ดาการ์, เซเนกัล 8 มีนาคม 2566 – กรีนพีซลงนามเป็นส่วนหนึ่งในข้อเรียกร้องของชุมชนประมงชายฝั่งถึงผู้นำและรัฐบาล ในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากร รวมถึงรับประกันสิทธิผู้หญิงในกระบวนการจัดการทรัพยากร [1] 

อันตา ดิอูฟ ผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปจาก Mballing เมืองเล็กๆในประเทศเซเนกัล เธอยังเป็นสมาชิกเครือข่ายประมงสตรีของเมือง เธอกล่าวว่า “เมื่อก่อนนี้เวลาออกทะเลจับปลา เราได้ปลา 50 กล่องมาแปรรูป แต่ทุกวันนี้เราจับได้ไม่ถึง 20 กล่อง นี่เป็นผลที่เกิดจากการจับปลามากเกินไปโดยใช้เรือลากอวน และการนำปลาที่จับได้ในทะเลไปทำอาหารสัตว์ที่ถูกจำหน่ายไปทั่วโลกไกลหลายพันไมล์จากที่นี่ ฉันยังจำได้อยู่เลยว่าเมื่อก่อนเราจะเห็นเรือกลับเข้าท่าพร้อมกับปลาจำนวนมาก แต่พอมองภาพในปัจจุบัน ฉันอดเสียใจไม่ได้ที่สิทธิ์ในการทำประมงพื้นบ้านของเราถูกคุกคาม นี่เป็นเหตุผลที่ต้องออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิ์ของเรา” 

การประกาศการลงนามของบริษัทในช่วงวันสตรีสากลนี้เกิดขึ้นท่ามกลางแรงผลักดันจากประชาคมโลกในการรวมตัวของแรงงานประมงหญิงที่ต่อต้านการทำประมงเกินขนาดของอุตสาหกรรมประมง การทำลายชายฝั่งและละเมิดสิทธิ์ของพวกเขา

การแถลงข่าวครั้งนี้จัดขึ้นที่เมืองเซนต์หลุยส์ ประเทศเซเนกัล โดยเครือข่ายประมงสตรีพื้นบ้านเซเนกัล องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร IDinsight และกรีนพีซ แอฟริกา ทั้งนี้ หัวหน้ากลุ่มผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปเรียกร้องให้ทางการเซเนกัลรักษาคำสัญญาที่จะปกป้องสิทธิผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปของผู้หญิง[2] IDinsight ยังเผยแพร่งานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มแรงงานประมงสตรีในภาคการแปรรูปปลาทะเล ยังเป็นกลุ่มที่สร้างงาน สร้างอาชีพอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากกว่าหลายแสนตำแหน่ง และยังทำให้เห็นอีกว่าแรงงานประมงสตรีกลุ่มนี้เป็นเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว นอกจากนี้ พวกเธอยังมองว่าการทำประมงแบบผูกขาด การทำประมงเชิงพาณิชย์ และการขาดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำรงชีวิต

กรีนพีซสากลได้เผยแพร่วิดิโอของแรงงานประมงสตรีที่เล่าเรื่องราวของปัญหาในแต่ละพื้นที่ที่พวกเธอพบเจอและต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากหลากหลายประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น ชิลี มอริเตเนีย เซเนกัล สวีเดน ไทย และอินโดนีเซีย[3] ในการประชุมที่กาน่าเมื่อเดือนที่ผ่านมา  แรงงานประมงสตรีได้เสนอข้อเรียกร้องของชาวประมงขนาดเล็กในแอฟริกาเพื่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลและทางบกอย่างเสรีและเท่าเทียมกัน [4] และในวันที่ 9 มีนาคม 2566 กลุ่มประมงสตรีจากแอฟริกาตะวันตก รัฐบอลติกและสกอตแลนด์จะมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์กันผ่านเวทีแลกเปลี่ยนความคิดที่จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร [5]

กิจกรรมดังกล่าวมีขึ้นเพื่อสนับสนุนให้แรงงานประมงในระดับโลกได้แบ่งปันทักษะรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนสามารถต่อสู้กับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย อุตสาหกรรมประมงเกินขนาด การทำประมงอุตสาหกรรมเพื่อผลิตอาหารสัตว์และน้ำมันปลา การเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนมากเกิน และการทำเหมืองก๊าซธรรมชาติและแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง กรีนพีซพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มประมงพื้นบ้านที่ต้องการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิ์ของพวกเขา

จูล ทาคาลีวัง ผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิสตรีบนเกาะซางิเฮ อินโดนีเซีย เป็นอีกหนึ่งคนที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาคดีที่ยาวนานและซับซ้อนเพื่อปกป้องที่ดินของชุมชนที่อาจถูกทำลายจากการทำเหมืองกล่าวว่า “ถ้าพวกเราไม่ต่อสู้เพื่อปกป้องเกาะนี้ 57% ของพื้นที่ชายฝั่งของที่นี่จะถูกคุกคามจากการแสวงหาผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมการทำเหมืองและสร้างความเสียหายทิ้งไว้อย่างใหญ่หลวง นี่คือเกาะเล็ก ๆ ที่ควรได้รับการปกป้อง คนในชุมชนไม่ควรถูกเอาเปรียบ หลังจากผ่านกระบวนการยุติธรรมที่ยาวนานนี้แล้ว อย่ามาหลอกล่อเราด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อไล่เราออกเกาะที่เป็นบ้านของเราอีกเลย”

ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ นักรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า  “ผู้หญิงในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประเทศไทยเป็นแนวหน้าปกป้องบ้านเกิดของตนเองอย่างเด็ดเดี่ยว และไม่เกรงกลัวแม้จะต้องแลกมาด้วยการถูกคุมขัง จากการปกป้องทะเลจากโครงการอุตสาหกรรมนิคมจะนะและท่าเรือน้ำลึกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  สำหรับชุมชนชายฝั่งทั่วโลก เมื่อถึงเวลาต้องลุกขึ้นสู้ ก็ไม่มีใครคิดว่าใครเป็นเพศอะไร ทุกคนต่างต่อสู้เพื่ออนาคตของลูกหลาน และการต่อสู้ลักษณะนี้มีพลังมากกว่าอำนาจของทุนหรือของรัฐที่ไหนก็ตาม”


หมายเหตุ

  • [1] ข้อเรียกร้องของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านสามารถดูได้ที่  Coalition of Small Scale Fishers 
  • [2] รัฐมนตรีกระทรวงประมงของเซเนกัลประกาศลงนามปกป้องสิทธิสตรีในกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลในเดือนสิงหาคม 2560 ภาพถ่ายของกิจกรรม สามารถดูได้ที่นี่ 
  • Photos of the event will be available here. The Senegalese Ministry of Fisheries pledged to sign a decree protecting the rights of women fish processors in August 2017.
  • [3] The video will be available on Greenpeace International’s social media channels and in the Greenpeace Media Library here.
  • วิดีโออยู่ในช่องทางโซเชียลมีเดียของกรีนพีซสากล และใน Media Library ของกรีนพีซ สามารถดูได้ที่นี่
  • [4] สามารถดูรายละเอียดการประชุมที่กาน่าได้ ที่นี่ The African Small Scale Fishers’ demands can be found here.
  • [5] สามารถลงทะเบียนเพื่อดูรายละเอียดการประชุมออนไลน์ได้ที่ ทวิตเตอร์นี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  • ริชาร์ด ซายิด ผู้ประสานงานสื่อมวลชนกรีนพีซ แอฟริกา (แอฟริกาตะวันตก): [email protected]
  • โต๊ะข่าวกรีนพีซสากล: +31 (0) 20 718 2470,  [email protected], (ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง)
  • ติดตาม @greenpeacepress บน Twitter สำหรับข่าวประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ