ชุมชนชายฝั่งกับสิทธิและความเป็นธรรม

ร่วมยืนหยัดเคียงข้างชุมชนชายฝั่งในการปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม

หลายๆโครงการพัฒนาทั่วโลก และวิกฤตสภาพภูมิอากาศกำลังกระทบวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่งอย่างหนัก โดยหลายๆโครงการ ชุมชนไม่ได้มีส่วนรวมในการออกเสียงและออกแบบการพัฒนาของบ้านเกิดตนเอง

ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตน

ในประเทศไทย โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจากโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน’ ของรัฐบาล คสช. เมื่อปี 2559 เพื่อให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษ 

อย่างไรก็ตาม มีความไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง ตั้งแต่กระบวนการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปจนถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment) ที่อาจนำมาซึ่งหายนะต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน


คืนสิทธิชุมชนชายฝั่ง กำหนดทิศทางบ้านเกิดด้วยตัวเอง

ชุมชนชายฝั่งกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากทั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรม โครงการเหมืองทะเลลึก การกวาดทรัพยาทางทะเลโดยประมงทำลายล้าง ไปจนถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซทำงานรณรงค์ร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสียงต่อรัฐหรือผู้มีอำนาจ ให้ชุมชนได้มีส่วนรวมในการกำหนดและออกแบบอนาคตบ้านเกิด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์และปลอดภัยจากมลพิษ


รู้จัก ‘ทะเลชุมชน’ พื้นที่คุ้มครองทางทะเลโดยมีชุมชนเป็นผู้นำ (Community-led marine protected areas)

“ทะเลชุมชน” คือการจัดการพื้นที่ชายทะเลใกล้ฝั่งโดยชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นอย่างต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ให้ตรงกับความต้องการของชุมชน ผ่านกฎกติกาที่คนในพื้นที่ได้เจรจาต่อรองและเป็นที่ยอมรับแล้ว และเกิดการพัฒนาทั้งในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม


ร่วมเป็นพลังให้ชุมชนชายฝั่งไทยและทั่วโลก

การร่วมลงชื่อสนับสนุนงานรณรงค์สร้างเขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลที่ครอบคลุมทั่วโลก จะช่วยปกป้องสิทธิชุมชนชายฝั่ง และนำไปสู่การผลักดันให้เกิดพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่ชุมชนชายฝั่งมีส่วนร่วมในการบริหาร (OECM) ในพื้นที่ทะเลไทย

Female Fishers in Chana. © Songwut Jullanan / Greenpeace

เรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนชายฝั่งทั่วโลก