กรุงเทพฯ, 8 มิถุนายน 2562, –  ผู้คนจาก 23 ประเทศพร้อมใจกันทาสีตัวเป็นสีฟ้า เพื่อสร้างปรากฎการณ์คลื่นมนุษย์ เรียกร้องให้ช่วยกันปกป้องผืนมหาสมุทรของเรา รวมถึง เฮเลน เมียร์เรน นักแสดงเจ้าของรางวัลออสการ์จากเรื่อง The Queen และ ฮาเวียร์ บาร์เด็ม นักแสดงชาวสเปน ที่ออกมาสนับสนุนการเรียกร้องในครั้งนี้ด้วย

คลื่นมนุษย์ลูกแรกเริ่มจากเมืองซานเตียโกประเทศชิลีมายังกรุงเทพฯ ส่งต่อไปยังลอนดอน และโจฮันเนสเบิร์ก กลุ่มนักกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลยื่นข้อเสนอต่อองค์การสหประชาชาติ ให้ผ่าน “สนธิสัญญาทะเลหลวง” (Global Ocean Treaty) โดยสนธิสัญญานี้จะสร้างให้เกิดเครือข่ายของเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล ที่จะช่วยปกป้องมหาสมุทรไว้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 จากพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด ภายในปี พ.ศ. 2573 [1]

ณ โคลอสเซียม ในกรุงโรม ประชาชนมารวมตัวกันฟอร์มเป็นคลื่นมนุษย์ กระเพื่อมส่งต่อไปบนท้องถนนเมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล ขณะที่ในเมืองอิสตันบูล เด็กๆ ก็มาช่วยกันส่งข้อความผ่านเกลียวคลื่น เพื่อให้ช่วยกันปกป้องมหาสมุทร จากบริเวณหน้าวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

ถึงมัสยิดกษัตริย์ฮัสซันที่ 2  ที่เมืองคาซาบลังก้า ซึ่งมนุษย์สีฟ้าทั้งหมดออกมาเพื่อเรียกร้องให้มีการกำหนดเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล

เรายังได้แรงสนับสนุนจากบรรดาคนดังทั่วโลก ที่มาช่วยเปล่งเสียงเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อมหาสมุทรให้ดังกึกก้องไปทั่วโลก ว่าเราอยากเห็นการกำหนดเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล เหล่าคนดังที่ออกมาสนับสนุนงานปกป้องทะเลมหาสมุทร เช่น นักแสดงรางวัลออสการ์ชาวสเปน ฮาเวีย บาร์เดม  นักร้องนักแสดงชาวจีน หลี่ อี้เฟิง และถาน เว่ยเหวย โดย เฮเลน เมียร์เรน นักแสดงชาวอังกฤษเจ้าของรางวัลออสการ์ กล่าวว่า “ปัจจุบันมหาสมุทรของเราต้องเผชิญกับการทำประมงเกินขนาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการทำเหมืองแร่ในทะเล และปัญหาขยะพลาสติก แต่เรายังสามารถช่วยกันพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้”

ฟรีด้า เบนทฺสัน ผู้ประสานรณรงค์เพื่อปกป้องทะเลและมหาสมุทร ของกรีนพีซ กล่าวว่า “มหาสมุทรของเรากำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญต้องอาศัยแรงผลักดันจากภาคการเมืองมาช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม  รัฐบาลทั่วโลกต้องรู้ว่า การเจรจาเรื่องสนธิสัญญาทะเลหลวงที่องค์การสหประชาติมีประชาชนกำลังจับตาดูการทำงานของพวกเค้าอยู่อย่างใกล้ชิด”

ฟรีด้าย้ำว่า “ผู้คนทั่วโลกต่างเรียกร้องให้ผู้นำประเทศปกป้องทรัพยาการสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล เช่น วาฬและเต่า เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะมีความมั่นคงทางอาหารไว้เพียงพอรองรับผู้คนกว่าหลายพันล้านชีวิตทั่วโลก รวมถึงการมีระบบนิเวศทางทะเลที่สมบูรณ์ ก็จะช่วยเป็นเกราะป้องกันภัยยามที่เราต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

ประเทศไทย เหล่าอาสาสมัครจำนวน  14 คน มาร่วมกันฟอร์มตัวเป็นคลื่นสีฟ้าบริเวณด้านหน้าวัดสุทัศน์ฯ เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนสนใจปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องทะเล นางสาวชัญญานุช บุษยาตรัจ อาสาสมัครที่ร่วมกิจกรรม  กล่าวว่า “เรามารวมตัวกันวันนี้เพื่อแสดงออกถึงความรักที่เรามีต่อมหา สมุทร และเรียกร้องให้เกิดสนธิสัญญาทะเลหลวง กิจกรรมคลื่นมนุษย์ครั้งนี้เป็นกิจกรรมระดับโลก ที่มีผู้คนหลายล้านคนสนับสนุน แผนการกำหนดเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล ไม่เพียงช่วยปกป้องมหาสมุทรเท่านั้นแต่ยังช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลที่มีคุณค่าอีกด้วย”

หมายเหตุ

[1]สนธิสัญญามหาสมุทรโลก: การเจรจาครั้งที่สองขององค์การสหประชาชาติที่มีสนธิสัญญาครอบคลุมน่านน้ำสากล เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2562 การเจรจารอบทีสามจะเกิดขึ้นที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติในนครนิวยอร์กในเดือนสิงหาคม 2562 โดยหวังว่าจะได้ข้อสรุปของกระบวนการทำสนธิสัญญาได้ในคร้งที่ 4 จะสามารถเสร็จสิ้นกระบวนการครั้งสุดท้ายในช่วงฤดูใบไม้ผลิในปี 2563 สนธิสัญญามหาสมุทรระดับโที่โลกที่แข่งแกร่งสามารถเป็นกรอบกฎหมายสำหรับคุ้มครองน่านน้ำระหว่างประเทศ ทำให้สามารถสร้างพื้นที่ความคุ้มครองทางทะเลที่ได้รับการปกป้องอย่างสมบูรณ์ (ocean sanctuaries) ซึ่งเป็นเขตที่ปลอดจากกิจกรรมของมนุษย์ กรีนพีซเรียกร้องให้มีเขตพื้นที่ควบคุมทางทะเลครอบคลุมพื้นที่มหาสมุทรอย่างน้อง 1 ใน 3 ของโลกภายในปี 2573 ซึ่งเป้าหมายของนักวิทยาศาสตร์ที่สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ(IUCN) ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมการปกป้องมหาสมุทรโลก ทำไมเราต้องการสนธิสัญญามหาสมุทรโลก สามารถดูได้ที่ https://greenpeace.org.uk/wp-content/uploads/2019/03/Why-we-need-a-Global-Ocean-Treaty.pdf

ดูสรุปนโยบายได้ที่ https://greenpeace.org.uk/wp-content/uploads/2019/03/Global-Ocean-Treaty-Greenpeace-Briefing-IGC2.pdf

ภารกิจเพื่อปกป้องมหาสมุทร (Pole to Pole Expedition):  เรือรณรงค์ของกรีนพีซกำลังออกเดินทางโดยเริ่มต้นจากดินแดนขั้วโลกเหนือในทวีปอาร์กติดไปยังมหาสมุทรแอนตาร์กติกที่ขั้วโลกใต้ เพื่อศึกษาวิจัยและเปิดโปงภัยคุกคามต่อมหาสมุทร  รวมถึงรณรงค์ให้มีการประกาศสนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่นอกน่านน้ำภายในประเทศ ดูแผนที่การเดินทางภารกิจ Pole to Pole

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม