรวมข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล ผ่านการสำรวจสัตว์ทะเลหน้าดิน
-
อุณหภูมิมหาสมุทรออสเตรเลียร้อนขึ้นเป็นประวัติการณ์ เกิดอะไรขึ้นเมื่อมหาสมุทรกลายเป็นหม้อต้มน้ำเดือด
ล่าสุด อุณหภูมิมหาสมุทรออสเตรเลียสูงขึ้นจนอยู่ในภาวะฉุกเฉิน โดยปีที่ผ่านมา (2567) อุณหภูมิผิวน้ำของทะเลสูงจนทำลายสถิติที่เคยบันทึกได้ ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดสำหรับมหาสมุทรออสเตรเลีย ซึ่งสถิติดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขชี้วัด แต่บ่งบอกถึงวิกฤตที่เป็นคลื่นใต้น้ำ คุกคามชีวิตของสัตว์ทะเล แนวปะการัง และวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่งซึ่งพึ่งพาทะเลอันอุดมสมบูรณ์
-
กรีนพีซกังวล ‘อันตรายจากสารพิษหลายชนิด’ จากเหตุเรือชนกันในทะเลเหนือ
กรีนพีซแสดงความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล อันเนื่องมาจากสินค้าและน้ำมันเตา (Bunker fuel) ของเรือบรรทุกสารเคมีและเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เกิดอุบัติเหตุชนกันนอกชายฝั่งยอร์กเชียร์ (Yorkshire) ของอังกฤษ ใกล้กับพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมสูง