การประชุมด้านสภาพภูมิอากาศโลก COP
COP คือการประชุมรัฐภาคีสมาชิกความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศ (multilateral agreement) ต่าง ๆ ภายใต้สหประชาชาติ โดยย่อมาจาก Conference of Parties COP ที่รู้จักกันดี คือการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)
โดยเป็นเวทีเจรจาระดับโลกว่าด้วยวิกฤตโลกร้อนที่ดำเนินสืบเนื่องมาเกือบ 3 ทศวรรษ COP เป็นเวทีที่รัฐภาคีสมาชิกมารวมตัวกันทุกปีเพื่อเจรจาตกลงในการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ บางครั้ง มีการเสนอแผนและลงนามในความตกลงโดยเกือบทุกประเทศทั่วโลกเข้าร่วม
ดังนั้น หมายความว่าจะมีทั้งผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุด รวมถึงผู้แทนจากรัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่อาจหายไปจากแผนที่โลกในศตวรรษนี้มาอยู่ในเวทีเจรจาเดียวกัน รัฐบาลบางประเทศมาเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในขณะที่รัฐบาลอีกหลายประเทศพยายามต่อรองผลประโยชน์ส่วนตน แต่ท้ายที่สุด COP เป็นการประชุมเจรจาระดับโลกเวทีเดียวที่คนทั้งโลกมา รวมตัวกันด้วยความมุ่งมั่นที่กู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
การประชุม COP เกี่ยวข้องกับไทยอย่างไร?
การประชุม COP ถือเป็นเวทีการเจรจาที่จะนำกลุ่มประเทศที่เป็นผู้ก่อมลพิษหลัก มาเจรจาและทำข้อตกลงร่วมกับกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นความตกลงร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การลด ละ เลิกเชื้อเพลิงฟอสซิล การให้คำมั่นสัญญาเพื่อดูและรักษาผืนป่า และการชดเชยค่าเสียหายและความสูญเสียแก้กลุ่มประเทศที่ยากจนเพื่อปรับตัวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นความรับผิดชอบของกลุ่มประเทศผู้ก่อมลพิษหลัก
และไทยก็เป็นประเทศอันดับต้นๆของโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงอาหาร น้ำสะอาด อากาศบริสุทธิ์ รวมถึงความเสี่ยงที่ระบบนิเวศจะถูกทำลาย นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมที่ทวีความรุนแรงขึ้น ความยากจน และโรคระบาดในอนาคต เราคาดหวังว่าเวทีดังกล่าวจะเป็นเวทีการเจรจาเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างแท้จริงเพื่อโลกในอนาคตที่ปลอดภัยและยั่งยืน
หลายประเทศต้องจริงจังกับการแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
นี่เป็นปัญหาระดับโลกและต้องการทางออกระดับโลก ซึ่งผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และรัสเซีย ส่วนญี่ปุ่น เยอรมนี และสหราชอาณาจักรอยู่ในสิบอันดับแรก เราจึงต้องการให้กลุ่มประเทศที่ร่ำรวยที่สุดแสดงภาวะผู้นำและเคลื่อนไหวก้าวหน้าไปกว่าแผนการที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ประเทศในกลุ่ม G20 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 80% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก แต่อีกหลายประเทศรวมถึงอินเดีย จีน ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย และบราซิล ยังไม่ได้ดำเนินแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศก่อนการประชุมเจรจาสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศ COP26 แต่อย่างใด
หัวใจสำคัญของการประชุม COP คือการส่งมอบความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศแก่ผู้คนทั้งหลาย ไม่ใช่เวทีเพื่อฟอกเขียว (Greenwash) อีกทั้งยังเป็นการตัดสินว่าใครคือเจ้าของอนาคต ระหว่างผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก่อมลพิษที่แสวงกำไรจากอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ หรือผู้คนที่ต้องรับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าพื้นเมือง ชุมชนที่เปราะบาง และเยาวชนคนหนุ่มสาวทั่วโลก
กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมทำงานกับเครือข่ายชุมชน
เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชนในหลากรูปแบบประเด็น เราส่งเสริมสันติภาพ โดยไม่รับเงินสนับสนุนจากบริษัท รัฐบาล หรือ พรรคการเมืองใด เพื่อความเป็นอิสระทางการทำงาน
Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน