ความเดิม:  ปัญหาขยะพลาสติกเริ่มกลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทย ภายหลังจากรัฐบาลจีนออกกฎหมายห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะการห้ามนำเข้าเศษพลาสติกต่างประเทศ นโยบายดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลขยะพลาสติกในประเทศจีนหลายรายได้ย้ายฐานการรีไซเคิลไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากปริมาณนำเข้าเศษพลาสติกที่อาจแฝงด้วยขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา จนทะลุ 5 แสนกว่าตันในปี 2561 และข่าวการจับกุมการลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกหลายราย ที่มีการสำแดงเท็จว่าเป็น “เศษพลาสติก”

“คณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ” ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ได้มีมติให้ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกภายใน 2 ปี (นั่นคือห้ามการนำเข้าเด็ดขาดภายในสิ้นกันยายน 2563)  และกำหนดช่วงผ่อนผันการนำเข้า 2 ปี คือระหว่างสิงหาคม 2561 ถึงสิงหาคม 2563  โดยได้กำหนดโควตาการนำเข้า ปีที่ 1 ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 70,000 ตัน ในปีที่ 2 ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 40,000 ตัน และปีที่ 3 คือตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ใบอนุญาตให้นำเข้าเศษพลาสติกตามโควตาเดิมจะหมดอายุลง และห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศโดยเด็ดขาด

ในช่วงเดือนกันยายน 2563  สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม รวม 65 องค์กรได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้ “คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์” รักษาคำมั่นที่จะยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกเด็ดขาดตามมติคณะอนุกรรมการฯ ชุดเดิม โดยไม่ต่อโควตาการนำเข้าเศษพลาสติกอีกต่อไป แต่ต่อมา กลุ่มโรงงานได้พยายามผลักดันกระทรวงอุตสาหกรรมเรียกร้องให้มีการเปิดการนำเข้าเศษพลาสติก โดยอ้างเหตุผลว่า ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ ระบุความต้องการนำเข้าเศษพลาสติกถึง 685,190 ตันต่อปี ทั้งๆ ที่    1) ก่อนปี 2560 มีการนำเข้าเฉลี่ยไม่เกิน 56,000 ตันต่อปี และ 2) สมาคมซาเล้งฯ และวงษ์พาณิชย์ได้ออกมาระบุว่ามีวัตถุดิบในประเทศอย่างเพียงพอ  

ด้วยแรงกดดันจากภาคอุตสาหกรรมและกระทรวงอุตสาหกรรม  คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงปรับเปลี่ยนนโยบายคือ ไม่ประกาศมาตรการ “ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกโดยเด็ดขาด” ตามมติคณะอนุกรรมการฯ เดิมที่มีขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 และกลับมีมติใหม่ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 คือกำหนดแผนควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติก ตั้งเป้าที่จะห้ามนำเข้าในอีก 5 ปี หรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ระหว่างนี้ให้นำเข้าได้แต่ต้องลดสัดส่วนลงทุกปีและเพิ่มสัดส่วนเศษพลาสติกในประเทศแทน โดยปี 2564 นี้ ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 250,000 ตัน 

ทางเครือข่ายฯ ยังพบว่า ขณะที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมอ้างว่าไม่ได้ให้ใบอนุญาตนำเข้าเศษพลาสติกแล้ว แต่กลับพบการนำเข้าเศษพลาสติกอย่างต่อเนื่อง อีกประมาณ 1 แสนตันเศษต่อปี โดยเป็นการนำเข้าของโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี (Free zone) ซึ่งมีกฎหมายควบคุมแยกต่างหาก ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงช่องว่างที่ใหญ่โตทางกฎหมาย และเป็นช่องว่างที่สนองตอบความพยายามของกลุ่มโรงงานที่เรียกร้องขอให้อนุญาตการนำเข้าเศษพลาสติกได้อย่างต่อเนื่อง   

เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งได้เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวดังกล่าว มีความผิดหวังกับมติคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 เป็นอย่างมาก และมีข้อสังเกตว่า การประชุมของคณะอนุกรรมการฯ ในวันดังกล่าวเป็นไปอย่างเร่งรีบและไม่มีการเชิญให้ภาคประชาสังคมหรือแม้แต่สมาคมซาเล้งฯ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเข้าร่วมในการประชุมตามปกติด้วย ทางเครือข่ายฯ เห็นว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อผ่อนผันให้นำเข้าเศษพลาสติกเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า หากยังคงเปิดให้มีการนำเข้าเศษพลาสติกจำนวนมากตามข้อเรียกร้องของโรงงานอุตสาหกรรมจะส่งผลกระทบต่อราคารับซื้อเศษพลาสติกในประเทศ และกระทบต่อรายได้ของซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า รวมถึงสวนทางกับนโยบายการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้นโยบาย BCG (Bio-economy, Circular Economy, Green Economy) ของประเทศโดยตรง   

เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมฯ จึงมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้

  1. ขอให้คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ทบทวนและยกเลิกมติ “มาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564” และประกาศนโยบายที่จะห้ามนำเข้าเศษพลาสติกภายในสิ้นปีพ.ศ. 2564 โดยเร็ว  พร้อมกันนี้ขอให้กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการจัดเวทีการพบกันระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการขายเศษพลาสติก โดยสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่ายินดีให้ความร่วมมือในการจัดหาผู้ที่ต้องการขายเศษพลาสติก
  2. ให้มีการแก้ไขกฎหมายในเขตประกอบการเสรีและกฎหมายเขตปลอดอากร โดยห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ แต่ให้มีการใช้เศษพลาสติกในประเทศแทน  
  3. ให้กรมการค้าต่างประเทศ ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก เฉกเช่นเดียวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายในปี 2565
  4. ต้องเข้มงวดการตรวจสอบในการนำเข้า เช่น กรมศุลกากรต้องจัดทำพิกัดย่อยของพิกัดศุลากร 39.15 สำหรับใช้กำกับการตรวจสอบการนำเข้าเศษพลาสติกและพลาสติกอื่นๆ เพื่อป้องกันการสำแดงเท็จ เพิ่มบทลงโทษผู้นำเข้าและผู้แทน (shipping) ที่สำแดงเท็จ รวมทั้งเผยแพร่ความคืบหน้าของการดำเนินคดีการจับกุมคดีลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อพ้นช่วงผ่อนผันแล้ว ต้องห้ามนำเข้าเศษพลาสติกพิกัดศุลกากร 39.15 ทั้งหมด  
  5. ในระหว่างที่ยังเปิดให้นำเข้าเศษพลาสติกได้ ให้นำเข้าได้เฉพาะที่เป็น “เม็ดพลาสติก” สำเร็จรูปพร้อมนำไปผลิตเป็นชิ้นงานเท่านั้น ผู้ประกอบการที่จะนำเศษพลาสติกได้จะต้องได้รับการรับรอง ISO14001 เป็นขั้นต่ำและต้องมีหลักฐานในการแสดงเพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลเหล่านี้มีความสอดคล้องกันตามความเป็นจริง ดังนี้ (1) แสดงงบดุลการซื้อ, งบดุลการขาย, งบดุลการเสียภาษีสรรพากร ย้อนหลัง 3 ปี และ (2) แสดงตัวเลขการส่งออกและตัวเลขกำลังการผลิตที่แท้จริง ย้อนหลัง 3 ปี และ (3) อนุญาตให้นำเข้าเศษพลาสติกจากประเทศที่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาบาเซลแล้วเท่านั้น
  6. กระทรวงอุตสาหกรรมต้องไม่มีนโยบายรับการลงทุนอุตสาหกรรมรีไซเคิลจากต่างประเทศที่ใช้ไทยเป็นฐานการแปรรูปเศษวัสดุจากต่างประเทศแล้วส่งออก การลงทุนแบบนี้สร้างความไม่เป็นธรรมและสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงต่อประเทศไทยเพราทิ้งกากของเสียและมลพิษให้กับประชาชนไทย ให้มีการทบทวนกฎหมายเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรีและเร่งรัดประเมินมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมโรงงานและแสดงหลักฐานว่าโรงงานที่มีการนำเข้าเศษพลาสติกและเศษวัสดุต่างๆ ได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติมากน้อยเพียงใดทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการเสียภาษีอย่างครบถ้วนหรือไม่
  7. ขอให้คณะอนุกรรมการฯ เพิ่มผู้แทนสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าและองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วมเป็นกรรมการหรือคณะทำงานด้วย เพื่อสร้างความสมดุลของนโยบาย โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งให้ผู้แทนภาคประชาสังคมร่วมในการติดตามตรวจสอบการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรและกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วย   

ภาคผนวก ข้อมูลประกอบ

วันเดือนปีเหตุการณ์สำคัญ
7 กุมภาพันธ์ 2539ภาครัฐเริ่มควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติกโดยจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหรรมก่อนประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 112) พ.ศ. 2539ข้อ 3. ให้เศษ เศษตัดและของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตาม ตามพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าประเภทที่ 39.15 เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรข้อ 4. จะอนุญาตให้นำเข้าได้ตามความเห็นชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม
19 เมษายน 2539ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้นำเศษ เศษตัดและของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2539เศษพลาสติกที่นำเข้าจะต้องนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงาน  เศษพลาสติกแต่ละชนิดที่นำเข้าจะต้องแยกเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน และต้องผ่านการบดหรือตัดโดยมีขนาดความยาวสูงสุดไม่เกิน 2 ซม.โดยประมาณเศษพลาสติกต้องนำเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยไม่ต้องผ่านกระบวการทำความสะอาดอีกกรอ.จะอนุญาตให้นำเข้าเศษพลาสติกจากประเทศที่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาบาเซลแล้วเท่านั้น
18 ธันวาคม 2549ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2549  (เนื้อหาหลักเหมือนกับประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2539)
21 มกราคม 2551 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ฯ พ.ศ. 2551 (เนื้อหาหลักเหมือนหลักเกณฑ์ ปี 2539 แต่ไม่มีเรื่องให้นำเข้าเฉพาะจากประเทศที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาบาเซล เปิดให้นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาที่ไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาบาเซล)
27 กรกฎาคม 2560– ประเทศจีนประกาศห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศ (Prohibition of Foreign Garbage Imports) ห้ามนำเข้าขยะ 24 ชนิด รวมถึงขยะพลาสติก  – ผู้ประกอบการรีไซเคิลจีนออกไปลงทุนตั้งโรงงานในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศในอาเซียนและไทย
มิถุนายน 2561– 1 มิ.ย. ตรวจค้นโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกมาแปรรูป โดยสำแดงเท็จว่าเป็นเศษพลาสติก- 22 มิ.ย. ตรวจค้นโรงงานผลิตพลาสติก จ.ชลบุรีลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศจีน
23 กรกฎาคม 2561ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง ยกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตให้นำเศษ เศษตัดและของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 แต่ยังให้โรงงานที่มีโควต้าเดิมนำเข้าได้จนถึงกันยายน 2563
2561-2562ปี 2561 ปริมาณนำเข้าเศษพลาสติกสูงสุด 552,912 ตัน – ปีงบประมาณ 2561-2562 กรมศุลกากรจับกุมคดีลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์และขยะพลาสติก รวม 103 คดี และใช้วิธีระบายของกลางด้วยการเปิดประมูล
11 กันยายน 2562คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติก 
29 พฤศจิกายน 2562 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติยกเลิกคำสั่งคกก.สวล.แห่งชาติ 8/2562 และให้แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์” ที่มี รมต.ทส.เป็นประธานและปลัด ทส.เป็นรองประธาน 
กันยายน 2563สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าและองค์กรภาคประชาสังคม 65 องค์กรเคลื่อนไหวคัดค้านการต่อโควตานำเข้าเศษพลาสติกที่สิ้นสุดเดือนกันยายน 2563 
หลังกันยายน 2563ยังคงพบการนำเข้าเศษพลาสติก โดยเป็นการนำเข้าในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี (ปัจจุบัน เขตประกอบการเสรีที่มีสำนักงานศุลกากรตั้งอยู่มี 12 แห่ง อาทิ นิคมฯ ลาดกระบัง นิคมฯ บางปู)    (ข้อสังเกต คือ โรงงานที่พบการลักลอบนำเข้าขยะพลาสติก ปี 2561 ตั้งอยู่ในนิคมฯ ลาดกระบัง)
1 มกราคม 2564ข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลเพิ่มการควบคุมการเคลื่อนย้ายขยะพลาสติกข้ามแดน มีผลใช้บังคับ เพิ่มข้อ A3210 ใน Annex VIII กำหนดประเภทขยะพลาสติกที่สันนิษฐานว่าเป็นขยะอันตรายต้องผ่านกระบวนการแจ้งและขอความยินยอมล่วงหน้าจากประเทศนำเข้า (Prior Informed Consent: PIC)  
25 มกราคม 2564กรมโรงงานอุตสาหกรรมรายงานข้อมูลปริมาณความต้องการนำเข้าเศษพลาสติกในโรงงานที่มีความพร้อม 46 แห่ง กำลังการผลิตรวม 530,000 ตันต่อปี ระบุปริมาณความต้องการนำเข้าเศษพลาสติก 685,190 ตันต่อปี ส่วนใหญ่เป็น PET, PE, PP และอื่นๆคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์มีมติให้กรมควบคุมมลพิษนำเสนอมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาต่อไป ดังนี้กำหนดการนำเข้าเศษพลาสติกในปี 2564 ในปริมาณ 250,000 ตันต่อปี ลดปริมาณการนำเข้าเศษพลาสติก ปีละ 20% และห้ามนำเข้าเศษพลาสติก 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 ให้กรมการค้าต่างประเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมศุลกากรและกรมควบคุมมลพิษประชุมหารือเพื่อออกระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการอนุญาตให้นำเศษพลาสติกเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. 
25 พฤษภาคม 2564กรมควบคุมมลพิษออกประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ความหมายของ “ขยะพลาสติก” และ “เศษพลาสติก” พ.ศ. 2564  
15 มิถุนายน 2564โรงงานพลาสติก สัญชาติจีน จ.ราชบุรี กำลังการผลิต 32,000 ตัน ทำหนังสือถึงกรมควบคุมมลพิษขอความอนุเคราะห์ออกใบอนุญาตนำเข้าเศษพลาสติก ต้องการนำเข้า 75% (PP, PA, PBT, อื่นๆ) 
25 มิถุนายน 2564กรมควบคุมมลพิษจัดประชุมหารือมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก ประเด็น “การนำเข้าเศษพลาสติกของผู้ประกอบการในกรณีที่ไม่มีเศษพลาสติกในประเทศหรือมีปริมาณไม่เพียงพอ” มีความเห็นร่วมกันให้- กรมศุลกากรควรจัดทำพิกัดย่อยของพิกัดศุลากร 39.15 ให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น- กรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับสถาบันพลาสติกและกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สำรวจปริมาณความต้องการนำเข้าเศษพลาสติกของโรงงานพลาสติก- กรมควบคุมมลพิษควรประสานให้มีเวทีการพบกันระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการขายเศษพลาสติก เพื่อให้เกิดความสมดุลของ Demand และ Supply ในการใช้เศษพลาสติกในประเทศ 

ปริมาณการนำเข้าส่งออกเศษพลาสติก ปี 2555-2563

ที่มา: ฐานข้อมูลสถิตินำเข้าส่งออก กรมศุลกากร

รายชื่อเครือข่ายภาคประชาสังคมที่สนับสนุนความเห็นและข้อเรียกร้องในแถลงการณ์

  1. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
  2. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
  3. กรีนพีซ ประเทศไทย
  4. สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า
  5. แผนงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
  6. Chula Zero Waste 
  7. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  8. นายเปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ “ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป”
  9. ดร.เพชร มโนปวิตร เจ้าของเพจ “Rereef” 
  10. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)  
  11. กลุ่มคนรักษ์ต้นน้ำจังหวัดราชบุรี ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี 
  12. กลุ่มคนคลองบางป่า ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี
  13. กลุ่มเรารักษ์ท่าถ่าน-บ้านซ่อง ต.ท่าถ่าน และ ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
  14. กลุ่มเรารักษ์พนม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา   
  15. กลุ่มเรารักพุม่วง ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
  16. เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก 
  17. เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก
  18. เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ  
  19. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดฉะเชิงเทรา /ชลบุรี / ระยอง / ปราจีนบุรี / สระแก้ว / นครนายก / ราชบุรี / เพชรบุรี
  20. สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
  21. องค์กรชุมชนตําบลหนองชุมพลเหนือ ต.หนองชุมพลเหนือ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
  22. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ (Foundation for AIDS Right)
  23. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 
  24. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน
  25. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
  26. มูลนิธิเครือข่ายอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก
  27. มูลนิธิสถาบันปฏิปัน
  28. มูลนิธิสืบศักดิ์สิน แผ่นดินสี่แคว
  29. สมาคมพัฒนาชุมชนยั่งยืน นครสวรรค์
  30. ศ. (เกียรติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว
  31. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
  32. มูลนิธิสุขภาพไทย
  33. คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบข้ามการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition)
  34. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน 
  35. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
  36. มูลนิธิโลกสีเขียว
  37. มูลนิธิชีววิถี
  38. แนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี
  39. Less Plastic Thailand
  40. มูลนิธิเพื่อนหญิง
  41. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
  42. มูลนิธิสระแก้วสีเขียว
  43. สำนักข่าวธรรมรัฐจังหวัดสระแก้ว
  44. บงกช ภูษาธร ประชาชนกรุงเทพมหานคร
  45. วริศรา เมฆานนท์ชัย ประชาชนกรุงเทพมหานคร
  46. กลุ่มรวมพลังคนรักบ้านเกิดบางโทรัด
  47. Bye Bye Plastic Bags (Thailand)
  48. เถื่อน channel
  49. เครือข่ายวงษ์พาณิชย์
  50. บริษัท ธาอีส อีโคเลทเธอร์ จำกัด
  51. กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
  52. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพัน์แห่งประเทศไทย
  53. เครือข่ายอากาศสะอาด
  54. วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ social activist artist จาก เพจ WISHULADA
  55. กลุ่มรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี
  56. กลุ่มคนรักบ้านเกิด ต.ท่าเสน อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี 
  57. กลุ่มสิ่งแวดล้อมภาคประชาชน ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
  58. กลุ่มคนสองแคว ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 
  59. กลุ่มเพื่อนรักจักรยานบ้านพี่โสเพ็ชร์บุรี ต.บ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
  60. ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร (องค์กรเพื่อผู้บริโภค)
  61. SOS Earth  
  62. Refill Station
  63. Little Big Green
  64. ศูนย์เรียนรู้เฝ้าระวังและปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อ.เมือง จ.ระยอง
  65. ดร. อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต
  66. Greenery
  67. บริษัท มนต์รักแม่กลอง จำกัด
  68. ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม.                                
  69. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาต
  70. มูลนิธิอันดามัน
  71. ชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง
  72. สมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน
  73. กลุ่มรักษ์หมู่ 1 เขาหินซ้อน ต. เขาหินซ้อน อ. พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา
  74. กลุ่มเฝ้าระวังน้ำผิวดิน จ. ระยอง 
  75. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได​​ ต. ดงมะไฟ อ. สุวรรณคูหา​ จ. หนองบัวลำภู
  76. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้
  77. เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดชลบุรี
  78. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
  79. เครือข่ายสภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี 
  80. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM) 
  81. กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์​ จ. ชัยภูมิ
  82. กลุ่มคนเหล่าไฮงามไม่เอาเหมืองแร่ ต.เหล่าไฮงาม อ.กุฉินารายณ์ จ. กาฬสินธุ์
  83. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด​ 6​ หมู่บ้าน​ ต. เขาหลวง​ อ. วังสะพุง​ จ. เลย
  84. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
  85. กลุ่มยกระดับสินค้าชุมชน ภาคตะวันออก
  86. กลุ่มรักษ์บ้านแหง​ ต.บ้านแหง​ อ.งาว​ จ.ลำปาง
  87. กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส​ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
  88. มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.)
  89. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.)
  90. สมาคมประมงพื้นบ้าน จังหวัดชลบุรี
  91. สมาคมสภาองค์กรชุมชน จังหวัดชลบุรี
  92. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  93. ทิพย์อักษร มันปาติ
  94. ศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
  95. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
  96. กลุ่มการศึกษาเพื่อความยั่งยืนของชีวิต welife
  97. กลุ่มกรีนเรนเจอร์
  98. ภาคีเฟมินิสต์ปลดแอก
  99. กลุ่ม Beach for life
  100. กลุ่ม Law Long Beach
  101. กลุ่ม LANDERS-แลนเด้อ
  102. กลุ่ม Patani resources
  103. กลุ่มโกงกาง
  104. กลุ่ม WhatWild สัตว์ไรนิ
  105. มูลนิธิสื่อประชาธรรม
  106. กลุ่มเยาวชนเทือกเขาเบ๊อะบละตู
  107. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)